Home    Previous page การแก้ปัญหาความสัมพันธ์เวียนเกิด Next page
นิยาม คำที่ควรทราบ
  • Recurrence equation
  • Characteristic equation
  • Homogeneous recurrences
  • Inhomogeneous recurrences

นิยาม ความสัมพันธ์เวียนเกิด (Recurrence relation)
ความสัมพันธ์เวียนเกิดคือ การนิยามฟังก์ชันโดยใช้นิพจน์ที่มีความสัมพันธ์นั้นปรากฎอยู่
ตัวอย่างเช่น ลำดับ Fibonacci
F(n) = F(n-1) + F(n-2), F(1) = 1, F(2) = 1
ถ้าเราสามารถเขียน F(n) ในรูปแบบของฟังก์ชันอื่น ๆ ที่ไม่ขึ้นกับ F แล้วเราจะเรียกฟังก์ชันใหม่นั้นว่า คำตอบของความสัมพันธ์เวียนเกิด

การแก้ความสัมพันธ์เวียนเกิด

  1. ประสบการณ์และการคาดคำตอบ (Intelligent guesswork)
    วิธีการนี้ใช้การจำแนกและแยกแยะความสัมพันธ์โดยอาศัยประสบการณ์ ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอนดังนี้
    1. คำนวณค่าตอนแรกมา 3-9 ค่า
    2. ดูรูปแบบของเทอมและการเพิ่มขึ้นอย่างเป็นแบบแผน
    3. คาดการณ์สูตรจากรูปแบบที่เกิดขึ้น
    4. พิสูจน์โดยใช้อุปนัยคณิตศาสตร์ เพื่อยืนยันคำตอบ

    ตัวอย่าง
    T(n) = 3 T(n ÷ 2) + n ถ้า n 0, T(0) = 0
    1. คำนวณค่าบางตัวสำหรับเลขที่หารสองลงตัว
    n 12 48 1632
    T(n) 15 1965 211665
    2. การดูรูปแบบ เราควรเขียนตารางข้างล่าง
    nT(n)
    11
    23 × 1 + 2
    22 32 × 1 + 3 × 2 + 22
    23 33 × 1 + 32 × 2 + 3 × 22 + 23
    24 34 × 1 + 33 × 2 + 32 × 2 2 + 3 × 23 + 24
    25 35 × 1 + 34 × 2 + 33 × 2 2 + 32 × 2 3+ 3 × 24 + 25

    3. เราจะได้สูตรว่า
    T(2n) = 3n20 + 3n-121 + 3n-222 + . . . + 31 × 2n-1 + 302n
    = 3n (2/3)i = 3n+1 - 2n+1
    4. ทำให้อยู่ในรูป n จะได้
    T(n) = T(2lg n) = 31 + lg n - 21 + lg n = 3 nlg 3 - 2 n เมื่อ n = 2k
    หลังจากนั้นเราจึงพิสูจน์โดยใช้อุปนัยคณิตศาสตร์

  2. ความสัมพันธ์เวียนเกิดแบบเอกพันธุ์
    อยู่ในรูป a0 tn + a1 tn-1 + . . . + ak tn-k = 0
    มีคุณสมบัติ
    • เชิงเส้น
    • เอกพันธ์เพราะสัมประสิทธิ์ข้างหน้า tn-i เป็นการรวมเชิงเส้นที่มีค่าเป็นศูนย์
    • สัมประสิทธิเป็นค่าคงตัว
    เราพบว่า Fibonacci sequence สอดคล้องความสัมพันธ์เวียนเกิดแบบเอกพันธุ์ เพราะ fn - fn-1 - fn-2 = 0
    เราจะได้ข้อสังเกตว่าถ้า gn และ hn เป็นคำตอบแล้ว การรวมเชิงเส้นของ gn และ hn จะเป็นคำตอบด้วยเสมอ นั่นคือ c gn + d hn เป็นคำตอบด้วย
    ถ้าเราแทน tn ด้วย xn แล้วจะได้
    a0 xn + a1 xn-1 + . . . + ak xn-k = 0
    ซึ่ง x = 0 เป็นคำตอบหนึ่ง มิฉะนั้น หารตลอดด้วย xn-k

    a0 xk + a1 xk-1 + . . . + ak = 0
    เรียกว่า สมการลักษณะเฉพาะของความสัมพันธ์เวียนเกิด และเรียก
    p(x) = a0 xk + a1 xk-1 + . . . + ak
    ว่า พหุนามลักษณะเฉพาะ ซึ่งจะมีรากอยู่ k ราก เราสามารถเขียนได้ในรูปแบบ
    p(x) = (x - ri) ดังนั้น tn = cirin เป็นคำตอบของสมการด้วย

    ตัวอย่าง(Fibonacci)
    กำหนด fn = n ถ้า n = 0 หรือ n = 1
    fn = fn-1 + fn-2 ในกรณีอื่น ๆ
    เราสามรถเขียนได้เป็น fn - fn-1 - fn-2 = 0
    พหุนามลักษณะเฉพาะคือ x2 - x - 1 ซึ่งมีคำตอบคือ r1 = และ r2 = ดังนั้นคำตอบทั่วไปคือ
    fn = c1 r1 + c2 r2
    แก้สมการหาค่า c1 และ c2 จะได้ fn = [ ()n - ()n]

  3. ความสัมพันธ์เวียนเกิดแบบไม่เอกพันธ์
    a0 tn + a1 tn-1 + . . . + ak tn-k = bn p(n) มีคุณสมบัติ
    • b เป็นค่าคงตัว
    • p(n) เป็นโพลิโนเมียลฟังก์ชันของ n ระดับขั้น d

    ตัวอย่าง
    พิจารณา tn - 2 tn-1 = 3n ในกรณีนี้ b = 3, p(n) = 1 สามารถแปลงเป็นสมการเอกพันธ์ได้

    1. คูณ 3: 3 tn - 6 tn-1 = 3n+1
    2. แทน n ด้วย n-1: 3 tn-1 - 6 tn-2 = 3n
    3. จาก 1 และ 2: tn - 5 tn-1 + 6tn-2 = 0
    4. พหุนามลักษณะเฉพาะ: x2 - 5x + 6 = (x-2)(x-3) = 0
    5. จะได้ tn = c1 2n + c23n
    6. แก้สมการ: c1 + c2 = t0, 2 c1 + 3 c2 = 2 t0 + 3
    7. c1 = t0 - 3, c2 = 3: tn = (t0 - 3)2n + 3n+1

    ตัวอย่าง
    พิจารณา tn - 2 tn-1 = (n + 5) 3n, n 1

    • เขียนความสัมพันธ์เวียนเกิด
    • แทนค่า n ด้วย n - 1 แล้วคูณด้วย -6
    • แทนค่า n ด้วย n - 2 แล้วคูณด้วย 9
    • จะได้
      tn - 2 tn-1= (n+5)3n
      - 6 tn-1 + 12 tn-2 = -6 (n+4) 3n-1
      9 tn-2 - 18 tn-3 = 9(n+3) 3n-2
    • tn - 8 tn-1 + 21 tn-2 - 18 tn-3 = 0
    • พหุนามลักษณะเฉพาะ: x3 - 8 x2 + 21 x - 18 = (x - 2)(x - 3)2 = 0
    • จะได้ tn = c1 2n + c23n + c3 n 3n
    • แก้สมการ: c1 + c2 = t0
      2 c1 + 3 c2 + 3 c3 = 2 t0 + 18
      4 c1 + 9 c2 + 18 c3 = 4 t0 + 99
    • c1 = t0 - 9, c2 = 9, c3 = 3: tn = (t0 - 9)2n + (n + 3) 3n+1

    สรุป
    สำหรับ a0 tn + a1 tn-1 + . . . + ak tn-k = bn p(n)
    เราสามารถใช้ พหุนามลักษณะเฉพาะ ในรูป
    a0 xk + a1 xk-1 + . . . + ak)(x - b)d+1

    ตัวอย่าง
    พิจารณา tm = 2 tm-1 + 1, t0 = 0 อยู่ในรูป tm - 2 tm-1 = 1

    • พหุนามลักษณะเฉพาะคือ (x - 2)(x - 1)
    • tm = c1 1m + c2 2m
    • แก้สมการ: c1 + c2 = 0, c1 + 2 c2 = 1
    • c1 = -1, c2 = 1: tm = 2m - 1

    ตัวอย่าง

    1. จงหาคำตอบของความสัมพันธ์เวียนเกิด tn = 2 tn-1 + n, t0 = 1
    2. จงหาคำตอบของความสัมพันธ์เวียนเกิด tn = 4 tn-1 - 2n, t0 = 1

    สรุป
    สำหรับ a0 tn + a1 tn-1 + . . . + ak tn-k = b1n p1(n) + b2n p2(n) + . . .
    เราสามารถใช้ พหุนามลักษณะเฉพาะ ในรูป
    (a0 xk + a1 xk-1 + . . . + ak)(x - b1)d1+1 (x - b2)d2+1 ในการแก้ปัญหาได้เสมอ เมื่อ d1, d2, . . . คือระดับขั้นของ p1(n), p2(n), . . .

    ตัวอย่าง
    จงหาคำตอบของความสัมพันธ์เวียนเกิด tn = 2 tn-1 + n + 2n, t0 = 0

    การเปลี่ยนตัวแปร
    เราอาจเปลี่ยนตัวแปร n หรือ t

    1. T(n) = 3 T(n/2) + n เมื่อ n = 2k, T(1) = 1
    2. T(n) = 4 T(n/2) + n2
    3. T(n) = 2 T(n/2) + n lg n
    4. T(n) = L T(n/b) + c nk
      จะได้ว่า
    5. T(n) = n T2(n/2), T(1) = 1/3
Home | Previous | Next


© Copyright by กรุง สินอภิรมย์สราญ