Radiation Oncology Chulolongkorn University
Postoperative Adjuvant Irradiation for Rectal
ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (rectum) แม้ว่าจากการทำผ่าตัดแล้ว พบว่าสามารถตัดเอา
ก้อนมะเร็งออกไปได้ทั้งหมด (complete resection) ก็ตาม ยังพบว่ามีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งมีการกำเริบของโรค
เฉพาะที่และมีการแพร่กระจายของโรคไปยังอวัยวะต่าง ๆ ทำให้โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยลดน้อยลง
หากรักษาด้วยวิธีการทำผ่าตัดเพียงอย่างเดียว ผู้ป่วยในกลุ่มที่ถือว่ามีอัตราเสี่ยงสูง (high risk group)
ในการกำเริบของโรค คือ กลุ่มที่มีมะเร็งปฐมภูมิลุกลามออกมานอกผนังของลำไส้ใหญ่ หรือมีการแพร่
กระจายของมะเร็งมาที่ต่อมน้ำเหลือง หรือมีทั้ง 2 กรณีร่วมกัน (Astler-Coller B2 และ C2 หรือ Modified Astler-Coller B2-3, C1-3 หรือตาม UICC T3 T4 N0 และ T1-4, N1-3) ดังนั้นการรักษาผู้ป่วย
กลุ่มซึ่งมีอัตราเสี่ยงสูง (resectable high risk cancer) นี้ จึงจำเป็นต้องลดอุบัติการของการกำเริบของโรค
เฉพาะที่และการแพร่กระจายของโรคลง เพื่อให้มีอัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
ในปี ค.ศ. 1990 สถาบันสุขภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประชุมเกี่ยวกับการรักษาเสริม (adjuvant treatment) ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งของลำไส้ใหญ่ 1 โดยเน้นถึงการรักษาเสริมในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วน rectum ซึ่งจะต้องพิจารณาประเมินผลของการรักษา 3 ด้าน คือ
1. อุบัติการของการกำเริบของโรคเฉพาะที่ (Local or Pelvic recurrence)
2. อัตราการปลอดโรค (disease free survival)
3. อัตราการรอดชีวิต (overall survival)
จะเห็นว่าการเน้นถึงอุบัติการของการกำเริบของโรคเฉพาะที่นั้น ตั้งอยู่บนเหตุผลที่ว่าการกำเริบของโรคเฉพาะที่ก่อให้เกิดความรู้สึกที่ผิดปกติ 2(morbidity) และยากต่อการทำการรักษา เพื่อหวังผลให้
หายขาด3 ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 6-12 เดือน และอยู่ด้วยความทุกข์ทรมานหลังจากมีโรคกำเริบในอุ้งเชิงกราน ส่วนการแพร่กระจายของโรค (distant metastasis) จะก่อให้เกิด morbidity ในช่วงระยะเวลาที่สั้นกว่าเมื่อเทียบกับ local recurrence2
Patterns of failure
Adjuvant Postoperative Irradiation
Postoperative Irradiation with or without Chemothe
Complications and Therapeutic Ratio
Conclusion
Future Possibilities
References
Last modified on 25 October 1996