Radiation Oncology Chulolongkorn University

Diagnostic Tests


[Previous Page][Next Page][Up][Home Page]


เมื่อพบผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงดังกล่าวข้างต้น ที่ชี้บ่งว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคมะเร็งลำไส้ ควรส่งตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
1. ตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ มีวิธีการตรวจ 2 วิธีที่ตรวจหาก้อนภายในลำไส้ใหญ่ประกอบด้วย
1.1 Air Contrast Barium Enema ร่วมกับ Proctosigmoidoscopy โดยปกติการทำ Barium Enema แบบ Single-Column จะได้ภาพไม่ชัดเจน และไม่สามารถเห็นรอยโรคที่มีขนาดเล็กได้ โดยสามารถตรวจมะเร็งได้เพียง 59% และตรวจ Polyps ได้ราว 40% ของผู้ป่วยทั้งหมดเท่านั้น26
การใช้เทคนิค Double Contrast Barium Enema เป็นการใส่ลมเข้าไปในลำไส้ใหญ่ร่วมกับ Contrast Media ทำให้เพิ่มความแม่นยำของการตรวจขึ้นจากวิธีเดิม 15-20%27 จากการศึกษาในผู้ป่วย 460 ราย พบว่าสามารถตรวจ Polyps ได้ตั้งแต่ 40-90%28 เนื่องจากการทำ Barium Enema ต้องใส่ท่อที่มีลูกโป่งเข้าไปทางรูทวารหนัก เพื่อป้องกันไม่ให้ Contrast Media รั่วออกมาจากลำไส้ใหญ่ ทำให้บดบังบริเวณ Rectum และ Sigmoid Colon ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พบมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้บ่อย จึงควรทำ
Proctosigmoidoscopy ร่วมด้วย เพื่อตรวจสอบบริเวณดังกล่าว
1.2 Colonoscopy with Biopsy การใช้ Colonoscopy ในการตรวจสอบหามะเร็งลำไส้-ใหญ่และ Polyps จะเพิ่มความแม่นยำในการตรวจมากกว่าวิธีอื่น ๆ โดยเฉพาะถ้าก้อนมะเร็งหรือ
Polyps มีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง Barium Enema และ Colonoscopy ในผู้ป่วยรายเดียวกัน
จะพบว่า Barium Enema ให้ความไว (Sensitivity) ในการตรวจ 67% ในขณะที่ Colonoscopy ตรวจ
ได้ 97%29 ประโยชน์ของ Colonoscopy นอกจากความไวในการตรวจมากกว่า Barium Enema แล้ว
ยังสามารถตัดชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิสภาพได้ และถ้าพบ Polyps ก็สามารถทำาการรักษาด้วยการ
ตัดออก (Polypectomy) ได้อีกด้วย นอกจากนี้ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เคยผ่าตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว
จะมีการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางกายวิภาคไปจากปกติ การทำ Barium Enema ในบางครั้ง
แปลผลลำบากในการที่จะบอกว่าผู้ป่วยมีการกลับเป็นซ้ำเฉพาะที่ของโรคหรือไม่ การทำ
Colonoscopy ในรายเช่นนี้จะมีประโยชน์มากกว่า Barium Enema ในการวินิจฉัยโรค
ผลเสียของ Colonoscopy มีหลายประการ ประกอบด้วยเรื่องของค่าใช้จ่ายซึ่งจะแพงกว่า Double Contrast Barium Enema ผู้ป่วยมักจะรู้สึกทรมานจากการทำ Colonoscopy มากกว่าการทำ
Barium Enema รวมทั้งแผลแทรกซ้อนของ Endoscopy จะมากกว่าการทำ Barium Enema กล่าวคือ
พบการตกเลือดและการทะลุของลำไส้ใหญ่ประมาณ 0.1-0.2% จากการทำ Colonoscopy ในขณะที่
Barium Enema พบเพียง 0.02%30-32
2. Fecal Occult Blood Test เนื่องจากมะเร็งลำไส้ใหญ่มักจะมีเลือดออกจากผิวของก้อนมะเร็งออกมาปะปนกับอุจจาระบ่อย ๆ ดังนั้นการตรวจเลือดในอุจจาระจะช่วยในการตรวจมะเร็งได้ (Cancer Screening Test) ข้อดีของการทำ Fecal Occult Blood Test คือทำง่าย ราคาถูก แต่ข้อเสียคือการตรวจวิธีนี้ มีความไว (Sensitivity) ต่ำ และความจำเพาะ (Specificity) ต่ำ เนื่องจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ในบางรายอาจไม่มีเลือดออกมาทางอุจจาระ หรือมีเลือดออกเป็นครั้งคราวเท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีสารอาหารหลายอย่างที่ทำให้เกิด False Positive ของการตรวจได้ เช่น การรับประ-
ทานยาบางชนิด บางครั้งเลือดออกมาจากตำแหน่งอื่นของทางเดินอาหาร เช่น เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร33 การรับประทานไวตามินซีมาก ๆ อาจทำให้เกิดผล False Negative ได้24 หรือถ้าปริมาณเลือดที่ออกมีน้อยและกระจายไม่สม่ำเสมอในอุจจาระ เวลาเก็บอุจจาระมาตรวจอาจตรวจไม่พบเลือดในอุจจาระ35
3. Tissue Diagnosis เมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จำเป็นต้องได้รับการวินิจ
ฉัยที่แน่นอนด้วยการตรวจทางพยาธิสภาพ ซึ่งอาจทำได้โดยตัดชิ้นเนื้อที่สงสัยจากลำไส้ใหญ่ และ/หรือจากบริเวณรอยโรคที่แพร่กระจาย เช่นที่ Left Supraclavicular Lymph Node ขึ้นกับการพิจารณาความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายก่อนเริ่มการ Staging และการรักษา
4. Serum Tumor Markers มี Markers 3 ชนิดที่ทำได้ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และมีประโยชน์ในการติดตามการกลับเป็นซ้ำของโรคหลังการรักษา และเพื่อตรวจดูผลการรักษา (Monitoring of Therapy) ประกอบด้วย CEA36, CA19-937, และ CA5038
5. Metastatic Work-up การซักประวัติและตรวจร่างกายจะช่วยชี้บ่งถึงระยะของโรคได้คร่าว ๆ ถ้ามีอาการทางคลีนิคที่ทำให้คิดถึงรอยโรคของการแพร่กระจาย ควรตรวจเพิ่มเติมตามที่สงสัย เช่น ตรวจพบว่าตับโตควรทำ Liver Function Test โดยเฉพาะ Alkaline Phosphatase และ
Ultrasonography หรือ CT/MRI ของตับเพื่อตรวจเช็คว่าผู้ป่วยมี Liver Metastasis หรือไม่ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดกระดูกและมีค่า Alkaline Phosphatase สูงผิดปกติ ควรพิจารณาทำ Bone X-ray หรือ Bone Scan ร่วมด้วย ในผู้ป่วยทุกรายที่ไม่มีอาการควรทำ Liver Function Test โดยเฉพาะ
Alkaline Phosphatase และ Chest x-ray เพื่อตรวจดูว่ามีการแพร่กระจายของโรคมะเร็งไปที่ปอดและตับ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พบ Metastatic Disease ได้บ่อย Abdominal and Pelvic CT Scan มี
ประโยชน์ในการวินิจฉัยและตรวจหาระยะของโรค โดยเฉพาะในรายของมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วน
Rectum


[Previous]

Clinical Features

[Next]

Prognostic Factors

[Up]

มะเร็งลำไส้ใหญ่

[Home]

Home Page

Last modified on 25 October 1996