Radiation Oncology Chulolongkorn University

สรุป (Summary)


[Previous Page] [Next Page] [Up] [Home Page]


แม้ว่าการรักษาและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกในช่วง 20 ปีเศษที่ผ่านมา จะดีขึ้นตามลำดับก็ตาม
แต่มะเร็งปากมดลูกก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งของผู้ป่วยมะเร็งในประเทศไทย โดยเฉพาะใน
ประชากรกลุ่มที่ยังมีความเป็นอยู่ที่ยากจน รังสีรักษาเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่ว ๆ ไป แล้วว่าสามารถใช้ได้
กับผู้ป่วยที่เป็น invasive carcinoma ทุกราย สามารถควบคุมโรคในอุ้งเชิงกรานได้ 92%-98% ในโรค
ระยะที่ 1, 75%-85% ในโรคระยะที่ 2, ประมาณ 30%-50% ในโรคระยะที่ 3 และมีอัตรารอดชีวิต
หลังการรักษาที่ 5 ปี 90% ในระยะที่ 1 แต่ในระยะที่ IV จะมีอัตรารอดชีวิตเพียง 10-15% เท่านั้น
ดังนั้นการตรวจเช็คหามะเร็งในระยะเริ่มแรกจึงมีความจำเป็นและสำคัญยิ่ง
ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการรักษาด้วยรังสีต้องควบคุมให้ไม่เกิน 5-10% แต่จากรายงานต่าง ๆ
พบเฉลี่ยประมาณ 3% เท่านั้น


[Previous] เทคนิคทางรังสีรักษา (Radiotherapy Technique)
[Up] รังสีรักษา (Radiation Therapy)
[Home] Home Page

Last modified on 25 October 1996