Radiation Oncology Chulolongkorn University

รังสีรักษา (Radiation Therapy)


[Previous Page][Next Page][Up][Home Page]


รังสีรักษานั้นมีบทบาทสำคัญยิ่งในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ประมาณร้อยละ90 ของผู้ป่วย
มะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์22 ใช้การรักษาด้วยรังสีเป็นหลัก เนื่องจากผู้ป่วย
ส่วนใหญ่เป็นมะเร็งในระยะลุกลาม (invasive carcinoma) หรือแม้แต่ผู้ป่วยในระยะ carcinoma in situ และ
ระยะ IA ก็สามารถใช้การรักษาด้วยรังสีได้ ถ้าผู้ป่วยมีภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการทำผ่าตัด
การรักษาด้วยรังสีมี 2 วิธี คือ
1. การฉายรังสีจากภายนอก (External pelvic irradiation) เป็นการฉายรังสีจากภายนอกไปที่บริเวณ
อุ้งเชิงกราน ซึ่งอาจจะใช้รังสี Cobalt-60 หรือเครื่องเร่งอนุภาครังสี (Linear accelerator ที่มีพลังงานตั้งแต่
6-25 MV) โดยแหล่งของพลังงานรังสีอยู่ห่างจากตัวคนไข้ในระยะ 80-100 เซ็นติเมตร เพื่อทำลายมะเร็ง
ปฐมภูมิและควบคุมโรคที่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองและผนังอุ้งเชิงกราน
2. การใส่แร่เข้าไปในช่องคลอดและโพรงมดลูก (Intracavitary irradiation หรือ Brachytherapy)
โดยแหล่งกำเนิดของรังสีนั้นอยู่ชิดติดกับตัวมะเร็งปฐมภูมิโดยตรง เพื่อทำลายก้อนมะเร็งของปากมดลูก
เป็นการให้รังสีเฉพาะที่ วิธีการนี้จะให้รังสีปริมาณสูงมากที่ตัวโพรงมดลูก, ปากมดลูก, ช่องคลอดส่วนบน
และรอบ ๆ ตัวปากมดลูก (paracervical area) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ทนรังสีได้ดีอยู่แล้ว ขณะเดียวกันลำไส้ตรง
(rectum), กระเพาะปัสสาวะ, ลำไส้เล็ก และหลอดไต จะได้รับรังสีน้อยกว่ามาก โดยแท่งแร่หรือเม็ดแร่ที่นิยมใช้ในปัจจุบันนี้ คือ Radium-226, Cesium-137, Cobalt-60 และ Iridium-192 (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 แสดงแร่กัมมันตภาพรังสีที่นิยมใช้ในปัจจุบัน


Radioactive material

Half life (Tฝ)

Mean Photon Energy (MeV)

Ra-226

1,620 y

0.78

Cs-137

30 y

0.66

Co-60

5.2 y

1.25

Ir-192

74 d

0.63


ในการให้การรักษาด้วยรังสีนั้นอาจใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือใช้ทั้ง 2 วิธีการร่วมกัน เช่น
- Intracavitary irradiation alone ใช้ในกรณีที่เป็น microinvasive หรือ Early invasive cervical
cancer (stage IA, Early IB) ที่ไม่คิดว่าจะมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง ให้การรักษาด้วยการใส่
แร่อย่างเดียว โดยไม่ต้องฉายรังสีจากภายนอก เป็นต้น
- Combination (External + intracavitary irradiation) ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่ที่เป็น
invasive carcinoma (Bulky IB, IIA และ IIB-IVA) นิยมใช้การฉายรังสีจากภายนอกก่อนแล้วตามด้วย
การใส่แร่ ทั้งนี้เนื่องจากขนาดของมะเร็งบริเวณปากมดลูกใหญ่และมักจะมีการลุกลามออกไปที่
parametrium มาก ทำให้ตัวมดลูกบิดเอียงไป จำเป็นที่จะต้องรักษาด้วยการฉายรังสีจากภายนอกไปที่
อุ้งเชิงกรานก่อน เพื่อทำให้ขนาดของก้อนมะเร็งยุบลง และทำให้ตัวมดลูกกลับสู่ตำแหน่งปกติให้มากที่สุด
ในขณะที่ใส่แร่จะได้ไม่มีก้อนมะเร็งมาขวางอยู่ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการใส่เครื่องมือเข้าไปในโพรงมดลูก
และช่องคลอด นอกจากนี้เมื่อตัวมดลูกกลับสู่ตำแหน่งปกติ ก็จะทำให้การกระจายตัวของปริมาณรังสี
เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ และสามารถคำนวณปริมาณรังสีที่จุดต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
External irradiation alone ในบางครั้งภาวะทางสรีระวิทยา, กายวิภาคศาสตร์ และพยาธิสภาพของโรค ทำให้ไม่สามารถที่จะใส่เครื่องมือใส่แร่แก่ผู้ป่วยได้ เช่น ช่องคลอดแคบมากในผู้ป่วยที่ไม่เคยคลอดบุตร
เองทางช่องคลอดหรือทำการตกแต่งช่องคลอดใหม่ หรือบางครั้งปากมดลูกปิดตันจากตัวมะเร็งหรือสาเหตุใด
ก็ตาม ในภาวะเช่นนี้อาจต้องใช้การฉายรังสีจากภายนอกเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องลดขอบเขตของบริเวณที่
ฉายรังสีให้เล็กลงหลังปริมาณรังสี 4,500-5,000 cGy โดยเพิ่มปริมาณรังสีเฉพาะที่ที่มีความผิดปกติอีก
1,500-2,000 cGy

จุดอ้างอิง (Reference point)

Carcinoma In Situ (CIS)

Stage IB และ IIA

Stage IIB, III และ IVA

Stage IVB

ตารางที่ 3 นโยบายการรักษามะเร็งปากมดลูกระยะต่าง

ผลการรักษาด้วยรังสี

ภาวะแทรกซ้อนของรังสีรักษาและการดูแลรักษา

การดูแลผู้ป่วยภายหลังการรักษาด้วยรังสี

Carcinoma of the cervical stump

มะเร็งปากมดลูกในขณะตั้งครรภ์

Management of Persistent or Recurrent Tumor

เทคนิคทางรังสีรักษา (Radiotherapy Technique)

สรุป (Summary)


[Previous]

ความไวของมะเร็งปากมดลูกต่อรังสี

[Next]

References

[Up]

รังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก

[Home]

Home Page

Last modified on 25 October 1996