Radiation Oncology Chulolongkorn University

Stage IB และ IIA


[Previous Page][Next Page][Up][Home Page]


การจะใช้รังสีรักษาหรือการผ่าตัดเป็นการรักษาหลักสำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ระยะ IB และ
IIA ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก โดยการจะเลือกใช้วิธีการใด ยังขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบัน สูติ-นรีแพทย์
และรังสีรักษาแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง เครื่องมือทางรังสีรักษาที่มีอยู่ สภาวะทั่วไปของผู้ป่วย และลักษณะของ
ความผิดปกติของมะเร็งปฐมภูมิ โดยแพทย์ส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้การผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย (<40 ปี),
ขนาดของมะเร็งปฐมภูมิเล็กกว่า 3 ซม. และเป็น wellgade tumor ทั้งนี้เพราะต้องการสงวนรังไข่ให้แก่ผู้ป่วย และช่องคลอดมีการยืดหยุ่นตัวได้ดีกว่าการรักษาด้วยรังสี ตลอดจนทั้งมีความต้องการและอารมณ์ทางเพศ
ที่ปกติดีกว่าด้วย
อย่างไรก็ตาม โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ไม่ว่าจะใช้รังสีรักษาหรือการผ่าตัด ผลการควบคุมโรคและ
อัตรารอดชีวิตหลังจากการรักษาไม่แตกต่างกัน
สำหรับกรณีของ Bulky endocervical tumors หรือที่เรียกกันว่า Barrel-shaped cervix ผู้ป่วยกลุ่มนี้
พบว่า มีโอกาสเกิดการกำเริบของโรคเฉพาะที่สูง และยังมีโอกาสในการลุกลามของโรคไปที่ต่อมน้ำเหลือง
ในอุ้งเชิงกราน และต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง ตลอดจนการแพร่กระจายของโรคไปยังอวัยวะอื่น ๆ สูงอีกด้วย
การใช้การใส่แร่ในโพรงมดลูกและช่องคลอด อาจจะไม่สามารถให้ปริมาณรังสีที่สูงเพียงพอครอบคลุม
เนื้อมะเร็งปฐมภูมิทั้งหมดได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้การฉายรังสีจากภายนอกร่วมด้วย หรือ
การใช้รังสีทั้ง external และ intracavitary irradiation ร่วมกับการทำผ่าตัดแบบ extrafascial hysterectomy
เป็นต้น
ในกรณีที่เลือกใช้รังสีรักษา ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นิยมที่จะใช้การฉายรังสีจากภายนอก
(External pelvic irradiation) ก่อน แล้วจึงตามด้วยการสอดใส่แร่ในโพรงมดลูกและช่องคลอด ทั้งนี้เพื่อ
ทำให้ก้อนมะเร็งยุบตัวลงก่อน การใส่แร่จะทำได้ง่ายขึ้น และทำให้การกระจายตัวของรังสีเป็นไปได้อย่าง
สม่ำเสมอ
ปริมาณรังสีที่ใช้ สำหรับ External pelvic irradiation อยู่ระหว่าง 2,000-4,000 cGy ในระยะเวลา
2-4 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของมะเร็งปฐมภูมิ และอัตราการตอบสนองของก้อนมะเร็งว่าเร็วหรือช้า
เพียงใด หลังจากนั้นจะตามด้วยการใส่แร่อีก 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1-2 สัปดาห์ โดยให้ผลรวมของรังสี
ที่ Point A เท่ากับ 8,000-8,500 cGy และให้ปริมาณรังสีที่ parametrial หรือ pelvic lymph node (Point B)
ได้ 5,000-5,500 cGy


[Previous]

Carcinoma In Situ (CIS)

[Next]

Stage IIB, III และ IVA

[Up]

รังสีรักษา (Radiation Therapy)

[Home]

Home Page

Last modified on 25 October 1996