Radiation Oncology Chulolongkorn University

High Dose Rate (HDR) Brachytherapy


[Previous Page][Next Page][Up][Home Page]


เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่สาขารังสีรักษา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ทุกปี ดังสถิติที่ได้แสดงไว้แล้ว ทำให้มีปัญหาในด้านการให้บริการแก่ผู้ป่วย โดยเฉพาะจำนวนเตียงที่จะต้อง
รับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลเพื่อรับการใส่แร่ ตลอดจนจำนวนของเครื่องมือใส่แร่ที่มีจำนวนจำกัด มีผลทำให้
ผู้ป่วยบางรายไม่ได้รับการรักษาในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม
ดังนั้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2538 สาขารังสีรักษา ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จึงได้มีการนำ
เครื่อง Microselectron ซึ่งเป็นวิธีการใส่แร่แบบ high dose rate (HDR) และเป็น remote control after
loading brachytherapy ซึ่งใช้แร่อิริเดียม - 192 (Iridium-192) เป็นแหล่งพลังงานรังสีในการใส่แร่แก่ผู้ป่วย
โดยมีข้อดีและข้อเสียเมื่อเทียบกับ low dose rate ดังนี้คือ59,60

ข้อดีของ High dose rate (remote control afterloading)
1. ด้านผู้ป่วย
- ระยะเวลาในการรักษาสั้น (เวลาเป็นนาที) ไม่จำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาล
เป็นการรักษาแบบผู้ป่วยนอก
- รักษาผู้ป่วยได้หลายรายต่อวัน
- ลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการนอนนาน ๆ ในผู้ป่วยบางรายซึ่งมีโรคอย่างอื่นร่วมด้วย
เช่น pulmonary emboli
2. ด้านบุคคลากรทางการแพทย์
- ไม่ต้องเสี่ยงต่อ radiation hazard เนื่องจากเป็น remote control afterloading ป้องกันอันตรายจากรังสี 100%
- ไม่ต้องมีพยาบาลดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากช่วงเวลาการรักษาสั้นมาก
3. ด้านฟิสิกส์ (Physics)
- ระหว่างการรักษา ตำแหน่งของ source, เครื่องมือค่อนข้างคงที่ เนื่องจากระยะเวลาในการรักษาสั้นดังกล่าว และมีเครื่องมือที่ใช้ยึดปรับให้เครื่องมืออยู่คงที่ ผู้ป่วยสามารถนอนนิ่งได้ดี ทำให้การคำนวณปริมาณรังสี
ที่ตำแหน่งต่าง ๆ ถูกต้อง
- ไม่มีปัญหาทางด้าน radiation protection เพราะเป็น remote control
- ใช้ computer planning system ทำให้มี radiation dosimetry ที่แม่นยำ
ข้อเสียเปรียบของ High dose rate
1. เพิ่มงานแก่บุคคลากรทั้งนักฟิสิกส์ รังสีรักษาแพทย์ พยาบาล เนื่องจากต้องเพิ่มจำนวนครั้ง
ของการใส่แร่ อย่างน้อย 3-4 fraction ขึ้นไป
2. ยังไม่มีมาตราฐานของการรักษาว่าปริมาณรังสีทั้งจากการฉายรังสีจากภายนอก และการใส่แร่
ควรจะเป็นปริมาณรังสีจำนวนเท่าใด
3. ผลของการรักษาทั้ง control rate และผลแทรกซ้อนยังทราบไม่แน่ชัดเหมือน low dose rate
4. เนื่องจาก dose rage สูงมาก (> 12 Gy/hr) จึงต้องระวังข้อผิดพลาดต่าง ๆ โดยเฉพาะ
การวางแผนการรักษาและคำนวณปริมาณรังสี ต้องการความละเอียดถูกต้องมากกว่า low dose rate และ
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการคำนวณ
5. เครื่องมือมีราคาแพง
6. กรณีใช้ Co-60 และ Ir-192 เป็น source ซึ่ง half-life สั้น (5 ปี และ 74 วัน ตามลำดับ)
จึงเปลืองงบประมาณในการเปลี่ยน source ใหม่
7. การบำรุงรักษาเครื่องมือยุ่งยาก ต้องใช้งบประมาณและบุคคลากรเฉพาะทาง ตรวจสอบ
ความถูกต้องของคอมพิวเตอร์ บุคคลากรที่สำคัญก็คือนักฟิสิกส์

ข้อได้เปรียบของ Low dose rate
1. เนื่องจากเป็นวิธีการที่ใช้รักษามานานแล้ว จึงทราบผลของรังสีและปริมาณรังสีที่ใช้กันอย่าง
แน่นอนเป็นมาตราฐาน
2. ทางด้านการวางแผนการรักษาทางฟิสิกส์ ไม่ยุ่งยากเหมือน high dose rate ไม่ต้องใช้
บุคคลากรพิเศษ
3. ถ้า source ที่ใช้เป็น radium -226 ก็ใช้ได้ตลอดไม่ต้องเปลี่ยน source ใหม่ เพราะมี half-life
นาน 1,620 ปี และถ้า source เป็น Cesium-137 (half-life 30 ปี) ก็เปลี่ยน source ช้ากว่ามาก
4. ไม่ต้องคำนวณ dose rate ใหม่บ่อย ๆ

ข้อเสียเปรียบของ Low dose rate
1. ผู้ป่วยต้องนอนในโรงพยาบาล เนื่องจากการใส่แร่แต่ละครั้งใช้เวลา 48-72 ชั่วโมง
2. ต้องการพยาบาลดูแลในหอผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
3. ต้องการหอผู้ป่วยพิเศษเพื่อการป้องกันรังสี
4. มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนเตียงผู้ป่วย
5. ด้าน dosimetry ไม่แน่นอน เพราะอาจมีการขยับเขยื้อนของผู้ป่วยขณะให้การรักษา ทำให้
เครื่องมือใส่แร่เลื่อนออกมาจากตำแหน่งปกติได้
จะเห็นว่า High dose rate brachytherapy มีข้อได้เปรียบต่อ low dose rate brachytherapy
หลายประการ ดังนั้นในปัจจุบันนี้ จึงมีการพัฒนาเทคนิคต่าง ๆ ของ HDR ในหลาย ๆ สถาบันให้มี
ประสิทธิภาพมากที่สุด
สาขารังสีรักษา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้วางนโยบาย
การรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก โดยการใช้ HDR เทียบกับ LDR brachytherapy ดังนี้ คือ ตารางที่ 8


ตารางที่ 8 นโยบายการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกด้วย HDR VS LDR brachytherapy


Whole pelvic XRT (Gy)

Brachytherapy

ERD3

ERD10

40 Gy

Ra 48 hr x 2F

153.40

101.60

 

Cs 1750cGy x 2F

166.73

90.51

 

Ir 7.5 Gy x 3F

145.40

87.40

50 Gy

Ra 72 hr x 1F

148.10

100.20

 

Cs 2500cGy x 1F

156.93

90.29

 

Ir 7.5 Gy x 2F

145.60

90.40


ERD3 (57,61,62) = Extrapolated response dose ของ late responding tissue
ERD10 (57,61,62) = Extrapolated response dose ของ early responding tussue
โดย Late responding tissue ในที่นี้หมายถึง connective tissue ของ bladder, rectum และ ureter
Early responding tissue หมายถึง epithelial lining หรือ mucosa ของ bladder และ rectum รวมตลอดถึง
ตัวเนื้อมะเร็งเอง

จะเห็นว่า แนวนโยบายของการใช้ HDR brachytherapy ในการรักษามะเร็งปากมดลูกนั้น พยายาม
ให้สามารถควบคุมโรคเฉพาะที่ให้มากที่สุด และป้องกันให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาให้น้อยที่สุด
อย่างไรก็ตามถึงแม้การใช้ HDR brachytherapy จะมีข้อดีหลายอย่างดังที่กล่าวแล้วก็ตาม แต่ใน
ปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ทราบปริมาณรังสี ระยะเวลา และเทคนิคปลีกย่อยต่าง ๆ ที่เหมาะสมที่สุด เพื่อใช้เป็น
มาตราฐาน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาและติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดต่อไป
ส่วนเทคนิคและขั้นตอนการใส่แร่ microselectron แบบ HDR brachytherapy นั้น เหมือนกับที่ใช้ใน
LDR brachytherapy ทุกประการ เพียงแต่ไม่จำเป็นต้องวางยาสลบให้ผู้ป่วย เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้สำหรับ
การใส่แร่มีขนาดเล็กมาก (เส้นผ่าศูนย์กลางของ central tube มีขนาดเพียง 3.2 มิลลิเมตร) สามารถใส่เข้าไป
ในโพรงมดลูกได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการขยายปากมดลูก ดังนั้นผู้ป่วยแทบจะไม่มีอาการปวดจากการใส่แร่
เมื่อทำการรักษาเสร็จก็ถอดเครื่องมือออกจากตัวผู้ป่วย และผู้ป่วยก็สามารถเดินทางกลับบ้านได้ทันที


[Previous]

Medium Dose Rate (MDR) Brachytherapy

[Up]

เทคนิคทางรังสีรักษา (Radiotherapy Technique)

[Home]

Home Page

Last modified on 25 October 1996