พระนางพญา มีแหล่งกำเนิดที่วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้างไว้ ในแผ่นจาลึกลานทองของพระครูอนุโยค
วัดราชบูรณะ มีผู้คัดลอกกันไว้ว่า พระนางพญาสร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา
จากการพิจารณาเนื้อดินและพุทธศิลปะของพระนางพญาแล้ว มีความเก่าถึงช่วงต้น
ๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เฉพาะพิมพ์เข่าโค้งช่างในสมัยอยุธยาได้สร้างขึ้นเลียนแบบศิลปะสมัยสุโขทัย
ซึ่งเห็นได้อย่างเด่นชัด นอกจากพิมพ์นี้พิมพ์เข่าตรงยังมีลักษณะใกล้เคียงกับศิลปะสมัยพระเจ้าอู่ทอง
๒ จากภูมิสถานของวัดนางพญาก็อยู่ในสกุลช่างเดียวกัน เมื่อพิจารณาถึงกษัตริย์ทุกพระองค์ที่เคยครองเมืองพิษณุโลกแล้วพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครองเมืองพิษณุโลกนานที่สุด
ในสมัยกรุงศรีอยุธยานับเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ มีความพรั่งพร้อมทั้งกำลังพลและกำลังทางเศรษฐกิจ
พระนางพญาคงสร้างขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๐๐๗-๒๐๒๕ ในคราวเดียวกันกับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ก่อสร้างพระปรางค์แบบต้นสมัยอยุธยาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
จังหวัดพิษณุโลกและได้บูรณะพระสถูปเจดีย์ใหญ่ ฐานคล้ายเจดีย์มอญ
ที่วัดราชบูรณะ ซึ่งพระสถูปเจดีย์องค์นี้ยังเป็นสง่า อยู่ริมฝั่งลำน้ำน่านจนบัดนี้
พระนางพญา เป็นพระเนื้อดินเผา มีเนื้อสีอิฐแดงเหลือง
, เนื้อเขียว , เนื้อดำ มี ๗ พิมพ์ ด้วยกัน คือ |