Radiation Oncology Chulolongkorn University

ภาวะแทรกซ้อนของรังสีรักษาและการดูแลรักษา


[Previous Page][Next Page][Up][Home Page]


รังสีรักษาอาจก่อให้เกิดปฏิกริยาต่อเนื้อเยื่อปกติ ของอวัยวะที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน ซึ่งอาจเป็นภาวะ
แทรกซ้อนระยะเฉียบพลัน (acute) และระยะเรื้อรัง (chronic or late)34
1. Acute complication or reaction เป็นปฏิกริยาที่เกิดขึ้นระหว่างการฉายรังสีจากภายนอก หรือ
เกิดขึ้นภายหลังการใส่แร่ในโพรงมดลูกและช่องคลอดทันที
1.1 ผลของรังสีทั่วไป คือ ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียร ซึ่งอาการ
เหล่านี้ก็เป็นอาการทั่วไปของผู้ป่วยโรคมะเร็ง แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อให้การรักษาด้วยรังสี
แก้ไขได้โดยการให้ยาระงับอาการอาเจียร และให้ยาเจริญอาหารเสริม จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้
1.2 การติดเชื้อ เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกมักมีการเน่าตายและติดเชื้อของก้อนมะเร็งอยู่แล้ว
การสอดใส่แร่อาจมีโอกาสทำให้เกิดมีแผลขึ้นที่ปากมดลูกและเยื่อบุโพรงมดลูก มีผลทำให้เกิดการอักเสบ
ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน มีไข้และปวดท้อง การให้ยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวดลดไข้ จะรักษาและระงับอาการได้
1.3 การทะลุของตัวมดลูกขณะสอดใส่แร่ ผู้ป่วยอาจเสียเลือดในช่องท้องจำนวนมาก และ
จำเป็นต้องทำผ่าตัดเพื่อแก้ไขการตกเลือด หากการทะลุไม่รุนแรง รูทะลุอาจปิดได้เอง ให้งดการใส่แร่
ครั้งนั้นไว้ก่อน รอให้แผลสมาน ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วจึงพิจารณาใส่แร่ให้ใหม่ ขณะเดียวกันควรให้
ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อไว้ด้วย
1.4 อาการของระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเดิน ควรให้ยารักษา ตามอาการร่วมกับการให้
น้ำเกลือชนิดรับประทานถ้าเกิดอาการมาก บางครั้งอาจมีอาการถ่ายเป็นมูกเลือดและปวดเบ่ง เนื่องจาก
อาการทางทวารหนักอักเสบและอาจมีแผลตื้น ๆ ควรให้ยาระงับอาการปวดเบ่งและยาปฏิชีวนะ
1.5 กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำให้ปัสสาวะบ่อยและแสบขัด อาจมีเลือดปนปัสสาวะออกมา
ให้การรักษาโดยให้ยาระงับการอักเสบและดื่มน้ำมาก ๆ และปัสสาวะทิ้งบ่อย ๆ
1.6 การอักเสบของผิวหนังบริเวณที่ถูกแสง อาจเป็นเพียงบริเวณแดง ๆ หรือพองเป็นตุ่มน้ำ
หากมีการติดเชื้อร่วมด้วยอาจกลายเป็นแผล ป้องกันได้โดยพยายามไม่ให้ผิวหนังบริเวณที่ถูกแสงเปียกน้ำ
หรือชื้นแฉะ รักษาความสะอาด เมื่อมีแผลต้องให้ยารักษาเฉพาะที่และยาปฏิชีวนะ
1.7 ไขกระดูก อาจถูกกดจากรังสี ทำให้ผู้ป่วยซีด และเม็ดเลือดขาวต่ำ ระหว่างการรักษาด้วย
รังสี ควรเจาะเลือดตรวจ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากซีดมากอาจเนื่องจากผู้ป่วยเสียเลือดมานานจากแผลมะเร็ง
ควรให้เลือดทดแทน
2. Late complications เป็นปฏิกริยาหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นการรักษาแล้ว
เป็นระยะเวลาหนึ่ง ส่วนใหญ่มักใช้เวลาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปหลังการรักษา มักจะพบว่าภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง
เกิดบ่อยในช่วงเวลา 12-18 เดือนหลังการรักษา
2.1 การฝ่อตัวของอวัยวะที่ถูกรังสี เช่น มี atrophy ของมดลูก รังไข่ ทำให้ผู้ป่วย
หมดประจำเดือน การฝ่อตัวของผนังช่องคลอดร่วมกับการที่ช่องคลอดไม่ได้ใช้ร่วมเพศ บางรายอาจมี
เลือดออกทางช่องคลอดเนื่องจาก atrophic vaginitis อาจป้องกันได้โดยการใช้ Premarin Vaginal cream
ทาช่องคลอดวันละครั้ง ในกรณีที่ผู้ป่วยอายุน้อย การขาดประจำเดือนก่อนวัย อาจจะมีอาการ Menopausal
syndrome ก็แนะนำให้ใช้ยา Premarin (0.625 mg) รับประทานวันละ 1 เม็ด
2.2 ระบบปัสสาวะ radiation cystitis อาจเกิดได้ตั้งแต่เริ่มการรักษาด้วยรังสี แต่ส่วนใหญ่
มักเกิดหลังการรักษาแล้ว 1-2 ปี อาจมีอาการเพียงปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อหรือออกเป็นเลือด ลิ่มเลือด
ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันของท่อปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะไม่ออก และมีอาการปวดท้องน้อยอย่าง
รุนแรง ถ้าเป็นเพียงปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ ให้การรักษาด้วย prednisolone รับประทานวันละ
30 มิลลิกรัม ร่วมกับยาปฏิชีวนะและดื่มน้ำมาก ๆ หากท่อปัสสาวะอุดตันจากลิ่มเลือด รักษาโดยการทำ
continuous irrigation หากไม่ได้ผลควรล้างกระเพาะปัสสาวะด้วย acetic acid 0.25% หรืออาจใช้ไฟฟ้า
จี้ตำแหน่งที่มีเลือดออก อย่างไรก็ตามการที่มีเลือดออกจากกระเพาะปัสสาวะในระยะนี้ ควรทำ cystoscopy
เพื่อแยกจากแผลของมะเร็ง ถ้ามีการเน่าตายของกระเพาะปัสสาวะ อาจเกิด Vesico-vaginal fistula ควรทำ
ureterostomy นอกจากนี้ ถ้า ureter ถูกรังสีมากเกินไป อาจเกิด fibrosis รัดตัว ureter และเนื้อเยื่อข้างเคียง
ทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะน้อย และตามมาด้วยภาวะ Hydronephrosis และมี renal failure ในที่สุด อาจแก้ไข
ได้โดยการทำผ่าตัด เลาะ fibrosis ออก หรือทำ ureterostomy บางครั้งอาจพิจารณาทำ Nephrostomy
ปัจจุบันนี้ ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากการรักษาด้วยรังสีน้อยลง ถ้าควบคุม
ปริมาณรังสีที่จุดต่าง ๆ ให้เหมาะสม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการใช้พลังงานรังสีที่มีอำนาจในการทะลุ
ทะลวงสูง (high energy photon Cobalt-60 และ Linear accelerator) ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น
ปัจจุบันมักเป็นผลมาจากการกำเริบของโรคในอุ้งเชิงกราน (Pelvic recurrence)
2.3 ลำไส้ใหญ่ การเกิด radiation proctitis อาจเกิดได้ภายหลังหยุดการรักษาตั้งแต่ 6 เดือน
พบภาวะแทรกซ้อนนี้บ่อยที่สุด33 (รูปที่ 2) ควรทำ sigmoidoscopy เพื่อแยกจากแผลมะเร็งและโรคบิด ผู้ป่วย
มีอาการถ่ายอุจจาระบ่อยเป็นมูกเลือดปน หรืออาจเป็นเลือดสด ๆ ให้การรักษาโดยให้ยาคลายการเกร็งตัว
ของลำไส้ อาจใช้ steroid โดยใช้ prednisolone รับประทานวันละ 30 มิลลิกรัม หรือให้การรักษา โดยใช้
prednisolone 60 มิลลิกรัม บดละเอียดแล้วละลายในน้ำ สวนเก็บทางทวารหนักวันละครั้ง จะช่วยบรรเทา
อาการต่าง ๆ ได้ดี หากเป็นมาก การรักษาดังกล่าวไม่ได้ผล ควรพิจารณาทำ colostomy นอกจากนี้อาจมี
ภาวะ fibrosis ของ rectum ทำให้เกิด rectal stricture ถ่ายอุจจาระลำบากมาก และเกิดการเน่าตายของ
ผนังลำไส้ ก่อให้เกิดภาวะ recto-vaginal fistula เกิดมีอุจจาระออกมาทางช่องคลอด ทั้ง 2 กรณี
ควรพิจารณาทำ colostomy
2.4 กระดูกที่ถูกรังสี เช่น head of femur อาจมีการเน่าตาย osteoradionecrosis และหักได้
แต่ภาวะนี้แทบจะไม่พบแล้วหลังการใช้ megavoltage radiation
2.5 Lymphatic obstruction เกิดบริเวณอุ้งเชิงกราน และต้นขา ทำให้มีการบวมของขา
ภาวะนี้ถ้าเกิดขึ้นแล้วแก้ไขไม่ค่อยได้ เช่นเดียวกันในปัจจุบันนี้พบน้อยมาก
2.6 ผนังหน้าท้องส่วนล่างและบริเวณ mons pubis ที่ถูกรังสี บวมหนาร่วมกับมี fibrosis
ทำให้บางครั้งมีอาการปวดตึงท้องน้อย แก้ไขไม่ค่อยได้เช่นกัน
ภาวะแทรกซ้อนทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว เกิดขึ้นได้ประมาณ 25-50% ของผู้ป่วย แต่จะมีระดับ
ของความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันไป แต่โดยทั่ว ๆ ไป จะพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง (severe หรือ
serious หรือ Grade III complications) อยู่ในอัตรา 3-5% เท่านั้น 18,33,35 ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Grade I
complications
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการรักษา สามารถแบ่งแยกตามระดับความรุนแรงของอาการได้
โดยอาจใช้ตาม RTOG toxicity criteria36 หรือ Kottmeier grade 37 ดังนี้คือ
Grade I :- mild symptoms, no specific treatment needed
Grade II :- repeated symptoms, need medication/replacement therapy or admission
Grade III :- severe complication or life-threatening complications or need surgical
treatment


[Previous]

ผลการรักษาด้วยรังสี

[Next]

การดูแลผู้ป่วยภายหลังการรักษาด้วยรังสี

[Up]

รังสีรักษา (Radiation Therapy)

[Home]

Home Page

Last modified on 25 October 1996