Radiation Oncology Chulolongkorn University
Prognostic Factors
ปัจจัยที่บอกการพยากรณ์โรคที่เลวของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (ตารางที่ 2) มีดังต่อไปนี้7,8
1. การที่มะเร็งแพร่กระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เป็นเฉพาะที่ที่เยื่อบุผิวลำไส้ (Dukes A Stage) จะมีอัตรารอดชีวิตเฉลี่ยที่ 5 ปีมากกว่า 90% หรือระยะ DukesB
70-85% ระยะ Dukes C 30-60% ถ้าเป็นมะเร็งในระยะแพร่กระจาย DukesD จะเหลืออัตรารอดชีวิตใน 5 ปี เพียง 5% เท่านั้น
2. จำนวนของต่อมน้ำเหลืองที่มีเซลล์มะเร็ง ถ้ายิ่งมีจำนวนต่อมน้ำเหลืองที่มีเซลล์มะเร็งอยู่มากขึ้นเท่าไร โอกาสที่โรคจะแพร่กระจายและกลับเป็นซ้ำจะมีมากขึ้นเท่านั้น เช่น ถ้ามีต่อมน้ำเหลืองมากกว่า 4 ต่อมที่มีเซลล์มะเร็ง จะมีโอกาสกลับเป็นซ้ำมากกว่าในรายที่มีต่อมน้ำเหลืองที่มีเซลล์มะเร็งตั้งแต่ 1-4 ต่อม เป็นต้น
3. การที่มะเร็งเจริญเติบโตทะลุผนังลำไส้ใหญ่ ถ้ามะเร็งเจริญเติบโตจากเยื่อบุผิวเข้าไปถึงผนังลำไส้ใหญ่แล้ว อาจทะลุออกไปสู่อวัยวะใกล้เคียง เช่น Pericolic Fat ก็จะมีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้มากขึ้น เพราะมีโอกาสที่เซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ภายหลังการผ่าตัดได้มาก
4. พยาธิสภาพแบบ Poorly Differentiated Carcinoma มะเร็งที่มีพยาธิสภาพแบบนี้จะแพร่กระจายได้มากกว่า ชนิด Well Differentiated Carcinoma และมีการดำเนินโรคที่รุนแรงกว่า
5. มะเร็งแตกทะลุออกมานอกลำไส้ การที่มะเร็งแตกทะลุออกมานอกผนังลำไส้ใหญ่ หรือไปติดกับอวัยวะใกล้เคียง ทำให้โอกาสที่มีเซลล์มะเร็งตกค้างอยู่หลังการผ่าตัดมีมาก และก่อให้เกิดการกลับเป็นซ้ำเฉพาะที่ในช่องท้องสูง
6. Venous Invasion บางครั้งเซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายเข้าไปสู่เส้นเลือดดำที่รับเลือดจากลำไส้ใหญ่ในตำแหน่งนั้น ทำให้สามารถแพร่กระจายไปตามกระแสเลือดไปสู่ส่วนอื่น ๆ ได้
7. Preoperative Elevation of Carcinoembryonic Antigen (CEA) การที่มีค่าของ CEA สูง
เช่น มากกว่า 5 ng/ml ก่อนผ่าตัดชี้บ่งว่าจะมีโอกาสการกลับเป็นซ้ำของโรคได้มากขึ้นหลังการผ่าตัด
8. DNA Aneuploidy โดยปกติเซลล์ทั่วไปจะมีปริมาณ DNA ที่คงที่ (Diploid) เซลล์มะเร็งอาจมีการเจริญเติบโตผิดปกติ และมีการสร้าง DNA มาก (Hyperdiploid) หรือน้อยกว่าปกติ (Hypodiploid) จากการศึกษาพบว่ามะเร็งที่มีปริมาณ DNA ผิดปกติ จะเป็นมะเร็งที่มีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี และมีการดำเนินของโรคที่รุนแรงกว่ามะเร็งที่มีปริมาณ DNA ปกติ (Diploid Tumor)
9. Specific Chromosome Deletion (Allelic Loss) การที่มีส่วนของโครโมโซมบางอันขาดหายไป เช่น โครโมโซม ที่มียีนชื่อ nM23 อยู่ จะทำให้เซลล์มะเร็งเหล่านี้สามารถแพร่กระจาย (Metastasis) ได้มากกว่าปกติ เชื่อว่ายีนส์ที่ขาดหายไป เหล่านี้ทำหน้าที่ป้องกันการแพร่กระจาย
ของเซลล์มะเร็ง
Diagnostic Tests |
|
การรักษา |
|
มะเร็งลำไส้ใหญ่ |
|
Home Page |
Last modified on 25 October 1996