My group /History school /Policy /Teacher

 

ประวัติโรงเรียน

"โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"  มีประวัติการก่อตั้งโรงเรียนสืบเนื่องมาจากโรงเรียนมัธยมหอวังซึ่งเป็นโรงเรียนสาธิต สังกัดแผนก
วิชาครุศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น โรงเรียนที่ตั้งขึ้น
เพื่อการฝึกหัดครู ชั้นประโยคครูมัธยม ครั้นต่อมาโรงเรียนมัธยมหอวังได้เปลี่ยนรูปงานเป็นโรงเรียน
เตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  แผนกวิชาครุศาสตร์จึงไม่มีโรงเรียนสำหรับฝึกหัด
ครูเป็นระยะเวลานานประมาณ 15 ปี 
  เมื่อแผนกวิชาครุศาสตร์ขยายงานเป็นคณะครุศาสตร์  โดยมี
                                                           


               ศาสตราจารย์พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เป็นคณบดี





ท่านได้เล็งเห็นความจำเป็นในการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตเพื่อการฝึกหัดครูขั้นปริญญาขึ้นแทนโรงเรียน
มัธยมหอวัง  จึงได้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นโดยให้ชื่อว่า "โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย"
   
          

และทำพิธีเปิดป้ายชื่อโรงเรียนเมื่อ
วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2501

คณะกรรมการที่ร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนมี 6 ท่าน ได้แก่
1. นางพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา
2. นางกมลกาญจน์ เกษไสว
3. นางพวงเพชร เอี่ยมสกุล
4. นางประชุมสุข อาชวอำรุง
5. นางสาวดวงเดือน พิศาลบุตร
6. นายสำเภา วรางกูร

ในปีการศึกษา 2501 โรงเรียนได้เปิดรับนักเรียนเป็นปีแรกโดยรับนักเรียนเข้าเรียนสองระดับ   คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวนนักเรียน 30 และ 26 คนตามลำดับ ระยะเริ่มแรก
นี้คณะมอบหมายให้ อาจารย์พวงเพชร เอี่ยมสกุล เป็นผู้วางโครงการต่างๆ ในการจัดตั้งโรงเรียนแต่
ท่านถึงแก่กรรมก่อนที่จะดำเนินตามโครงการที่วางไว้ คณะจึงมอบหมายให้อาจารย์ประชุมสุข อาชวอำรุง ในฐานะหัวหน้าแผนกวิชาประถมศึกษาเป็นผู้ดูแลด้านประถมศึกษาปีที่ 1 และอาจารย์ ดร. กมลกาญจน์ เกษไสว ในฐานะหัวหน้าแผนกวิชามัธยมศึกษา เป็นผู้ดูแลด้านมัธยมศึกษาปีที่ 1 ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่ประจำ
ชั้นในระยะแรกนี้  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้แก่ อาจารย์ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา และอาจารย์สุภากร 
ราชากรกิจ ส่วนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้แก่ อาจารย์อาภรณ์ ชาติบุรุษ

ในระยะเริ่มแรกของการจัดตั้งโรงเรียนมีปัญหาเรื่องสถานที่เรียนเป็นอันมาก แต่ก็ได้รับความอนุเคราะห์
จากมหาวิทยาลัยให้ใช้สถานที่ ที่สร้างเป็นที่ประกอบอาหารของหอพักนิสิต (ตอนนั้นหอพักยังไม่ได้สร้าง
แต่ได้สร้างส่วนที่เป็นครัวขึ้นก่อน) เป็นสถานที่เรียนทั้ง 2 ระดับติดต่อกันตลอดปีการศึกษา 2501

อาจารย์ที่มีส่วนสำคัญในการดำเนินงาน ระยะเริ่มแรก ได้แก่
1. อาจารย์ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา
2. อาจารย์อาภรณ์ ชาติบุรุษ
3. อาจารย์สุภากร ราชากรกิจ
4. อาจารย์ประคอง ตันเสถียร
5. อาจารย์ประภาศรี ศิริจรรยา
6. อาจารย์กิติยวดี ณ ถลาง

ปีการศึกษา 2502 มหาวิทยาลัยมีความจำเป็นต้องต่อเติมอาคารหอพักที่ยังคั่งค้างอยู่ให้แล้วเสร็จรวม
ทั้งส่วนที่เป็นครัว ซึ่งใช้เป็นที่เรียนขณะนั้นด้วยโรงเรียนจึงจำเป็นต้องใช้สถานที่ใหม่ โดยไปเรียนที่
คณะครุศาสตร์   ซึ่งขณะนั้นกำลังก่อสร้างอาคารสถานที่เช่นเดียวกัน โดยใช้ส่วนที่เป็นห้องประชุม 
ห้อง 106 ในปัจจุบัน (ขณะนั้นพื้นยังไม่ได้เทคอนกรีต ห้องเรียนกั้นชั่วคราวด้วยเสื่อรำแพน) ให้เป็น
ที่เรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 เรียนอีกด้านหนึ่ง (ปัจจุบันเป็นหน่วยพัสดุ และ ห้องเรียน ระดับดุษฎีบัณฑิต) สถานที่ทั้งสองแห่งนี้ขณะนั้นยังไม่แล้วเสร็จ ในขณะที่การจัดกิจกรรม การเรียน การสอน จำเป็นต้องอดทนต่อเสียงรบกวน และฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น ขณะที่มีการก่อสร้าง ตลอดเวลา ในปีการศึกษา 2502 นี้คณะได้แต่งตั้ง ศาสตราจารย์อำไพ สุจริตกุล
ทำหน้าที่อาจารย์ใหญ่ ดูแลการดำเนินงานของโรงเรียน


   ในปีการศึกษา 2502นี้เองคณะเห็นว่าการดำเนินงานของ
   โรงเรียนมีปัญหาและอุปสรรคมากจึงขอให้มหาวิทยาลัย
   ช่วยเหลือ  ในที่สุดก็ได้บ้านพักอาจารย์หลังหนึ่ง ซึ่งเดิม
   เป็นที่พัก ของอาจารย์ชาวต่างประเทศที่รับราชการใน
   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขณะนั้นอาคารชำรุดมากต้อง
   ซ่อมแซม   เมื่อแล้วเสร็จจึงเปิดเป็นอาคารเรียนขึ้น
จากนั้นบ้านหลังนี้ก็กลายสภาพเป็นโรงเรียนเรื่อยมา (ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บูรณะและอนุรักษ์ไว้ตั้งชื่อว่า “เรือนภะรตราชา” )

ปีการศึกษา 2503 คณะครุศาสตร์ได้มอบหมายให้ ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ เป็นอาจารย์ใหญ่ สืบแทน ศาสตราจารย ์อำไพ สุจริตกุล  ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ ได้บริหารโรงเรียนต่อเนื่อง
กันประมาณ 10 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2512คณะครุศาสตร์ได้ปรับปรุงระบบงานใหม่ เพื่อให้โรงเรียนสาธิต
ทำหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติงานแก่อาจารย์ และนิสิตคณะครุศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น จึงได้แยกหน่วยงานออก
เป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายประถม และฝ่ายมัธยม มีอาจารย์ใหญ่ ทำหน้าที่ บริหารโรงเรียนแต่ละฝ่าย โดยมี
แผนกวิชาประถมศึกษาและแผนกวิชามัธยมศึกษา ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านวิชาการ  ภายหลัง
ที่ได้แยกงานบริหารโรงเรียนออกเป็น 2 ฝ่ายแล้ว ผู้ที่ทำหน้าที่อาจารย์ใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไปตามวาระ
ของการบริหารงานในโรงเรียน ตำแน่งผู้บริหารโรงเรียน ในระยะแรก คืออาจารย์ใหญ่

ในปีการศึกษา 2518 คณบดีคณะครุศาสตร์เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนโดยตำแหน่ง และในปีการศึกษา 
2519 อาจารย์ใหญ่มีชื่อตำแหน่งเป็นรองคณบดี ปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ

 พ.ศ.2540 มีการปฏิรูปการบริหารงานโรงเรียนกำหนดให้ผู้บริหารดำรงตำแหน่งรองคณบดีและ
ผู้อำนวยการโรงเรียน และเขียนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม"


ผู้บริหารโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ
มิ.ย. 2502 - พ.ค. 2503         ศาสตราจารย์อำไพ สุจริตกุล
มิ.ย. 2503 - ต.ค. 2512 
           ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ

ผู้บริหารโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม
ต.ค. 2512 - พ.ค. 2513          ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภากร ราชากรกิจ
มิ.ย. 2513 - ธ.ค. 2516          ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิรมล สวัสดิบุตร
ธ.ค. 2516 - ธ.ค. 2528          ผู้ช่วยศาสตราจารย์รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์
ม.ค. 2528 - 16 ธ.ค. 2531      ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัชดา สุตรา

17 ธ.ค. 2531 - 23 ม.ค. 2532  ศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
( คณบดีคณะครุศาสตร์ รักษาการ )

24 ม.ค. 2532 - 16 ธ.ค. 2535  รองศาสตราจารย์ลินจง อินทรัมพรรย์
17 ธ.ค. 2535 - 25 ม.ค. 2536  รองศาสตราจารย์ลินจง อินทรัมพรรย์
( รักษาการ )

26 ม.ค. 2536 - 16 ธ.ค. 2539  รองศาสตราจารย์สมจิต ชิวปรีชา
17 ธ.ค. 2539 - 16 ม.ค. 2540  รองศาสตราจารย์สมจิต ชิวปรีชา
( รักษาการ )

17ม.ค. 2540 - 25 เม.ย. 2540  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
( คณบดีคณะครุศาสตร์ รักษาการ )

26 เม.ย. 2540 - 31มี.ค. 2544  ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัชดา สุตรา
 1 เม.ย. 2544 - ปัจจุบัน        ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลัดดา ภู่เกียรติ