<< พระเบ็ญจภาคี ยอดปรารถนาของผู้นิยมในพระเครื่อง>>
HOME |
 
 
พระผงสุพรรณ
พระผงสุพรรณได้ปรากฏหลักฐานว่าขุดพบที่พระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ โดยท่านพระยาสุนทรบุรีเจ้าเมืองสุพรรณในขณะนั้นได้สั่งให้มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการ เพราะปรากฏว่ามีคนร้ายลักลอบขุดพระปรางค์องค์ใหญ่อยู่บ่อยครั้งซึ่งได้พบพระบูชาและพระเครื่องมากมายหลายพิมพ์ แม้แต่พระทองคำก็มีไม่น้อย นอกจากนี้ยังพบแผ่นลานเงิน แผ่นลานทอง ซึ่งได้บันทึกจารหลักฐานไว้ทำให้ชนรุ่นหลังได้ทราบว่า ในปีพ.ศ.๑๘๙๐ สมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ ๑ ทรงมีศรัทธาใน พระบรมพุทธศาสนาได้ทรงอัญเชิญพระมหาเถรปิยะทัสสีสารีบุตร ให้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระฤาษีทิวาลัยเป็นประธานฝ่ายฤาษีร่วมกันสร้างพระพุทธปฏิมากร เพื่อเป็นการสืบศาสนา พระผงสุพรรณเป็น พระเครื่องสกุลสูงเปรียบได้ว่าเป็นพระ ชั้นกษัตริย์ ของเมืองสุพรรณบุรี พุทธลักษณะเป็นพระสี่เหลี่ยมทรงชะลูดจนดูเกือบจะเป็นสามเหลี่ยมตัดปลาย มีบางองค์ถูกถูกตัดปลายออกสองด้านจนกลายเป็นห้าเหลี่ยมก็มีองค์พระนั่งปางมารวิชัยประทับบนฐานชั้นเดียวพระพักตร์ แตกต่างกันออกไปตามพิมพ์ด้านหลังปรากฏลายนิ้วมือแบบ" ตัดหวาย "ทุกองค์ เป็นศิลปะแบบอู่ทอง

พระผงสุพรรณ เนื้อเป็นเนื้อดินเผาละเอียดปราศจากเม็ดแร่ มีหลายสี เช่น สีแดง สีเขียว สีดำ และสีมอย(ดำจางๆคล้ายผงธูป) พระผงสุพรรณพิมพ์ที่นิยมในวงการมีอยู่ ๓ พิมพ์ ด้วยกันคือ

๑. พิมพ์หน้าแก่
๒ . พิมพ์หน้ากลาง
๓ . พิมพ์หน้าหนุ่ม

สัญสักษณ์ที่สำคัญของพระผงสุพรรณอย่างหนึ่ง ก็คือว่า ที่ด้านหลังองค์พระจะต้องมี ลายมือติดอยู่ด้วยทุกองค์

พิมพ์หน้าหนุ่ม
พิมพ์หน้ากลาง
พิมพ์หน้าแก่