Radiation Oncology Chulolongkorn University

Carcinoma In Situ (CIS)


[Previous Page][Next Page][Up][Home Page]


ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น carcinoma in situ นั้นการรักษาที่ดีที่สุดคือการทำผ่าตัด Total abdominal hysterectomy with or without a small vaginal cuff แต่ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาทางด้านอายุรกรรมหรือ
มีสภาพร่างกายที่ไม่เหมาะสมแก่การทำผ่าตัด ก็สามารถที่จะให้การรักษาโดยใช้รังสีแทนได้ เนื่องจากภาวะนี้
จะไม่มีการแพร่กระจายของโรคไปที่ต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน ดังนั้นการรักษาจึงใช้การใส่แร่ในโพรง
มดลูกและช่องคลอดเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นการรักษาเฉพาะที่ โดยให้ปริมาณรังสีประมาณ 4,500-5,000 cGy.
ที่ Point A หรือ ประมาณ 5,000-5,500 milligram-hours (mgh) Radium โดยการใส่แร่เพียง 1-2 ครั้ง
ซึ่งปริมาณรังสีขนาดนี้ไม่พบว่ามีการกำเริบของโรคเกิดขึ้นเลย 1
Early invasive carcinoma (stage Ia1, Ia2) ปกติแล้วจะใช้การทำผ่าตัดแบบ total abdominal or
modified radical hysterectomy เป็นการรักษาหลัก แต่ก็อาจจะใช้การรักษาด้วยรังสีได้ ซึ่งในภาวะนี้
พบว่ามีโอกาสในการแพร่กระจายของโรคสู่ต่อมน้ำเหลืองได้ไม่เกิน 2%24 ดังนั้นจึงสามารถใช้การรักษา
โดยใช้การใส่แร่ในโพรงมดลูก และช่องคลอดเพียงอย่างเดียว โดยใช้ปริมาณรังสีขนาด 6,000 cGy ที่
Point A หรือประมาณ 7,000-8,000 milligram-hours Radium โดยใส่แร่ 1-2 ครั้ง สามารถที่จะควบคุม
โรคได้กว่า 95% (1)


[Previous]

จุดอ้างอิง (Reference point)

[Next]

Stage IB และ IIA

[Up]

รังสีรักษา (Radiation Therapy)

[Home]

Home Page

Last modified on 25 October 1996