Radiation Oncology Chulolongkorn University

Management of Persistent or Recurrent Tumor


[Previous Page][Next Page][Up][Home Page]


การจะวินิจฉัยว่ามี persistent หรือ recurrent ของมะเร็งปากมดลูก บางครั้งอาจทำได้ลำบาก
บางครั้งมะเร็งจะค่อย ๆ สลายตัวไปหลังจากการรักษาด้วยรังสีครบแล้วหลายเดือน และบางครั้งก็มี fibrosis
เกิดขึ้นหลังการรักษา หรือแม้กระทั่งการทำ pap smear และ biopsy หลังการรักษาแล้วเป็นเวลาหลายเดือน
เกิดพบมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ ก็ยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าเป็น persistent tumor หรือ slowly
regression tumor (47,78) เป็นต้น แต่ถ้าหากว่าก้อนที่สงสัยมีขนาดโตขึ้น และผลพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา
พบมีเซลล์มะเร็งร่วมด้วย ก็เป็นการแน่ชัดว่ามีโรคหลงเหลืออยู่หรือกำเริบขึ้นใหม่ จำเป็นที่จะต้องพิจารณา
ให้การรักษา
ถ้าผู้ป่วยมะเร็งรายนั้น เคยได้รับการรักษาด้วยรังสีอย่างเต็มที่มาก่อน (Full radiation) การรักษา
หลักในขั้นตอนต่อไปจึงควรใช้การผ่าตัด ซึ่งอาจจะเป็นการทำ pelvic exenteration โดยทั่วไปการจะให้
รังสีซ้ำใหม่จะได้ผลน้อยและมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้สูงมาก (49) แต่อาจพิจารณาทำได้ผลดีเฉพาะ
ในรายที่เป็น limited central tumor recurrence (cervix และ vagina) หลังจากที่เคยรักษามาแล้วมากกว่า
5 ปี
ส่วนกรณีที่เป็น persistence หรือ recurrence ภายหลังจากการทำผ่าตัด ควรจะเลือกการรักษาด้วย
รังสี โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอัตราเสี่ยงต่อการกำเริบของโรคสูง (positive surgical margin, involved lymph
nodes, extensive lymphatic or vascular involvement, tumor more than 2 cm or extending to the
lower uterine segment) หลังการทำ Hysterectomy และควรเริ่มการรักษาด้วยรังสีให้เร็วที่สุด หลังจาก
การทำผ่าตัด หรือก่อนที่จะมีอาการจากการมีก้อนมะเร็งโตขึ้น (49)
ถ้าพิจารณาแล้วว่าไม่สามารถใช้การผ่าตัดหรือการฉายรังสีในผู้ป่วยที่มี persistence หรือ
recurrence tumor รายนั้นได้ ก็อาจจะใช้ chemotherapy เพื่อบรรเทาอาการให้กับผู้ป่วย


[Previous]

มะเร็งปากมดลูกในขณะตั้งครรภ์

[Next]

เทคนิคทางรังสีรักษา (Radiotherapy Technique)

[Up]

รังสีรักษา (Radiation Therapy)

[Home]

Home Page

Last modified on 25 October 1996