Radiation Oncology Chulolongkorn University

Patterns of failure


[Previous Page] [Next Page] [Up] [Home Page]


จากข้อมูลต่าง ๆ ที่สะสมมาทั้งจากทางคลีนิคและจากการทำผ่าตัดตรวจศพผู้เสียชีวิตพบว่าปัญหาการกำเริบของโรคเฉพาะที่ เป็นปัญหาสำคัญอันหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการทำผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (rectal cancer) โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ใต้ต่อ peritoneal reflection โดยพบว่าจะมีการกำเริบของโรคในอุ้งเชิงกราน (pelvic recurrences) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายระยะ Dukes’B2 25% - 30% และสูงถึง 40% - 80% ในระยะ Dukes’C หลังจากการทำผ่าตัดอย่างเดียว4-8 เหตุผลสำคัญที่ทำให้มีการ
กำเริบของโรคสูง เนื่องมาจากลักษณะของอุ้ง เชิงกรานซึ่งแคบ การทำผ่าตัดเพื่อให้ได้ขอบเขตที่ห่างจากตัวก้อนมะเร็งอย่างเพียงพอ (wide radial margin) นั้นทำได้ยาก เนื่องจากก้อนมะเร็ง มักจะอยู่ชิดติด
กับขอบของโครงกระดูกเชิงกราน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการกำเริบของโรคในอุ้งเชิงกรานสูง จึงได้มีการนำ วิธีการฉายรังสี อาจจะเป็นการฉายรังสีก่อนหรือหลังจากการทำผ่าตัด จุดประสงค์เพื่อที่จะกำจัดเซลล์มะเร็งขนาดเล็ก ๆ ที่อาจหลงเหลืออยู่ (eradicate residual microscope disease)
ส่วนผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (colonic cancer) ซึ่งตัวมะเร็งอยู่เหนือต่อ peritoneal
reflection ถ้าสามารถทำผ่าตัดตัวก้อนมะเร็ง (resectable cancer) ออกไปได้หมด โอกาสของการกำเริบของโรคเฉพาะที่ (local recurrence) จะเกิดขึ้นน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย คือจะพบได้เพียง 3% - 12% เท่านั้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่ขณะเดียวกันจะพบว่ามีการแพร่กระจายของโรคไปทางกระแสเลือดได้มาก โดยเฉพาะการแพร่กระจายไปที่ตับ(9-11)


[Next] Adjuvant Postoperative Irradiation
[Up] Postoperative Adjuvant Irradiation for Rectal
[Home] Home Page

Last modified on 25 October 1996