Radiation Oncology Chulolongkorn University

Medium Dose Rate (MDR) Brachytherapy


[Previous Page][Next Page][Up][Home Page]


เนื่องจากการใช้แร่เรเดียยม-226 เป็นแหล่งพลังงานรังสีในการใส่แร่ผู้ป่วย มีข้อเสียเปรียบคือ
ตัวแท่งแร่และเครื่องมือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ เป็น preloading และ/หรือ manual loading system
ทำให้มี radiation hazard ต่อแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้ การป้องกันรังสีทำได้ลำบาก และแร่เรเดียม
เมื่อสลายตัวจะให้กัมมันตภาพรังสี Radon-222 ซึ่งเป็นก๊าซที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า นอกจากนั้น
ผู้ป่วยต้องใช้เวลาในการรักษานานครั้งละ 48-72 ชั่วโมง
ดังนั้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2528 หน่วยรังสีรักษา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้นำเครื่อง Selectron ซึ่งเป็น Remote control after loading system โดยใช้แร่ซีเซียม-137 (Cesium-137)
เป็นแหล่งพลังงานของรังสีในการใส่แร่ แทนแร่เรเดียม-226 ที่ใช้อยู่เดิม โดยในระยะเริ่มแรกมี dose rate
ที่ point A เท่ากับ 200 cGy/hr 54 ซึ่งอาจจัดว่าเป็น medium dose rate (MDR) machine เมื่อเปรียบเทียบ
กับการใช้แร่เรเดียม-226 ซึ่งเป็น low dose rate (LDR) คือมี dose rate ที่ point A ประมาณ 53 cGy/hr 52,53
ข้อดีของเครื่อง Selectron ก็คือตัวแร่และเครื่องมือมีขนาดเล็ก (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางด้านนอก
6 มิลลิเมตร) การป้องกันรังสีทำได้ 100% เนื่องจากเป็น remote control after loading system ระยะเวลา
การใส่แร่ในผู้ป่วยสั้นกว่า ใช้เวลารักษาครั้งละประมาณ 10-12 ชั่วโมง เนื่องจาก dose rate ที่สูงขึ้น
ปัจจุบันการใส่แร่ด้วยเครื่องมือ Selectron นี้ กำหนดให้ปริมาณรังสีรวมสูงสุดที่ Point A ไม่เกิน
7,500 cGy จะเห็นว่า total dose ที่ point A ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับการใช้แร่เรเดียม - 226 ทั้งนี้เป็นผลจาก
dose rate ที่สูงขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อเนื้อมะเร็งและเนื้อเยื่อปกติมากขึ้น55-57 ส่วนขั้นตอนการใส่แร่นั้นเหมือนกับ
การใส่แร่เรเดียม - 226 ทุกประการ
แนวนโยบายการใส่แร่ด้วยเครื่อง Selectron ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกของสาขารังสีรักษา
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แสดงดังตารางที่ 7


ตารางที่ 7 การรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการฉายรังสีจากภายนอกและการใส่แร่ซีเซียม - 137
ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์


Whole pelvic XRT (Gy)

Brachytherapy (Cs-137) (Gy)

Total doses Point A (Gy)

Total dose Point B (Gy)

20 Gy

27.5 Gy x 2F

75 Gy

Vary as in Ra-226 technic

30 Gy

22.5 Gy x 2F

75 Gy

Vary as in Ra-226 technic

40 Gy

17.5 Gy x 2F

75 Gy

Vary as in Ra-226 technic

50 Gy

25.0 Gy x 1F

75 Gy

Vary as in Ra-226 technic


สำหรับผลของการรักษาตามนโยบายที่วางไว้ดังกล่าว พบว่าไม่ว่าจะใช้การรักษาด้วยการใส่แร่
เรเดียม - 226 หรือแร่ซีเซียม - 137 ผลการรักษาในด้านการควบคุมโรคเฉพาะที่ และอัตราการมีชีวิตรอด
จากการรักษา ได้ผลใกล้เคียงกัน ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ นอกจากนั้นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจาก
การรักษาด้วยวิธีการทั้ง 2 ก็ใกล้เคียงกัน (33,58)


[Previous]

การใส่แร่ในโพรงมดลูกและช่องคลอด

[Next]

High Dose Rate (HDR) Brachytherapy

[Up]

เทคนิคทางรังสีรักษา (Radiotherapy Technique)

[Home]

Home Page

Last modified on 25 October 1996