Faculty of Arts Chulalongkorn University
  || HOME || ABOUT US || PROGRAMS || STAFF || STUDENT || ALUMNI || ACTIVITIES || ANNOUNCEMENT || LIST BOOK || CONTACT US ||
   
 
หลักสูตรปริญญาบัณฑิต
สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2546)


หน่วยงานที่รับผิดชอบ
     ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
     เพื่อเป็นวิชาโทให้แก่นิสิตสาขาวิชาภาษาหรือนิสิตในสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางวรรณคดีศึกษา

จำนวนหน่วยกิต
     จำนวนหน่วยกิตรวมวิชาโท 21 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร
     ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบเปิดสอนวิชาเฉพาะสาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบเป็นวิชาโทสำหรับ นิสิตที่เรียนวิชาเอกทุกสาขาทั้งในคณะและนอกคณะที่เลือกเรียนเป็นวิชาโท ดังนี้

วิชาบังคับ
 
-
หน่วยกิต
วิชาเลือก
21
หน่วยกิต


คำอธิบายรายวิชา

221010 วรรณคดีกับประวัติศาสตร์ 3(3-0-6)
ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับประวัติศาสตร์ การนำเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์มาใช้ในการสร้างสรรค์วรรณคดี ความแตกต่าง ระหว่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์กับภาพที่ปรากฏในวรรณคดี การวิเคราะห์ผลงานที่กำหนดให้ทั้งของตะวันออกและตะวันตก



2210212 สถานที่ในวรรณคดี 3(3-0-6)
ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับสถานที่ บทบาทของสถานที่และกลวิธีการนำเสนอสถานที่ในวรรณคดี การวิเคราะห์วรรณกรรมคัดสรร



2210214 วรรณคดีกับสิ่งแวดล้อม 3(3-0-6)
ธรรมชาติในฐานะแรงบันดาลใจให้เกิดวรรณคดี ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาการของทัศนะที่กวีมีต่อธรรมชาติ บทบาทของวรรณคดีในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



2210215 วรรณคดีกับสตรี 3(3-0-6)
วรรณคดีกับสตรีในวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก แนวคิดสตรีนิยมและอิทธิพลที่มีต่อวรรณคดี วรรณกรรมสตรีและนักเขียนวรรณกรรมสตรี



2210301 แนวคิดพื้นฐานวรรณคดีศึกษา 3(3-0-6)
ความสำคัญของวรรณคดีในฐานะที่เป็นศิลปะสากลของมนุษยชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับ



2210311 ตำนานกับวัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ 3(3-0-6)
ความสัมพันธ์ระหว่างตำนานกับวรรณคดีทั้งของตะวันออกและตะวันตก การวิเคราะห์วรรณคดีที่มีที่มาจากตำนาน



2210313 อารมณ์ขันในวรรณคดึ 3(3-0-6)
ทฤษฎีเกี่ยวกับอารมณ์ขัน วิธีการสร้างอารมณ์ขันในวรรณคดีทั้งของตะวันออกและตะวันตก การวิเคราะห์ผลงานที่กำหนดให้



2210314 วรรณกรรมเยาวชน 3(3-0-6)
ลักษณะสำคัญของวรรณกรรมเยาวชน ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมเยาวชนกับจิตวิทยา สังคม และวัฒนธรรม วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรมเยาวชนคัดสรร



2210315 วรรณคดีกับอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ 3(3-0-6)
ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ในสังคมต่างๆ ภาพลักษณ์ชาติพันธุ์ในวรรณคดี การวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรมคัดสรร



2210316 วรรณคดีกับสำนึกทางสังคมและการเมือง 3(3-0-6)
ความสำคัญของวรรณคดีในฐานะที่เป็นสื่อแสดงสำนึกทางสังคมและการเมืองของนักประพันธ์ ความคิดทางการเมืองที่มีผลต่อการสร้างสรรค์วรรณคดี อิทธิพลของผลงานเหล่านั้นที่มีผลต่อสังคมและการเมือง บทบาทของนักเขียนในฐานะผู้ชี้นำสังค



2210321 วรรณคดีกับศิลปะการแสดง 3(3-0-6)
ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับศิลปะการแสดงแขนงต่างๆ ในสังคมทั้งตะวันออกและตะวันตก การวิเคราะห์วรรณคดีซึ่งนำมาแสดง



2210322 วรรณคดีกับทัศนศิลป์ 3(3-0-6)
ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับทัศนศิลป์ในสังคมตะวันออกและตะวันตก อิทธิพลที่มีต่อกันทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหาการวิเคราะห์ผลงานที่กำหนดให้



2210402 นวนิยายร่วมสมัย 3(3-0-6)
นวนิยายในฐานะรูปแบบวรรณกรรมประเภทหนึ่ง การศึกษาเชิงวิเคราะห์นวนิยายร่วมสมัยทั้งของตะวันออกและตะวันตก โดยเน้นรูปแบบและเนื้อหานวนิยายในฐานะภาพสะท้อนของสังคมร่วมสมัย



2210403 ร้อยกรองร่วมสมัย 3(3-0-6)
ร้อยกรองในฐานะรูปแบบวรรณกรรมประเภทหนึ่ง การศึกษาเชิงวิเคราะห์ร้อยกรองร่วมสมัยทั้งของตะวันออกและตะวันตกโดยเน้นรูปแบบและเนื้อหา ร้อยกรองในฐานะภาพสะท้อนของสังคมร่วมสมัย



2210420 นักเขียนเอกกับผลงาน 3(3-0-6)
ผลงานชิ้นสำคัญของนักเขียนเอก การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน ผลงาน และสภาพสังคม รวมทั้งลักษณะเฉพาะตนของนักเขียน



2210423 วรรณคดีกับจิตวิทยา 3(3-0-6)
ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับจิตวิทยา แนวทางการวิจารณ์วรรณคดีเชิงจิตวิทยา การวิเคราะห์ผลงานที่กำหนดให้



2210425 วรรณคดีกับศาสนา 3(3-0-6)
ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับศาสนาทั้งของตะวันออกและตะวันตก อิทธิพลของศาสนาที่มีต่อวรรณคดี การวิเคราะห์ผลงานที่กำหนดให้



2210426 วรรณคดีเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 3(3-0-6)
ลักษณะเฉพาะของวรรณคดีเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลที่มีต่อกันและกัน การเปรียบเทียบวรรณคดีชิ้นเอกของภูมิภาคนี้