ประมวลรายวิชา 3906314
นันทนาการสำหรับกลุ่มบุคคลพิเศษ
ไปหัวข้อที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16                          ไปท้ายสุด

ประมวลรายวิชา (COURSE SYLLABUS)
1. รหัสวิชา 3906314
2. จำนวนหน่วยกิต 2 หน่วยกิต 2(2-0-4)
3. ชื่อวิชา นันทนาการสำหรับกลุ่มบุคคลพิเศษ
(RECREATION FOR SPECIAL PEOPLE)
4. คณะ/ภาควิชา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา กลุ่มวิชานันทนาการศาสตร์และการจัดการกีฬา
5. ภาคการศึกษา ต้น
6. ปีการศึกษา 2547
7. ชื่อผู้สอน รศ.ดร.ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์
8. เงื่อนไขรายวิชา
        8.1 วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน -
        8.2 วิชาบังคับร่วม -
        8.3 วิชาควบ -
9. สถานภาพของวิชา วิชาบังคับ
10. ชื่อหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา (หลักสูตรปรับปรุง 2546)
11. วิชาระดับ ปริญญาตรี                                                   
12. จำนวนชั่วโมงที่สอนต่อสัปดาห์ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (วันศุกร์ 10.00-12.00 น.)
13. เนื้อหารายวิชา (Course Description)
         ลักษณะและความต้องการของกลุ่มบุคคลพิเศษ การให้บริการนันทนาการแก่กลุ่มบุคคลพิเศษ ได้แก่ ผู้พิการทางร่างกาย ผู้มีความบกพร่องทางสมอง ผู้สูงวัย ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้เป็นเอดส์ ผู้ที่มีความผิดปกติด้านจิตใจและพฤติกรรม การจัดโครงการนันทนาการ การปรับปรุง ดัดแปลงและแก้ไขกิจกรรมนันทนาการให้สนองตอบความต้องการ ของกลุ่มบุคคลพิเศษ
         Characteristics and needs of special people; recreation services for special people: the physically disabled, people with mental disorders, the elderly, HIV/AIDS patients, people with psychological and behavior disorders; recreation program management; adaptation and modification of recreation activities to meet the needs of special people.
14. ประมวลการเรียนรายวิชา (Course Outline)                        กลับขึ้นข้างบน
        14.1 วัตถุประสงค์ทั่วไป และ/หรือ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
                14.1.1 เพื่อให้นิสิตมีความรู้และความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะและความต้องการ ของกลุ่มบุคคลพิเศษประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ผู้พิการทางร่างกาย ผู้มีความบกพร่องทางสมอง ผู้สูงวัย ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้เป็นเอดส์ ผู้ที่มีความผิดปกติด้านจิตใจและพฤติกรรม
                14.1.2 เพื่อให้นิสิตสามารถจัดโครงการและประสบการณ์นันทนาการสำหรับกลุ่มบุคคลพิเศษ
                14.1.3 เพื่อให้นิสิตมีความสามารถในการปรับ ดัดแปลงและแก้ไขกิจกรรมนันทนาการให้เหมาะสม กับลักษณะและความต้องการของกลุ่มบุคคลพิเศษประเภทต่าง ๆ
                14.1.4 เพื่อให้นิสิตมีประสบการณ์การศึกษานอกสถานที่เกี่ยวกับการจัดโครงการนันทนาการทั้งในโรงพยาบาล โรงเรียน สถานพินิจและคุ้มครองเยาวชน และศูนย์พักฟื้นเพื่อสุขภาพ
                14.1.5 เพื่อให้นิสิตมีประสบการณ์ในการใช้และช่วยเหลือผู้พิการที่นั่งรถเข็นและผู้พิการประเภทต่าง ๆ ในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ
        14.2 เนื้อหารายวิชาต่อสัปดาห์
                14.2.1 สัปดาห์ที่ 1 ปฐมนิเทศ รายละเอียดเกี่ยวกับการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ความสำคัญและความจำเป็นของนันทนาการสำหรับกลุ่มบุคคลพิเศษ
                14.2.2 สัปดาห์ที่ 2 สิ่งขัดขวางการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการสำหรับกลุ่มบุคคลพิเศษ
                14.2.3 สัปดาห์ที่ 3 ชนิด/ประเภท ลักษณะและความต้องการและการจัดโครงการนันทนาการสำหรับ กลุ่มบุคคลพิเศษที่มีความพิการทางร่างกาย
                14.2.4 สัปดาห์ที่ 4 ชนิด/ประเภท ลักษณะและความต้องการและการจัดโครงการนันทนาการสำหรับ กลุ่มบุคคลพิเศษที่มีความบกพร่องทางสมอง
                14.2.5 สัปดาห์ที่ 5 ชนิด/ประเภท ลักษณะและความต้องการและการจัดโครงการนันทนาการสำหรับผู้สูงวัย
                14.2.6 สัปดาห์ที่ 6 ชนิด/ประเภท ลักษณะและความต้องการและการจัดโครงการนันทนาการ สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้เป็นเอดส์                                      กลับขึ้นข้างบน
                14.2.7 สัปดาห์ที่ 7 ชนิด/ประเภท ลักษณะและความต้องการและการจัดโครงการนันทนาการสำหรับ กลุ่มบุคคลพิเศษที่มีความผิดปกติด้านจิตใจ
                14.2.8 สัปดาห์ที่ 8 ชนิด/ประเภท ลักษณะและความต้องการและการจัดโครงการนันทนาการสำหรับ กลุ่มบุคคลพิเศษที่มีความผิดปกติด้านอารมณ์
                14.2.9 สัปดาห์ที่ 9 ชนิด/ประเภท ลักษณะและความต้องการและการจัดโครงการนันทนาการสำหรับ กลุ่มบุคคลพิเศษประเภทวัยรุ่นวัยเสี่ยงและมีปัญหาพฤติกรรม
                14.2.10 สัปดาห์ที่ 10 การจัดโครงการนันทนาการสำหรับกลุ่มบุคคลพิเศษที่ใช้วีลแชร์ เช่น ผู้ที่มีความพิการส่วนล่างของร่างกาย หรือผู้ที่มีความบกพร่องประเภทโปลิโอ
                14.2.11 สัปดาห์ที่ 11 การให้บริการนันทนาการแก่กลุ่มบุคคลพิเศษประเภทวัยรุ่นที่มีความเสี่ยง และมีปัญหาพฤติกรรม
                14.2.10 สัปดาห์ที่ 12 การให้บริการนันทนาการแก่กลุ่มบุคคลพิเศษประเภทพักรักษาตัวในสถาน สุขภาพประเภทต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล สถานบำบัดรักษา และศูนย์ฟื้นฟู
                14.2.11 สัปดาห์ที่ 13-15 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การศึกษานอกสถานที่และมีประสบ
การณ์เกี่ยวกับรถเข็นสำหรับผู้พิการ (Wheelchair) และการใช้อุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ ของกลุ่ม
บุคคลพิเศษ
                14.2.12 สัปดาห์ที่ 16 สอบปลายภาค
        14.3 วิธีจัดการเรียนการสอน                                             กลับขึ้นข้างบน
                14.3.1 การบรรยายในชั้นเรียน
                14.3.2 การร่วมอภิปราย
                14.3.3 การเชิญวิทยากร
                14.3.4 การให้ทำรายงานและเสนอผลการศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะจากการสืบค้นข้อ
มูลทางInternet
                14.3.5 การศึกษาดูงานนอกสถานที่และฝึกใช้วีลแชร์ (ร.ร. เศรษฐเสถียร, ร.ร.มูลนิธิ
สถาบันแสงสว่าง, ร.ร.สอนคนตาบอดกรุงเทพ, ร.ร. ศรีสังวาลย์, ร.พ. ราชานุกูล, บ้านพักคนชราบางแค, สถานพินิจและคุ้มครองเยาวชน โดยจะพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้อีกครั้งหนึ่ง)
        14.4 สื่อการสอน
                14.4.1 VDO
                14.4.2 แผ่นใส
                14.4.3 VCD
                14.4.4 Powerpoint Presentation
                14.4.5 Internet
        14.5 การวัดผลการเรียน
                14.5.1 การมาเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและการศึกษาดูงาน 50 %
                14.5.2 การเสนอรายงานทั้งรูปเล่มและหน้าชั้นเรียน 30 %
                14.5.3 การสอบปลายภาค 20 %
        เกณฑ์การประเมินผล                                                กลับขึ้นข้างบน
        คะแนน ตั้งแต่ 95 คะแนน ขึ้นไป ได้เกรด A
        คะแนน ระหว่าง 90 - 94 คะแนน ได้เกรด B+
        คะแนน ระหว่าง 85 - 89 คะแนน ได้เกรด B
        คะแนน ระหว่าง 80 - 84 คะแนน ได้เกรด C+
        คะแนน ระหว่าง 75 - 79 คะแนน ได้เกรด C
        คะแนน ระหว่าง 70 - 74 คะแนน ได้เกรด D+
        คะแนน ระหว่าง 65 - 69 คะแนน ได้เกรด D
        คะแนน ตั้งแต่ 64 คะแนน ลงมา ได้เกรด F
15. รายชื่อหนังสืออ่านประกอบ
        15.1 หนังสือบังคับ
                15.1.1 ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์. เอกสารคำสอนรายวิชานันทนาการเพื่อกลุ่มบุคคลพิเศษ (RECREATION FOR SPECIAL POPULATIONS). เอกสารอัดสำเนา. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
                15.1.2 Smith, R. W., D. R. Austin, and D. W. Kennedy. Inclusive and Special Recreation: Opportunity for persons with disabilities. Madison, WI: Brown & Benchmark Publishers, 1996.
                15.1.3 Kennedy, D.W.; Austin, D.R., and Smith, R.W. Special Recreation: Opportunities for persons with disabilities. Philadelphia: Saunders College Publishing, 1987.
        15.2 หนังสืออ่านเพิ่มเติม                                      กลับขึ้นข้างบน
                15.2.1 Water Sports Division: British Sports Association for the Disabled. Water Sports for the Disabled. England: EP Publishing, 1983.
                15.2.2 คณิต เขียววิชัย. หลักนันทนาการ (Principles of Recreation). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม, 2539.
                15.2.3 สมบัติ กาญจนกิจ คณะ. นันทนาการขั้นนำ. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มวิชานันทนาการศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
                15.2.4 สมบัติ กาญจนกิจ. หลักการนันทนาการ. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มวิชานันทนาการศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.
                15.2.5 สมบัติ กาญจนกิจ. การเป็นผู้นำนันทนาการ. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาพลศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533.
                15.2.6 อุไรวรรณ ขมวัฒนา. เอกสารประกอบการสอนวิชานันทนาการกลางแจ้ง. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มวิชานันทนาการศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
                15.2.7 ข้อมูลจาก Internet ซึ่งจะได้มอบหมายให้อีกครั้งหนึ่งในชั้นเรียน
16. การประเมินผลการเรียนการสอน                                             กลับขึ้นข้างบน
        16.1 ใช้แบบการประเมินการสอนรูปแบบ 03
        16.2 การปรับปรุงจากผลการประเมินการสอนครั้งที่ผ่านมา -

 

 

 

 

 

 

กลับขึ้นข้างบน

น่าคิดดีนะ
กลับไปหน้าหลัก                                                                                                                                     พัฒนา 1 เมษายน 2547