Radiation Oncology Chulolongkorn University

Carcinoma of the cervical stump


[Previous Page][Next Page][Up][Home Page]


ปัจจุบันนี้ ในทางปฏิบัติทางนรีเวชวิทยา การทำผ่าตัด แบบ subtotal hysterectomy มีน้อยมาก
ทำให้การวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งที่ cervical stump แทบจะไม่พบเลย
ถ้าทำการผ่าตัด Subtotal hysterectomy สำหรับภาวะเนื้องอกธรรมดา แล้วมากกว่า 2 ปี จึงเกิด
อาการและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งที่ปากมดลูก เราตั้งสมมติฐานว่า การผ่าตัดนั้นไม่ได้ทำในขณะ
ที่มีมะเร็งอยู่ เรียกมะเร็งในภาวะนี้ว่า Carcinoma of the true cervical stump แต่ถ้าหากวินิจฉัยว่าเป็น
มะเร็งที่ปากมดลูกหลังการทำผ่าตัดไม่ถึง 2 ปี เชื่อว่าการทำผ่าตัดนั้นทำในขณะที่มีมะเร็งเกิดขึ้นแล้ว
เรียกภาวะนี้ว่า Carcinoma of the Co-incidental cervical stump ถือว่าการทำผ่าตัดนั้นไม่สมบูรณ์ มีผล
ทำให้การพยากรณ์โรคของผู้ป่วยเลวลง แต่ก็อาจมีบางสถาบันที่ถือระยะเวลาก่อนหรือหลัง 3 ปี
จากการทำผ่าตัดเป็นตัวแบ่งภาวะทั้ง 2 นี้ 42 สำหรับการแบ่งระยะของโรคให้ถือตามการแบ่งโดยทั่ว ๆ ไป
การรักษา เนื่องจากตัวมดลูกถูกตัดออกไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถที่จะใส่แร่เข้าไปในโพรงมดลูกได้
หรือถ้าจะใส่แร่ในโพรงมดลูกก็มักจะใส่ได้ความลึกไม่เกิน 2 เซนติเมตร ซึ่งปริมาณรังสีที่ได้รับก็จะมากกว่า
การใส่แร่เฉพาะ แต่ในช่องคลอดอย่างเดียวไม่มากนัก เป็นผลให้บริเวณ parametrium ได้รับปริมาณรังสี
น้อยลงจากการใส่แร่แบบนี้ ดังนั้นจึงต้องพิจารณาให้การฉายรังสีจากภายนอกด้วยปริมาณรังสีที่สูงขึ้น
และเพิ่มปริมาณรังสีไปที่ parametrium โดยการใช้ midline shield
โดยทั่วไปนิยมให้การรักษาด้วยการฉายรังสีจากภายนอก (external pelvic irradiation)
ขนาด 4,500-5,000 cGy ในเวลา 5-5ฝ สัปดาห์ แล้วตามด้วยการใส่แร่ให้ปริมาณรังสีที่ point A 3,000 cGy
และเพิ่มปริมาณรังสีไปที่ parametrium (midline shield) อีก 1,000-1,500 cGy ในรายที่เป็น advanced stage
ผลการรักษา อัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี หลังการรักษาของผู้ป่วย carcinoma of the true cervical
stump นั้น ใกล้เคียงกับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกทั่ว ๆ ไป 42 แต่ถ้าเป็น carcinoma of the Co-incidental
cervical stump นั้น การพยากรณ์โรคเลวกว่ามาก Fricke และ Decker 43 พบมีอัตรารอดชีวิตที่ 5 ปี
เพียง 30% (4/13 ราย) เท่านั้น


[Previous]

การดูแลผู้ป่วยภายหลังการรักษาด้วยรังสี

[Next]

มะเร็งปากมดลูกในขณะตั้งครรภ์

[Up]

รังสีรักษา (Radiation Therapy)

[Home]

Home Page

Last modified on 25 October 1996