อย่าคลิกนะครับ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะซิเตรทในปัสสาวะต่ำมีดังนี้

1. การรับประทานอาหารที่มีซิเทรตน้อยปัจจัย  ข้อนี้ไม่ใช่สาเหตุหลักของการเกิดนิ่วในคนไทย  เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ รับประทานผลไม้เป็นประจำ

2. การนำซิเทรตไปใช้มากขึ้น  ทำให้ซิเทรตในร่างกายต่ำและขับถ่ายทางปัสสาวะลดลง  สาเหตุที่สำคัญคือการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูงเช่น ข้าว , แป้ง , น้ำตาล แต่ประทานอาหารประเภทไขมันต่ำ ในภาวะปกติร่างกายต้อง การคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญส่วนไขมันนอกจากจะเป็นแหล่งพลังงานแล้ว ยังมีความจำเป็นในการเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์  ใช้สร้างฮอร์โมน  รวมทั้งเป็นแหล่งของวิตามินที่ละลายในไขมันด้วย  อาหารแต่ละวันควรประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน คิดเป็นประมาณร้อยละ 60  20 และ  20  ตามลำดับของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับจากอาหาร   ถ้าร่างกายได้รับอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปและขาดไขมัน     จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของซิเทรตไปเป็นไขมันมากขึ้น ทำให้ซิเทรตในเลือดและปัสสาวะลดลง   คณะผู้วิจัยพบว่าประชากรไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงมาก และไขมันต่ำมาก  นั่นคือคิดเป็นประมาณร้อยละ  80 และน้อยกว่า  ร้อยละ  10  ตามลำดับ  ของพลังงานจากอาหารทั้งหมด  จึงมีภาวะซิเทรตต่ำในปัสสาวะ

3. การดูดกลับซิเทรตจากปัสสาวะกลับเข้าสู่เซลล์ท่อไตเพิ่มมากขึ้น     ในภาวะปกติเมื่อซิเทรตถูกกรองออกมากับปัสสาวะ  ซิเทรตในปริมาณเพียงเล็กน้อยจะถูกดูดกลับเข้าเซลล์ท่อไตเพื่อนำไปใช้สร้างไขมันหรือส่งกลับสู่กระแสเลือด   แต่ในภาวะผิดปกต ิเช่นร่างกายได้รับไขมันไม่เพียงพอ ภาวะขาดโพแทสเซียม หรือ ภาวะขาดแมกนีเซียม   จะทำให้เกิดการดูดกลับซิเทรตมากขึ้น ซิเทรตในปัสสาวะจึงลดลง

         ภาวะขาดโพแทสเซียมทำให้ซิเทรตในปัสสาวะต่ำลง   เนื่องจากจะกระตุ้นให้เซลล์ท่อไตดูดกลับซิเทรตแล้ว  การขาดโพแทสเซียมยังเพิ่มการเปลี่ยนแปลงซิเทรตไปเป็นไขมันมากขึ้นด้วย   คณะผู้วิจัยพบว่า ประชากรส่วนหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีภาวะขาดโพแทสเซียม  เนื่องจากบริโภคอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำเป็นปริมาณมากในแต่ละวัน เช่น ข้าวเหนียวนึ่ง  ขนมจีน  แต่บริโภคอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงเพียงเล็กน้อย เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง  ถั่วเหลือง  ผลิตภัณฑ์ต่างๆจาก ถั่ว  เนื้อสัตว ์ ผัก และผลไม้บางชนิด   นอกจากนี้ยังมีการสูญเสียโพแทสเซียมไปทางเหงื่อสูงกว่าประชากรในภาคอื่นร่วมด้วย  แต่เมื่อประชากรที่มีภูมิลำเนาเดิมในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออพยพโยกย้ายมาทำงานในกรุงเทพฯเป็นเวลานานและเปลี่ยนแปลงการบริโภคมารับประทานอาหารคล้ายคลึงกับคนกรุงเทพฯ  ภาวะโพแทสเซียมต่ำจะลดลงจนหายไปเป็นเช่นเดียวกับคนปกติ

         ภาวะขาดแมกนีเซียมที่พบร่วมกับภาวะขาดโพแทสเซียมจะส่งเสริมให้เกิดความผิดปกติรุนแรงขึ้น   เนื่องจากแมกนีเซียมเองสามารถจับกับออกซาเลทซึ่งเป็นสารก่อนิ่วที่ละลายน้ำได้ และขับถ่ายออกมาในปัสสาวะ ทำให้ลดการเกิดนิ่วได้โดยตรง   คณะผู้วิจัยพบว่าประชากรส่วนหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีภาวะแมกนีเซียมต่ำในร่างกายและในปัสสาวะ โดยเฉพาะในผู้ที่อาศัยอยู่ในท้องที่ชนบทจะพบได้บ่อยกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง

         กล่าวโดยสรุปคือ โรคนิ่วไตในประชากรแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาเหตุที่สำคัญคือ  ภาวะสารยับยั้งนิ่วต่ำในปัสสาวะ ที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีสัดส่วนของสารอาหารไม่เหมาะสม

HOME