ข้อสอบกลางพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง

วิชาที่ 1 ความรู้ทั่วไป กฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น

81. ย่านความถี่ 7 MHz. ตามระเบียบ กบถ. ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 กำหนดให้ใช้ความถี่ใด ก. 7,000 - 7,300 KHz. ข. 7,000 - 7,100 KHz. ค. 7,000 - 7,200 KHz. ง. 7,000 - 7,060 KHz.

82. ย่านความถี่ 14 MHz. ตามระเบียบ กบถ. ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 กำหนดให้ใช้ความถี่ใด ก. 14,000 - 14,320 KHz. ข. 14,000 - 14,100 KHz. ค. 14,000 - 14,300 KHz. ง. 14,000 - 14,350 KHz.

83. ย่านความถี่ 21 MHz. ตามระเบียบ กบถ. ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 กำหนดให้ใช้ความถี่ใด ก. 21,000 - 21,350 KHz. ข. 21,000 - 21,450 KHz. ค. 21,000 - 21,200 KHz. ง. 21,000 - 21,500 KHz.

84. ย่านความถี่ 28 MHz. ตามระเบียบ กบถ. ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 กำหนดให้ใช้ความถี่ใด ก. 28,000 - 28,970 KHz. ข. 28,000 - 28,450 KHz. ค. 28,000 - 29,700 KHz. ง. 28,000 - 29,000 KHz.

85. ความถี่วิทยุตามข้อใดจะต้องระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงที่จะใช้ เพราะอาจเกิดการรบกวนสถานีที่กำลังใช้อยู่ในต่างประเทศได้ ก. ความถี่วิทยุที่กำหนดให้ใช้สำหรับ Earth Moon Earth (EME) ข. ความถี่วิทยุที่กำหนดให้ใช้สำหรับกิจกรรมพิเศษ ค. ความถี่วิทยุที่กำหนดให้ใช้สำหรับภาครับและภาคส่งของ REPEATER ง. ความถี่วิทยุที่กำหนดให้ใช้สำหรับ CW

86. เครื่องรับส่งวิทยุสมัครเล่นจะใช้งานได้ต่อเมื่อ ก. ผ่านการตรวจรับรองจากกรมไปรษณีย์โทรเลขก่อน ข. มีสัญลักษณ์ที่กรมไปรษณีย์โทรเลขกำหนดแสดงไว้ให้เห็นเด่นชัด ค. มีลักษณะทางเทคนิคได้มาตรฐานตามข้อบังคับวิทยุ ง. ถูกทุกข้อ

87. สถานีวิทยุสมัครเล่นที่ใช้ความถี่อยู่ในย่านที่กรมไปรษณีย์โทรเลขประกาศกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน จะต้องดำเนินการอย่างไร ก. หยุดการติดต่อตามปกติทุกสถานี ข. ติดต่อกันได้ตามปกติ ค. แปรสภาพเป็นข่ายสื่อสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินได้ทันที ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ค.

88. ข้อใดเป็นข้อห้ามสำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น ก. ติดต่อกับสถานีวิทยุสมัครเล่นในประเทศที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่น ข. ใช้รหัสลับในการติดต่อสื่อสารนอกเหนือไปจากประมวลคำย่อสากลที่ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่น ค. รับส่งข่าวสารที่นอกเหนือไปจากกิจการวิทยุสมัครเล่น ง. ถูกทุกข้อ

89. ประกาศกรมไปรษณีย์โทรเลข เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโทษของพนักงานวิทยุสมัครเล่น ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 ได้กำหนดโทษการกระทำในข้อใด โดยการให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราว เป็นเวลา 3 เดือน ก. ใช้สัญญาณเรียกขานปลอม หรือแอบอ้างใช้สัญญาณเรียกขานของผู้อื่น ข. ยินยอมให้ผู้อื่นที่ไม่มีใบอนุญาตใช้สถานีวิทยุคมนาคมหรือเครื่องวิทยุคมนาคม ค. จงใจกระทำให้เกิดการรบกวนต่อการสื่อสารของสถานีวิทยุคมนาคมอื่น ง. ถูกทุกข้อ

90. ประกาศกรมไปรษณีย์โทรเลข เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโทษของพนักงานวิทยุสมัครเล่น ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 ได้กำหนดโทษการกระทำในข้อใด โดยการให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราว เป็นเวลา 1 ปี ก. ใช้สัญญาณเรียกขานปลอม หรือแอบอ้างใช้สัญญาณเรียกขานของผู้อื่น ข. ยินยอมให้ผู้อื่นที่ไม่มีใบอนุญาตใช้สถานีวิทยุคมนาคมหรือเครื่องวิทยุคมนาคม ค. จงใจกระทำให้เกิดการรบกวนต่อการสื่อสารของสถานีวิทยุคมนาคมอื่น ง. ถูกทุกข้อ

91. ประกาศกรมไปรษณีย์โทรเลข เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโทษของพนักงานวิทยุสมัครเล่น ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 ได้กำหนดโทษการกระทำในข้อใด จะต้องถูกลงโทษด้วยการตักเตือนด้วยวาจา ก. ใช้รหัสลับในการติดต่อสื่อสาร ข. รับส่งข่าวสารที่นอกเหนือไปจากกิจการวิทยุสมัครเล่น ค. ใช้ถ้อยคำหยาบคายในการติดต่อสื่อสาร ง. ติดต่อกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับอนุญาต

92. ประกาศกรมไปรษณีย์โทรเลข เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโทษของพนักงานวิทยุสมัครเล่น ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 ได้กำหนดโทษการกระทำในข้อใด จะต้องถูกลงโทษด้วยการตักเตือนด้วยลายลักษณ์อักษร ก. ใช้ถ้อยคำไม่สุภาพหรือไม่เหมาะสมในการติดต่อสื่อสาร ข. ใช้สัญญาณเรียกขานปลอม หรือแอบอ้างใช้สัญญาณเรียกขานของผู้อื่น ค. แย่งใช้ช่องสัญญาณในการติดต่อสื่อสารหรือใช้ช่องสัญญาณในลักษณะยึดถือครอบครองเฉพาะกลุ่มคน ง. กระทำหน้าที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นไม่ได้รับอนุญาต

93. หลักเกณฑ์ในการพิจารณาลงโทษพนักงานวิทยุสมัครเล่น กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม โดยผู้กระทำความผิดเคยได้รับใบอนุญาตมาแล้ว แต่ใบอนุญาตหมดอายุและถูกจับกุมดำเนินคดี ภายหลังยื่นขอใบอนุญาตใหม่ เพื่อแทนใบอนุญาตฉบับเดิมที่หมดอายุลงนั้น ผู้กระทำผิดดังกล่าวจะถูกพิจารณาลงโทษสถานใด ก. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน ข. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นถาวร ค. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน ง. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี

94. ในกรณีที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นกระทำผิดด้วยการจ้างวานรับส่งข่าวสารไปยังบุคคลที่สาม ผู้กระทำผิดดังกล่าวจะถูกพิจารณาลงโทษสถานใด ก. ตักเตือนด้วยวาจา ข. ตักเตือนด้วยลายลักษณ์อักษร ค. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน ง. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี

95. การกำหนดโทษของพนักงานวิทยุสมัครเล่นโดยให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราว เป็นเวลา 6 เดือน ได้แก่โทษตามข้อใด ก. ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต ข. ใช้สัญญาณเรียกขานปลอม ค. ใช้รหัสลับในการติดต่อสื่อสาร ง. แอบอ้างใช้สัญญาณเรียกขานของผู้อื่น

96. ในกรณีที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นกระทำผิดด้วยการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากจะมีความผิดตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 แล้ว และยังจะถูกพิจารณาลงโทษสถานใดอีกด้วย ก. ตักเตือนด้วยลายลักษณ์อักษร ข. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน ค. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี ง. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี

97. บทลงโทษพนักงานวิทยุสมัครเล่นตามระเบียบกรมไปรษณีย์โทรเลขว่าด้วยการขยายข่ายวิทยุสมัครเล่นทั่วประเทศ พ.ศ. 2532 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2532 ข้อ 28 กำหนดไว้ว่า "เมื่อตรวจพบแจ้งชัดว่านักวิทยุสมัครเล่นผู้ใดฝ่าฝืนกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยุสมัครเล่น" กรมไปรษณีย์โทรเลขจะดำเนินการลงโทษได้กี่กรณี ก. 2 กรณี ข. 3 กรณี ค. 4 กรณี ง. 5 กรณ

ี 98. การกำหนดโทษของพนักงานวิทยุสมัครเล่นโดยให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี ได้แก่โทษตามข้อใด ก. ติดต่อกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับอนุญาต ข. แอบอ้างใช้สัญญาณเรียกขานของผู้อื่น ค. ใช้รหัสลับในการติดต่อสื่อสาร ง. การรับส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมาย

99. โทษของการกระทำหน้าที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นผู้นั้นจะได้รับคือ ก. ตักเตือนด้วยวาจา ข. ตักเตือนด้วยลายลักษณ์อักษร ค. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน ง. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี

100. โทษของการยินยอมให้ผู้อื่นที่ไม่มีใบอนุญาตใช้สถานีวิทยุคมนาคมหรือเครื่องวิทยุคมนาคม ที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นผู้นั้นจะได้รับคือข้อใด ก. ตักเตือนด้วยวาจา ข. ตักเตือนด้วยลายลักษณ์อักษร ค. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน ง. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี

  Copyright©E20EHQ/KB3KCI The Radio Amateur Radio 2004 - All Rights Reserved
MSN Spaces of E20EHQ Updated 1 September, 2008