Thailand APRS Network

Frequency 145.525 MHz.

Web-GIS Based APRS Experimental

Automatic Position Reporting System

Automatic Position Reporting System (APRS) หรือ ระบบรายงานพิกัดอัตโนมัติ พัฒนาโดยนักวิทยุสมัครเล่นนาม Bob Bruninga นามเรียกขาน WB4APR เป็นวิศวกรวิจัยอาวุโส แห่ง United States Naval Academy ในช่วงยุคปี ค.ศ. 1980 เป็นระบบสื่อสารข้อมูลดิจิตอลที่รายงานพิกัดของสถานีได้แบบรวดเร็วทันใจ(Real Time) โดยนำพิกัดที่ได้จาก GPS และนำมาผนวกกับข้อมูล สถานะ ของสถานีแล้วทำการส่งออก โดยผ่านระบบ Packet Radio โดยมี APRS Protocol ในการจัดวางรูปแบบในการส่งข้อมูลผ่านวิทยุสื่อสาร และนำมารวบรวมแล้วกระจายต่อผ่านเครือข่าย Internet ได้ด้วย APRS Internet system (APRS-IS) ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทั่วโลก ซึ่งการแสดงข้อมูลนั้นจะมีแผนที่รองรับ โดยในแผนที่นั้น แสดงข้อมูลของสถานีหรือวัตถุ พร้อมทั้งข้อมูลประกอบได้ด้วย ซึ่งเป็นภูมิสารสนเทศอีกอย่างหนึ่ง เช่น การรายงานสภาพอากาศจากสถานีตรวจอากาศ หรือสถานีรายงานแผ่นดินไหว หรือสถานี Sensor ต่างๆ

ตำแหน่ง/วัตถุ

APRS เป็นรูปแบบการสื่อสารข้อมูลในการแลกเปลี่ยนข้อมูล จากสถานีจำนวนมาก โดยครอบคลุมพื้นที่ได้กว้าง ด้วยเป็นโครงข่ายสื่อสารข้อมูลซึ่งมีความแตกต่างจากระบบ Packet Radio โดยทั่วไป APRS นั้นจะมีข้อมูล Position/objects, Status, Messages โดยมีรายละเอียดดังนี้

Position/objects นั้น ประกอบไปด้วยข้อมูลพิกัด ละติจูด ลองติจูด ทิศทางและความเร็ว รวมทั้งกำลังส่ง ความสูงของสายอากาศจากพื้นดิน อัตราขยาย และความถี่ในการออกอากาศในระบบเสียง ซึ่งทำให้สามารถวาดระยะทางที่สามารถทำการติดต่อสื่อสารได้ ทำให้สามารถวางแผนในการติดต่อสื่อสารทั้งในภาวะปกติและฉุกเฉิน นอกจากนั้นยังสามารถส่งข้อมูลข่าวอากาศจากสถานีตรวจอากาศได้อีกด้วย โดยมีสัญลักษณ์ให้เลือกใช้ งานหลายร้อยชนิดตามความเหมาะสม โดยสัญลักษณ์นั้น จะมีสีหรืออื่นๆ ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อบ่งบอกว่า
    เป็นสถานีเคลื่อนที่หรือประจำที่
    ใหม่หรือเก่า
    สามารถรับส่งข้อความได้หรือไม่
    สถานีหรือวัตถุ
    เป็นวัตถุหรือเป็นวัตถุที่ถูกส่งมาจากสถานีลูกข่าย
    สภาวะสถานะของสถานีนั้นๆ เช่น ฉุกเฉิน เร่งด่วน หรือสถานีพิเศษ

Status/Messages

เป็นรูปแบบข้อมูลที่แต่ละสถานีสามารถที่จะประกาศส่งต่างๆ ลงไปได้ เช่น ข้อมูลการติดต่อ การทดลองต่างๆ หรือข้อมูลใดๆ ที่ต้องการ โดยรูปแบบของการส่งข้อมูลจะเป็นแบบข้อความจุดต่อจุด ข่าวประกาศ หรือแม้แต่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งข่าวประกาศก็จะมีการกำหนดขนาดของข่าวและมีการจัดเรียงในการแสดง โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้ทุกคนในระบบได้มองเห็นข้อมูลเดียวกันในเวลาเดียวกัน โดยผู้เขียนสามารถแก้ไข ลบ เพื่อให้ข่าวสารทันสมัยอยู่เสมอ ข้อความทุกอันจะถูกส่งทันทีให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในระบบ ซึ่งข้อความไม่สามารถที่จะเก็บและส่งต่อไปได้ แต่จะมีการส่งซ้ำ จนว่าจะหมดเวลาที่กำหนด ซึ่งสามารถส่งไปได้ทั่วโลกโดยผ่าน APRS-IS และผ่านสถานี Igate(Internet Gateway) แล้วเชื่อมต่อผ่านระบบ RF ได้อีกครั้งทั้งยังสามารถส่งเข้าสู่ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย

อุปกรณ์ที่ใช้งาน

    GPS
GPS นั้นสามารถใช้ GPS ที่ใช้งานทั่วๆ ไปได้ โดยสามารถที่จะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้โดยผ่านพอร์ตอนุกรม RS-232 ได้ หากต่อใช้งานกับ Tracker เพื่อรายงานพิกัดของยานพาหนะ ควรใช้ GPS ที่ใช้ RS-232 มีโปรโตคอล NMEA-0183 รับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 4800 baud ได้
    วิทยุสื่อสาร
วิทยุสื่อสารและระบบสายอากาศ เลือกใช้ได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะวิทยุมือถือ ติดรถยนต์ หรือติดตั้งประจำที่ โดยการเชื่อมต่อวิทยุสื่อสารกับ Tracker หรือ TNC ขอให้ดูคู่มือของเครื่องวิทยุสื่อสารนั้นๆ ระบบสายอากาศเลือกใช้ให้เหมาะสมหรือดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตามความเหมาะสม
    คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์สามารถใช้ได้ทั้งแบบ PC Notebook หรือแม้แต่กระทั่ง Pocket PC โดยทำการติดตั้งโปรแกรม APRS เช่น Ui-View , AGW , WinAPRS ซึ่งคอมพิวเตอร์ นั้นควรมีคุณสมบัติขั้นต่ำตามที่แต่ละโปรแกรมระบุไว้ เพื่อการใช้งานที่ราบรื่น หากมีการเชื่อมต่อกับเครือข่าย Internet ด้วยก็สามารถที่จะใช้งานระบบ APRS ผ่านทางเครือข่าย Internet ได้ หรือสามารถทำสถานีของเราให้เป็นสถานี Igate ได้อีกด้วย
    Tracker
Tracker เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรายงานพิกัดของยานพาหนะที่เคลื่อนที่ โดยจำเป็นจะต้องต่อใช้งานร่วมกับ GPS และวิทยุสื่อสาร ซึ่งสามารถสร้างเองได้ในราคาย่อมเยา
    TNC Modem หรือ Soundcard Interface
TNC หรือ Modem ที่ใช้งานในระบบ Packet Radio นั้นสามารถนำมาต่อใช้งานระบบ APRS ได้ ซึ่งมีเสถียรภาพมากกว่า การใช้ Soundcard แต่หากไม่มีหรือเพิ่งเริ่มทดลองระบบ ก็สามารถใช้ โปรแกรม AGW Engine และ Soundcard Interface มาใช้งานได้ สำหรับสถานีที่เป็นสถานี Igate หรือ Digipeater ขอแนะนำให้ใช้ TNC หรือ Modem ด้วยเหตุผลข้างต้น

การต่อใช้งาน

การเชื่อมต่อสถานีเข้ากับคอมพิวเตอร์ Notebook เพื่อใช้ในสถานีเคลื่อนที่หรือสถานีชั่วคราว
การเชื่อมต่อสถานีเข้ากับคอมพิวเตอร์ PC เพื่อใช้งานกับ Software เพื่อเป็นลูกข่ายหรือ Igate (Internet Gateway)

การต่อใช้งานสำหรับสถานี Digipeater ที่มีเพียงวิทยุสื่อสารและ TNC เพื่อช่วยทวนสัญญาณในระบบ APRS

การใช้งานโปรแกรม Ui-View

ค่าต่างๆ ที่ใช้งาน APRS ในไทย
  • SSID's:
    CALLSIGN-0 หรือไม่ต้องใช้ SSID กับสถานีประจำที่(บ้าน)
    CALLSIGN-1 สำหรับสถานีตรวจอากาศ(WX)
    CALLSIGN-2 สำหรับสถานีทวนสัญญาณ(Digipeater) ที่ใช้ APRS4R , Ui-Digi , FoxDigi หรือ Hardware Digipeater อื่นๆ
    CALLSIGN-7 สำหรับสถานีอากาศยาน เช่น เครื่องบิน ร่มบิน บอลลูน เครื่องร่อน
    CALLSIGN-9 สำหรับสถานียานพาหนะ ( Car )
  • Unproto address สำหรับสถานีประจำที่:
    APRSTH, WIDE

  • Unproto address สำหรับสถานียานพาหนะ:
    WIDE

 

แผนที่ประเทศไทย สำหรับใช้งานระบบ APRS (ใช้กับโปรแกรม UI-View, AGW)
ก่อนที่จะ Download แผนที่ไปใช้งาน ขอความกรุณาเพื่อนๆ อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ การเพิ่มแผนที่ของ Ui-View เสียก่อน

แผนที่ประเทศไทยโดยกรมแผนที่ทหาร - Thailand map by Royal Thai Army Survey Division
แผนที่ประเทศไทยโดยเพื่อนๆ นักวิทยุสมัครเล่น - Thailand Map by our Ham Radio friends
    Bangkok Metropolitan Area Map by HS0ZER(Map File)
    Bangkok Metropolitan Eastern Area Map by HS0NNU(Map File)
    Bangkok Metropolitan Western Area Map by HS0NNU(Map File)
หากท่านมีแผนที่ประเทศไทยระวางอื่นๆ หรือต้องการแผนที่ในรูปแบบ CD-ROM กรุณาติดต่อ E20EHQ/AB3NB

 

อุปกรณ์ Tracker , Digi

 

APRS = ? by Bob Bruninga WB4APR
 
  Copyright©E20EHQ/AB3NB The Radio Amateur Radio 2004 - All Rights Reserved
MSN Spaces of E20EHQ Updated 1 September, 2008