Radiation Oncology Chulolongkorn University

Adjuvant Postoperative Irradiation


[Previous Page] [Next Page] [Up] [Home Page]


เนื่องจากการทำผ่าตัดอย่างเดียวในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วน rectum กลุ่มซึ่งเป็น High risk
(Dukes’ B2 และ C) จะพบว่ามี local pelvic recurrence สูง ดังนั้นจึงได้มีการนำรังสีรักษา ซึ่งอาจจะร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดด้วยมารักษาเสริมกับการทำผ่าตัด จากการรักษาร่วมกันดังกล่าว ทำให้สามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้น ปัญหาการกำเริบของโรคเฉพาะที่และการแพร่กระจายของโรคลดลง และสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย
จากรายงานการศึกษาของสถาบันต่าง ๆ ในผู้ป่วยกลุ่ม high risk ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วน
rectum การให้ postoperative irradiation ด้วยปริมาณรังสี 45-55 Gy, 1.8-2 Gy fraction ในระยะเวลา
5 1/2 - 6 สัปดาห์ พบว่าสามารถลดการกำเริบของโรคเฉพาะที่จาก 35% - 50% ในการทำผ่าตัดอย่างเดียว ลงเหลือ 10% - 20%11-14 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะสามารถลดอัตราการกำเริบของโรคเฉพาะที่ลงได้
ก็ยังมีการแพร่กระจายของโรคเกิดขึ้น 25% - 30% จึงทำให้ในระยะหลังนี้มีการทำการศึกษาการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัด (5FU base) ร่วมกับการฉายรังสี (simultaneous chemoradiation) และพบว่ามี
แนวโน้มในการควบคุมโรคเฉพาะที่และมีอัตราการปลอดโรค (disease-free survival ที่ดีขึ้น


[Previous] Patterns of failure
[Next] Postoperative Irradiation with or without Chemothe
[Up] Postoperative Adjuvant Irradiation for Rectal
[Home] Home Page

Last modified on 25 October 1996