Radiation Oncology Chulolongkorn University

Combined Pre and Postoperative Radiation


[Previous Page] [Next Page] [Up] [Home Page]


มีหลายสถาบันที่เลือกใช้การฉายรังสีก่อนการทำผ่าตัด โดยใช้แบบ low dose คือให้ปริมาณรังสี
500-2,000 cGy แล้วจึงทำการผ่าตัด หลังจากนั้นก็จะให้การฉายรังสีเพิ่มเติมอีกแบบ High dose postoperative radiation ถ้าพบว่าผู้ป่วยดังกล่าวเป็นกลุ่มซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการกำเริบของโรคเฉพาะที่สูง
(stage B2 และ C)
ที่ The Thomas Jefferson University Hospital37 ได้ใช้การฉายรังสีก่อนการทำผ่าตัดด้วย low dose ปริมาณรังสี 500 cGy เพียงครั้งเดียว และตามด้วยการฉายรังสีหลังจากทำการผ่าตัดแล้วอีก 4,500 cGy พบว่าผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิต 5 ปี หลังรักษา 91% ในระยะ A และ B1, 72% ในระยะ B2 และ C
ซึ่งสูงกว่าผู้ป่วยที่รักษาโดยใช้การฉายรังสีแบบ low dose ก่อนการทำผ่าตัดหรือทำผ่าตัดอย่างเดียว โดยพบว่ามีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี เท่ากับ 52% และ 34% ตามลำดับ
นอกจากนี้ยังมีรายงานจาก MGH38 และ MSKCC39 ที่ทำการศึกษาเช่นเดียวกัน แล้วปรากฏว่าสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย หรือการศึกษาจาก RTOG/ECOG40 ที่เป็น randomized study
โดยเปรียบเทียบการใช้ combined pre และ postoperative radiation เช่นกับที่ Jefferson ใช้อยู่ กับการฉาย
รังสีหลังผ่าตัดอย่างเดียว ซึ่งผลในระยะเบื้องต้นที่ 3 ปี พบว่ามีอัตราการควบคุมโรคเฉพาะที่ดีขึ้น 10%
คือ 79% และ 69% ตามลำดับ แต่ไม่มีความแตกต่างของอัตราการแพร่กระจายของโรค (distant metastasis) และมีอัตราการรอดชีวิตที่ดีขึ้น (75% VS 68%) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามคงจะต้องติดตามผลการรักษาต่อไปให้ยาวนานขึ้น เพื่อที่จะสามารถยืนยันให้แน่ชัดว่ามีประโยชน์ต่อทั้งการควบคุมโรคเฉพาะที่และอัตราการรอดชีวิตอย่างใดหรือไม่
The Thomas Jefferson University Hospital (TJUH) ได้มีการเสนอแนวทางการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วน rectum ที่น่าสนใจ โดยมีการจัดแบ่งผู้ป่วยออกตาม clinical staging ดังแสดงในตารางที่ 7 โดยให้ความสำคัญของก้อนมะเร็งนั้น ว่ามีการเคลื่อนที่หรือเกาะติดกับอวัยวะข้างเคียง (mobility/fixation)
เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญทางคลีนิคว่าจะเลือกใช้วิธีการฉายรังสีแบบใดและให้ปริมาณรังสีสูงมากน้อยเพียงใด
ซึ่งได้แสดงดังรูปที่ 1
โดยที่ผู้ป่วยซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่ดี (favorable) คือตัวมะเร็งไม่เกาะติดกับอวัยวะอื่นและมีการเคลื่อนตัวของก้อนมะเร็งได้ทุกทิศทาง กลุ่มนี้จะใช้การฉายรังสีแบบ low dose ก่อนการทำผ่าตัดโดยใช้ปริมาณรังสี 500 cGy เพียงครั้งเดียว แล้วตามด้วยการทำผ่าตัดทันที ซึ่งจะไม่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระยะของโรค และบางคนเชื่อว่าจะทำให้ความรุนแรงของมะเร็งลดน้อยลง โอกาสที่มะเร็งจะมีการแพร่กระจายขณะทำผ่าตัดก็จะลดลงด้วย และถ้ารายงานของผลชิ้นเนื้อว่าเป็นระยะ Dukes’A และ B1 ก็ไม่ต้องให้การรักษาเพิ่มเติม แต่ถ้าหากเป็นระยะ Dukes’B2 และ C ก็พิจารณาให้การฉายรังสีเพิ่มอีก 4,500 cGy ในระยะเวลา 5 สัปดาห์ (selective postoperative radiation)


ตารางที่ 7 Clinical Classification of Rectal Cancer (TJUH)


Stage I Mobile Free movement in all direction
Stage II Partially fixed Movable in at least one direction
Stage III Fixed Immovable in any direction due to fixation or perforated, obstructed, deeply ulcerated
Stage IV Frozen pelvs Invasion of pelvic ide walls and/or sacrum-unresectable


รูปที่ 1 Thomas Jefferson University Hospital schema for management of rectal cancer


[Previous] Preoperative radiation and chemotherapy
[Next] Conclusion
[Up] Preoperative Radiotherapy in Rectal Adenocarcinoma
[Home] Home Page

Last modified on 25 October 1996