Faculty of Arts Chulalongkorn University
  || HOME || ABOUT US || PROGRAMS || STAFF || STUDENT || ALUMNI || ACTIVITIES || ANNOUNCEMENT || LIST BOOK || CONTACT US ||
   
 
หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ


ชื่อปริญญา
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
หลักสูตรสาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ
โครงสร้างหลักสูตร
คุณสมบัติและวิธีการคัดเลือกผู้สมัคร
ระบบการศึกษา
คำอธิบายรายวิชา


ชื่อปริญญา
     อักษรศาสตรมหาบัณฑิต      อ.ม.
     MASTER OF ARTS          M.A.

หน่วยงานที่รับผิดชอบ
     คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักสูตรสาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ
     หลักสูตรแผน ก
         ภาควิชามุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการวิจัยโดยการทำวิทยานิพนธ์
     หลักสูตรแผน ข
         ภาควิชามุ่งผลิตมหาบัณฑิตซึ่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ เพื่อสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ต้องการช่วยพัฒนาบุคลากร ของหน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยการสอบ Comprehensive Test

โครงสร้างหลักสูตร   

แผน ก

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
รายวิชาบังคับ   9 หน่วยกิต
รายวิชาเลือก 15 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

แผน ข

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
รายวิชาบังคับ   9 หน่วยกิต
รายวิชาเลือก 24 หน่วยกิต
รายวิชาศึกษาด้วยตนเอง   3 หน่วยกิต

รายวิชาบังคับ (แผน ก และ แผน ข)   9 หน่วยกิต
2240701 วรรณคดีวิจารณ์ 1   3(3-0-9)
2240702 วรรณคดีวิจารณ์ 2   3(3-0-9)
2240761 สัมมนาระเบียบวิธีวรรณคดีเปรียบเทียบ   3(3-0-9)

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา
     1. สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาบัณฑิต สาขาอักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ
      2. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ

วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
     เป็นไปตามคู่มือการสมัครเข้าศึกษาในบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป

ระบบการศึกษา
    ใช้ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิต เป็นแบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่งๆ เแบ่ง ออกเป็น 2 ภาคการศึกษา คือ ภาคการศึกษาต้น และ ภาคการศึกษาปลาย และอาจมีภาคฤดูร้อนต่อจากภาคการศึกษาปลาย อีกหนึ่งภาคก็ได้ ภาคการศึกษาหนึ่งๆ มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ส่วนภาคฤดูร้อนมีระยะเวลาการศึกษาประมาณ 6-8 สัปดาห์

ระยะเวลาการศึกษา
    ไม่เกิน 4 ปีการศึกษานับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตร

การลงทะเบียนเรียน
     ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 15 หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษา ส่วนภาคฤดูร้อน ไม่เกิน 6 หน่วย

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
     การประเมินผลรายวิชาใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+ D และ F


คำอธิบายรายวิชา

2210603 อิทธิพลตะวันตกในวรรณคดีไทย 3(3-0-9)
การศึกษาวิธีซึ่งนักเขียนไทยใช้ประโยชน์จากแนวคิดทางสังคม วัฒนธรรม และวรรณกรรมตะวันตก



2210622 เทวตำนานและวรรณคดี 3(3-0-9)
เทวตำนานอินเดียและกรีกในฐานะความคิดหลักในวรรณคดี การใช้เทวตำนานในลักษณะต่างๆในวรรณคดีอังกฤษ อิตาลี ฝรั่งเศส และเยอรมัน มรดกทางเทวตำนานในวรรณคดีไทย



2210623 วรรณคดีเอกของโลก (3-0-9)
เนื้อเรื่อง แนวคิด องค์ประกอบทางวรรณศิลป์และคุณค่าของวรรณกรรมเอกของโลกทั้งตะวันออกและตะวันตก



2210631 วรรณคดีหลีกหนี 3(3-0-9)
นวนิยายโรแมนติคของเยอรมัน อังกฤษ และฝรั่งเศส ในรูปร้อยแก้วและร้องกรอง นวนิยายกอธิคและอิทธิพลที่มีต่อวรรณกรรมในยุโรป เรื่องผจญภัย เรื่องสืบสวน



2210632 วรรณคดีแนววิจารณ์สังคม 3(3-0-9)
ความคิดหลักเรื่องสภาพความยุติธรรมและการปรับปรุงสังคม นักเขียนวรรณกรรมแนววิจารณ์สังคมและผลงาน



2210633 วรรณกรรมเด็ก 3(3-0-9)
ประวัติวรรณกรรมเด็กในประเทศตะวันตก และตะวันออก รวมทั้งไทย ลักษณะสำคัญของวรรณกรรมเด็ก วิเคราะห์วรรณกรรมเด็กที่น่าสนใจทั้งของต่างประเทศและของไทย



2210651 ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับศิลปะแขนงอื่น 3(3-0-9)
อิทธิพลของศิลปะแขนงอื่นที่มีต่อการแต่งวรรณกรรม การใช้ศิลปะแขนงอื่นในการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม



2210652 ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับวิทยาการอื่น 3(3-0-9)
อิทธิพลของศาสตร์แขนงอื่นที่มีต่อการแต่งวรรณกรรม การใช้ศาสตร์แขนงอื่นในการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม



2210701 วรรณคดีวิจารณ์ 1 3(3-0-9)
ทฤษฎีและแนวการวิจารณ์วรรณคดีตั้งแต่สมัยกรีกคลาสสิกจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 การวิเคราะห์ตัวบททฤษฎีและบทวิจารณ์ที่สำคัญในแต่ละช่วง การประยุกต์ใช้ทฤษฎีและแนวการวิจารณ์ดังกล่าวในการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมคัดสรร



2210702 วรรณคดีวิจารณ์ 2 3(3-0-9)
ทฤษฎีและแนวการวิจารณ์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน การวิเคราะห์ตัวบททฤษฎีและบทวิจารณ์ที่สำคัญ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีและแนวการวิจารณ์ดังกล่าวในการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมคัดสรร



2210711 สัมมนาโรแมนติซิสม์ 3(3-0-9)
โรแมนติซิสม์ในฝรั่งเศส นักเขียนโรแมนติกของอังกฤษและอิทธิพลต่อนักเขียนในสหรัฐอเมริกา โรแมนติซิสม์ใน



2210713 สัมมนากวีนิพนธ์สมัยใหม่ 3(3-0-9)
แนวโน้มกวีนิพนธ์อังกฤษและอเมริกันหลังสงครามโลกครั้งที่สอง กวีนิพนธ์สมัยใหม่ของฝรั่งเศสและเยอรมัน แนวโน้มทำนองเดียวกันในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่



2210714 สัมมนานวนิยายสมัยใหม่ 3(3-0-9)
พัฒนาการเกี่ยวกับความคิดและกลวิธีของนวนิยายทั้งตะวันออกและตะวันย



2210715 สัมมนาบทละครสมัยใหม่ 3(3-0-9)
แนวโน้มสำคัญของบทละครสมัยใหม่ในยุโรปและอเมริกา บทละครเอกที่คิดเลือกมา อิทธิพลของบทละครตะวันตกที่มีต่อวรรณคดี



2210716 สัมมนาเรื่องสั้นสมัยใหม่ 3(3-0-9)
แนวคิดรวบยอดและรูปแบบของเรื่องสั้นตะวันออกและตะวันตก ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน โดยเน้นการวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องสั้นคัดสรร



2210761 สัมมนาระเบียบวิธีวรรณคดีเปรียบเทียบ 3(3-0-9)
ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเปรียบเทียบในฐานะที่เป็นศาสตร์ แนวทางต่างๆในการศึกษาวรรณคดีเปรียบเทียบ



2210781 วิจัยรายบุคคล 3(3-0-9)
การวิเคราะห์ จัดประเภทและประเมินคุณค่าวรรณกรรมในหัวข้อซี่งนิสิตต้องเสนอและค้นคว้าเองโดยมีอาจารย์ควบคุม การเสนอบทความวิชาการที่พร้อมตีพิมพ์เผย



2210811 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต