ข้อสอบกลางพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง
วิชาที่ 2 การติดต่อสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่น
81. สัญญาณเรียกขาน E22 AAZ หมายถึงข้อใด
ก. นักวิทยุสมัครเล่นของประเทศไทยที่อยู่ในเขตหนึ่ง
ข. นักวิทยุสมัครเล่นของประเทศไทยที่อยู่ในเขตสอง
ค. สถานีวิทยุสมัครเล่นของประเทศไทยที่กำหนดให้ใช้ในกิจกรรมพิเศษและอยู่ในเขตสอง
ง. สถานีวิทยุที่เกี่ยวกับการทดลอง (Experimental Stations) ของประเทศไทยที่กำหนดโดย ITU
82. ความถี่วิทยุในข้อใด ไม่ใช่ความถี่วิทยุของกิจการวิทยุสมัครเล่น ตาที่ ITU จัดสรรไว้
ก. 21.000 MHz ข. 27.000 MHz
ค. 28.000 MHz ง. 29.000 MHz
83. ความถี่วิทยุในข้อใด เป็นย่านความถี่วิทยุของกิจการวิทยุสมัครเล่น ตามที่ ITU จัดสรรไว้
ก. 14.000 14.450 MHz ข. 21.000 21.700 MHz
ค. 28.000 30.000 MHz ง. 28.000 29.700 MHz
84. ความถี่วิทยุย่าน 7 METER BAND สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่นในภูมิภาคที่ 3 ที่ได้รับการจัดสรรจาก ITU คือ
ก. 7.000 7.300 MHz ข. 7.000 7.350 MHz
ค. 7.000 7.45 MHz ง. 7.000 7.100 MHz
85. ความถี่วิทยุย่าน 15 METER BAND สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่นในภูมิภาคที่ 1,2 และ 3 ที่ได้รับจัดสรรจาก ITU คือ
ก. 24890 24990 , 24890 29700 , 24890 24990 KHz
ข. 28000 29700 , 28000 29700 , 28000 29700 KHz
ค. 18068 18168 , 18068 18168 , 18068 18168 KHz
ง. 21000 21450 , 21000 21450 , 21000 21450 KHz
86. ความถี่วิทยุย่าน 20 METER BAND สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่นในภูมิภาคที่ 3 ที่ได้รับจัดสรรจาก ITU คือ
ก. 14.000 14.100 MHz ข. 14.000 14.250 MHz
ค. 14.000 14.350 MHz ง. 14.000 14.500 MHz
87. การจัดสรรความถี่ของ ITU ได้กำหนดความถี่ย่าน 80 METER BAND ในภูมิภาคที่ 2 เป็นความถี่เท่าใด
ก. 3500 3800 kHz ข. 3500 4000 kHz
ค. 3500 3900 kHz ง. 3400 3700 kHz
88. พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางของไทย มีสิทธิในการใช้ย่านความถี่วิทยุ HF ใดบ้าง
ก. 7,14,21,28 MHz ข. 7,10,14,21,28 MHz
ค. 7,10,14,18,21,28 MHz ง. 7,10,14,18,21,24,28 MHz
89. สิทธิในการใช้ความถี่และตั้งสถานีของนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง ต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง
ก. ได้รับใบอนุญาตให้ใช้ความถี่ย่าน VHF กำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ และย่าน HF กำลังส่งไม่เกิน 60 วัตต์
ข. ได้รับใบอนุญาตให้ใช้ความถี่ย่าน VHF กำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ และย่าน HF กำลังส่งไม่เกิน 100 วัตต์
ค. ได้รับใบอนุญาตให้ใช้ความถี่ย่าน VHF กำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ และย่าน HF กำลังส่งไม่เกิน 200 วัตต์
ง. ได้รับอนุญาตให้ใช้กำลังส่งสูงสุดไม่เกิน 200 วัตต์ ในทุกย่านความถี่ที่ได้รับอนุญาต
90. ความถี่ใดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นความถี่วิทยุสมัครเล่นย่าน HF ในประเทศไทยขณะนี้
ก. 18000 19700 KHz ข. 7000 7100 KHz
ค. 17000 17100 KHz ง. 22000 22450 KHz
91. ใครเป็นผู้เขียนจรรยาบรรณนักวิทยุสมัครเล่น ในปี พ.ศ. 2471
ก. MR. BERTRANS HARAKD LORENZ ข. MR. HANS D. HOLLTEIN
ค. MR. PAUL M. DEGAL ง. MR. DARA A. REHM
92. พึงละเว้นการเล่นวิทยุจนมีผลกระทบกับความเป็นอยู่ของครอบครัว ประโยคดังกล่าวหมายถึงอะไร
ก. ความสำนึกของนักวิทยุสมัครเล่น ข. หลักปฎิบัติของนักวิทยุสมัครเล่น
ค. คำกล่าวโดยทั่วไปของนักวิทยุสมัครเล่น ง. จรรยาบรรณนักวิทยุสมัครเล่น
93. เมื่อต้องการเข้าร่วมใช้ความถี่ขณะที่มีผู้ใช้ความถี่อยู่ควรปฎิบัตอย่างไร
ก. ควรหาจังหวะที่คู่สถานีนั้นหมดข้อความที่สืบเนื่องก่อน แล้วจึงค่อยขออนุญาตแทรกเข้าไป
ข. เมื่อได้รับคำยินยอมจากผู้ที่ใช้ความถี่อยู่ก่อน ควรใช้เวลาให้น้อยที่สุดในการส่งข้อความ
ค. แทรกได้ทันทีเมื่อต้องการเพื่อความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
94. สัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉินต้องการความช่วยเหลือทางวิทยุโทรเลข คือ
ก. CQ ข. MAYDAY ค. SOS ง. URGENT
95. 95. สัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉินต้องการความช่วยเหลือทางวิทยุโทรศัพท์ คือ
ก. CQ ข. MAYDAY ค. SOS ง. URGENT
96. เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน นักวิทยุสมัครเล่นควรจะแจ้งเหตุที่ความถี่หรือช่องใด
ก. เฉพาะความถี่หรือช่องเรียกขาน
ข. เฉพาะความถี่ที่ได้ตกลงกันไว้เฉพาะกลุ่ม
ค. ความถี่ใดก็ได้ที่คาดว่ามีโอกาสพบสถานีรับแจ้งเหตุให้ได้
ง. เฉพาะความถี่ตำรวจ
97. หลักปฎิบัติในการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ควรดำเนินการดังนี้
ก. เตรียมรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของเหตุที่เกิดขึ้น สถานที่เกิดและที่สังเกตหรือรูปร่างของสิ่งที่ได้รับความเสียหายและความช่วยเหลือที่ต้องการ
ข. เมื่อมีผู้ตอบรับการเรียกขานก็แจ้งรายละเอียดของเหตุฉุกเฉินและความต้องการช่วยเหลืออย่างชัดเจน
ค. เมื่อแจ้งเหตุฉุกเฉินแล้วควรเปิดเครื่องรับ-ส่งวิทยุไว้เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมติดต่อกับผู้รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน
ง. ถูกทุกข้อ
98. สมุดบันทึกการติดต่อสื่อสารมีไว้เพื่อ
ก. เก็บประวัติการติดต่อทางวิทยุของสถานี
ข. ให้เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตตรวจสอบ
ค. เป็นประโยชน์ในการศึกษาผลการทดลองหรือผลการติดต่อที่ได้บันทึกไว้
ง. ถูกทุกข้อ
99. รายละเอียดการติดต่อสื่อสารที่ต้องบันทึกไว้ในสมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร ได้แก่
ก. วัน เดือน ปี และเวลา ตั้งแต่เริ่มและสิ้นสุดการติดต่อแต่ละครั้ง
ข. สัญญาณเรียกขานของคู่สถานีที่ติดต่อด้วย
ค. ขนาดความถี่ที่ใช้ และหรือสรุปข้อความที่ติดต่อแต่ละครั้ง
ง. ถูกทุกข้อ
100.เวลาที่ลงบันทึกในสมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร คือ
ก. UTC ข. CCIR ค. FCC ง. CCITT
|