Radiation Oncology Chulolongkorn University

การใส่แร่ในโพรงมดลูกและช่องคลอด


[Previous Page][Next Page][Up][Home Page]


ถ้าเป็นการสอดใส่แร่เข้าไปโดยตรงหรือสอดใส่เครื่องมือที่มีแร่บรรจุอยู่ก่อนแล้วเรียกว่า
preloading technique ซึ่งปัจจุบันนี้ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากแพทย์และบุคคลากรอื่น ๆ ได้รับรังสีโดยตรง
ต่อมาได้มีการพัฒนาโดยใส่เครื่องมือเข้าไว้ในอวัยวะที่เป็นมะเร็งหรือในก้อนมะเร็ง โดยเครื่องมือจะมี
รูกลวง ภายหลังที่มีการตรวจสอบตำแหน่งถูกต้องแล้วจึงสอดใส่แร่เข้าไปในรูกลวงของเครื่องมืออีกที
เรียกวิธีการนี้ว่า afterloading technique ซึ่งมีประโยชน์ในแง่ลด radiation hazard ถ้าเป็นการสอดใส่แร่
ด้วยมือจะเรียก manual afterloading technique แต่ถ้าเป็นการสอดใส่แร่ด้วยเครื่องมืออิเลคทรอนิคควบคุม
การใส่จากภายนอกห้องเรียกว่า remote control afterloading technique
วิธีการนี้เป็นการให้ปริมาณรังสีขนาดสูงที่ตัวปากมดลูก, โพรงมดลูก ช่องคลอดส่วนบน และ
paracervical tissue โดยปริมาณรังสีจะลดลงอย่างรวดเร็วต่อเนื้อเยื่อที่อยู่ห่างออกไปจากต้นกำเนิดของรังสี
เทคนิคที่ใช้ในการใส่แร่สำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก มีหลายสถาบัน เช่น
- The stockholm technique
- The Paris technique
- The Manchester technique
- The Fletcher technique
สำหรับสาขารังสีรักษา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ผ่านมา
นิยมใช้ The Manchester และ The Fletcher technique ซึ่งเป็น preloading และ manual after loading system
ตามลำดับ โดยใช้แร่เรเดียม-226 เป็นแหล่งพลังงานรังสี สำหรับปริมาณของแร่เรเดียม-226 ที่ใช้เป็น
Standard loading 15-10-10 mg Ra in Tandem และ 20 mg Ra in each standard vagina ovoids51-53 โดยจะให้
ปริมาณรังสีที่ Point A ระหว่าง 40-60 cGy ต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็น standard low dose rate system
ขั้นตอนของการใส่แร่
1. การเตรียมคนไข้ก่อนการใส่แร่ ต้องทำความสะอาดบริเวณ perineum สวนล้างช่องคลอดและสวน
ล้างทวารหนัก เพื่อทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ไม่ให้มีอุจจาระค้างในลำไส้ เป็นการป้องกันไม่ให้มีอุจจาระไหล
มาเปรอะเปื้อนบริเวณที่จะทำการใส่แร่เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
2. ใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ ขณะทำการรักษาด้วยการใส่แร่ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถลุกขึ้นปัสสาวะ
เองได้ เพราะมีเครื่องมือคาอยู่ในโพรงมดลูกและช่องคลอด ใช้ Contrast media 7 cm3 ฉีดเข้าไปใน balloon
ของ catheter แล้วดึง balloon มาที่ Bladder neck
3. ตรวจภายใน เพื่อทราบตำแหน่งของตัวมดลูกว่าวางตัวคว่ำหรือหงาย และคลำดูหาตำแหน่งของ
cervical os
4. ใช้ Sound วัดขนาดของโพรงมดลูกว่ามีขนาดเท่าใด มดลูกปกติ จะมีขนาด 5-7 เซ็นติเมตร
5. หลังจากนั้นทำการขยายปากมดลูกโดยใช้ Hegar dilator จนถึงเบอร์ 8
6. ใส่ Uterine tandem เข้าไปในโพรงมดลูก ความลึกตามขนาดที่วัดได้ (แต่ส่วนมากจะใส่ความลึก
ไม่เกิน 6 เซ็นติเมตร) และตามด้วยการใส่ vagina ovoids ขวาและซ้ายตามลำดับ ทำการ lock เครื่องมือเข้าไว้
ด้วยกันตามชนิดของเครื่องมือที่ใช้ โดยให้ตำแหน่งของ uterine tandem และvagina ovoids ตั้งฉากซึ่งกันและ
กัน (ดังรูปที่ 9A และ 9B)
7. ต่อมาใช้ผ้า sterile guaze packing เพื่อเพิ่มระยะห่างของแร่กับทวารหนักและกระเพาะปัสสาวะ
และเพื่อทำให้เครื่องมือที่ใส่ไว้อยู่ในตำแหน่งคงที่ ป้องกันไม่ให้มีการขยับเลื่อนหลุดออกมาขณะทำการรักษา
นอกจากนี้อาจใช้พลาสเตอร์พันเครื่องมือ แล้วยึดติดไว้กับตัวผู้ป่วยด้วย
8. ใส่สาย rectal tube ที่มีเม็ดตะกั่ววางเรียงอยู่เข้าในรูทวารหนักเพื่อบอกตำแหน่ง anterior wall
ของทวารหนัก
9. เมื่อใส่เครื่องมือต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ถ่ายฟิล์มเอกซเรย์ของผู้ป่วยบริเวณอุ้งเชิงกรานในท่า
anteroposterior และ lateral เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องมือที่ใส่อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการและเหมาะสม
10. ฟิล์มที่ได้สามารถนำไปใช้คำนวนหาปริมาณรังสีที่ Point A, ทวารหนักและกระเพาะปัสสาวะ
11. ทำการใส่แร่เข้าไปในเครื่องมือที่เป็นแบบ manual after loading system


[Previous]

การฉายรังสีจากภายนอก

[Next]

Medium Dose Rate (MDR) Brachytherapy

[Up]

เทคนิคทางรังสีรักษา (Radiotherapy Technique)

[Home]

Home Page

Last modified on 25 October 1996