ไฟวาบ หรือ แฟลช (Flash Light)

 


ไฟวาบ (Flash Ligdht) บางทีก็เรียกทับศัทพ์ว่าไฟแฟลช์หรือแฟลช เป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
มีหน้าที่ทำให้เกิดแสงสว่างเป็นปริมาณที่มากพอจะทำให้การถ่ายรูปด้วยฟิล์มปรกติมีผลทำให้
1. ภาพได้รายละเอียดมากขึ้น
2. เพิ่มปริมาณแสงตามที่ต้องการ
3. ช่วยลบเงาในภาพ

พัฒนาการของไฟแฟลช
การถ่ายรูปในที่มีแสงสว่างน้อย การถ่ายรูปในเวลากลางคืน ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของอุปกรณ์ ช่วยให้เกิดความสว่าง ในสมัยแรกเริ่มของไฟแฟลชนั้น ทดลองใช้สารแมกนีเซียม (mg) บรรจุในหลอด แล้วเผาไหม้ด้วยการจุดทำให้ได้แสงพอแต่แมกนีเซียม เป็นสารที่เป็นอันตรายต่อคน จึงมีคนมาทดลองใช้ออกซิเจนบรรจุ ซึ่งจุดไฟได้ดี เปล่งแสงได้ดี ไฟแฟลชแบบนี้เรียกกันว่า ไฟแฟลชแบบหลอด ซึ่งเป็นจุดกำเนินของไฟแฟลชแบบหลอดอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า Flash bulb
Flash Bulb นี้จะเป็นหลอดแก้วสูญญากาศ ฉาบด้วยแลคเกอร์ภายในมีสารจุดระเบิดและขดลวดใยโลหะอลูมิเนียม บนตัวหลอดด้านบนจะมีจุดสัญญาณปลอดภัยสารเคลือบสีน้ำเงิน ในขณะถ่ายรูปโดยใช้ Flash Bulb ไฟจากแบตเตอร์รี่จะทำให้สารจุดระเบิด explode ทำให้ใยโลหะเปล่าแสงลุกไหม้เกิดความสว่างขึ้น ตัวไส้หลอดนี้เป็นสารทำให้ลุกไหม้แล้วก็จะกลายเป็นเถ้าถ่านไป ไฟแฟลชแบบนี้จึงใช้ได้เพียงหนเดียว การใช้ Flash bulb นี้ ก่อนใช้งานทุกครั้งจึงต้องสังเกตสิ่งต่อไปนี้
- จุดสัญญาณปลอดภัยสารเคลือบสีน้ำเงิน
- หลอดแก้วฉาบแลคเกอร์
- ขดลวดอลูมิเนียม
- สารจุดระเบิด
เนื่องจาก Flash bulb นี้ ถ้ารั่วอากาศภายนอกเข้าไปจะทำให้จุดสัญญาณปลอดภัยเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นสีชมพู ห้ามใช้ เพราะอาจจะเกิดระเบิดอันตรายได้ ตัวหลอดแฟลช 1 ขวดนี้ แหล่งพลังงานได้จาก Battery ใช้สำหรับจุดระเบิดโดยตรง
ไฟแฟลชที่มีพัฒนาการต่อมา คือ ไฟแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Flash) ซึ่งเป็นแฟลชชนิดหลอด ใช้งานไม่ค่อยสะดวกนักเพราะต้องเปลี่ยนหลอดทุกครั้งที่ถ่าย ทำให้ต้องเตรียมหลอดไปเป็นจำนวนมากในการถ่ายรูปครั้งหนึ่ง และยังต้องระมัดระวังเวลาใช้อีกด้วย จึงเกิดความพยายามทำไฟแฟลชชนิดหลอดที่จะใช้ได้หลายครั้งหรือใช้ได้อย่างรวดเร็วขึ้น
ไฟแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ผู้คิดริเริ่มคือ ดร.ฮาโรด์ อี เอ็ดการ์ตัน Dr.Harold E. Edgarton โดยพบว่าถ้าเอาหลอดแก้วไปบรรจุออกซิเจนแทนก๊าซเฉื่อย สามารถใช้แล้วใช้ได้อีกหลายครั้ง
ส่วนประกอบของไฟแฟลชอิเล็กทรอนิกส์จะประกอบด้วย
1. แหล่งพลังงาน
2. วงจรอิเล็กทรอนิกส์
3. หลอดไฟแวบ
4. Synchronization
ข้อควรคำนึงในการใช้ไฟแฟลช
1. ความไวแสงของฟิล์ม (ISO Speed) ฟิล์มที่มี ISO ต่ำย่อมต้องการแสงมากกว่าฟิล์มที่มี ISO สูง เมื่อใช้ไฟแวบถ่ายรูปต้องคำนึงถึงปริมาณแสงของไฟแวบกับชนิดของฟิล์มที่ใช้ด้วย
2. ชนิดของไฟแฟลช (Type of Flash) มี 2 ชนิด คือ
1. ชนิดหลอด (Bulb Flash) มีความเร็วของช่วงเวลาการส่องสว่างอยู่นาน 1/200 - 1/25 วินาที รูเสียบแฟลชใช้ FP
2. ชนิดแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ (electronic Flash) มีความเร็วของช่วงการส่องสว่าง
อยู่นาน 1/500 - 1/2000 - 1/10000 วินาที ใช้รูเสียบแฟลชที่ X และ M เหตุที่ต้องรู้ว่าเป็นไฟแฟลชชนิดใดก็เพราะเกี่ยวกับระบบ Synchronization ของไฟแฟลชนั้น ๆ

3. ตัวเลขนำทาง (guide number) คือตัวเลขนำไฟแวบ ตัวเลข GN นี้ คือ ตัวเลขที่บริษัทผู้ผลิต ได้แจ้งมาให้ทราบว่าไฟแวบนั้น GN เท่าไรเพื่อเป็นคู่มือใช้ไฟแฟลชถ่ายรูป
จากตัวเลขนำ หรือ GN นี้ทำให้เราคำนวณหารูหน้ากล้อง คือ F -stop ที่ถูกต้อง ในการถ่ายรูปได้

สูตร GN = D (ระยะทางจากวัตถุถึงไฟแวบ) x f-number
= D x F.stop
โดยสูตรนี้ GN จะกำหนดออกมาเป็นระยะเมตร
ค่า GN = 40, D (ระยะทาง) = 5 M F.stop = ?
GN = D x F. stop
F. stop = 40/5
= 8
Synchronization คือ ส่วนสัมพันธ์การฉายแสงไฟแฟลชกับม่านชัตเตอร์ให้พร้อมกัน ส่วนสัมพันธ์นี้เชื่อมโยงเข้ากับกลไกชัตเตอร์ด้วย
หลักการถ่ายรูปโดยใช้แฟลชอย่างง่าย
การถ่ายไฟแฟลชตรง ๆ ทำให้ภาพที่เห็นแบน ไม่เห็นมิติ ความลึก ส่วนการถ่ายโดยยกไฟแฟลชสูงขึ้น แสงจะพุ่งลงต่ำ เงาด้านหลังจะน้อยลง ภาพจะชวนดูกว่าเดิม ความสว่างเท่าเดิม แต่จะมีเงาบริเวณด้านข้าง การถ่ายไฟแฟลช โดยปรับมุมแฟลชให้ส่องกระทบเพดาน แล้วสะท้อนลงมา (Bounce) จะทำให้ได้แสงที่นุ่ม ภาพจะไม่คอนทราสท์
แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการปรับปรุงพัฒนาเป็นระบบอัตโนมัติในเวลาต่อมา นอกจากนี้ ยังมีระบบแฟลชแบบอื่นอีก ได้แก่ TTL และ Dedicate Flash
แฟลช TTL (Through the lens) เป็นระบบไฟแฟลชที่ออกแบบมาให้วงจรไฟฟ้าในกล้องและแฟลชมีสัมพันธ์ (Synchronization) สามารถเลือกเปิดรับแสงอย่างใดก็ได้ ในช่วงส่องสว่างของไฟแฟลช กล้องจะเลือกจัดความสว่างที่พอดีสำหรับฟิล์มโดยอัตโนมัติ
ระบบ TTL นี้ จะอ่านค่าของแสงที่สะท้อนกลับผ่านเลนส์เข้าไปยังตัวอ่านแสงที่ระนาบของฟิล์ม
จึงช่วยให้การถ่ายภาพด้วยไฟแฟลชเป็นเรื่องง่ายแต่ได้ผลดีอย่างที่สุด มีข้อระวังอยู่ว่า กล้องและแฟลชนั้น จะต้องเป็นระบบ TTL ด้วยกันจึงจะทำงานได้ผล

แฟลช Dedicate เป็นระบบความสัมพันธ์ของกล้องกับไฟแฟลชอัตโนมัติ โดยแฟลชมีวงจรไฟฟ้าควบคุมการทำงานของกล้องให้ได้รับแสงพอดี โดยการอ่านค่าความสว่างของแสงไฟแฟลชที่สะท้อนกลับมาจากวัตถุโดยตัวอ่านแสง (Sensor) ที่อยู่ข้างหน้าไฟแฟลช แสงไฟแฟลชที่แฟลชปล่อยออกไปก็จะสัมพันธ์กับระยะทางจากไฟไปยังวัตถุที่ถ่ายรวมทั้งความไวแสงของฟิล์ม การเปิดรับแสง จึงต้องดูช่วงระยะความใกล้ไกลในการถ่ายภาพด้วย การใช้แฟลช Dedicate จึงต้องศึกษา ความสัมพันธ์ของกล้องกับแฟลชว่าจะเปิดรับแสงอย่างไรจึงจะสัมพันธ์กับไฟแฟลช