Radiation Oncology Chulolongkorn University

Preoperative Radiotherapy in Rectal Adenocarcinoma


[Previous Page][Next Page][Up][Home Page]


เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า วิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
(rectum) คือ การทำผ่าตัด ส่วนวิธีการรักษาเสริมอื่น ๆ (adjuvant therapy) ซึ่งอาจจะเป็นการใช้วิธีการฉายรังสี และ/หรือการให้ยาเคมีบำบัดนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอุบัติการการกำเริบของโรคให้น้อยลง และ เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย นอกจากนี้อาจจะสามารถเปลี่ยนวิธีการทำผ่าตัดแบบ abdomino
perineal resection ซึ่งผลคือผู้ป่วยต้องขับถ่ายอุจจาระทางหน้าท้องอย่างถาวร มาเป็นการทำผ่าตัดแบบ
สงวนหูรูดของทวารหนัก (sphincter - sparing) ซึ่งจะสามารถขับถ่ายอุจจาระออกทางทวารตามปกติ โดยวิธีการรักษาแบบนี้ จะต้องคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นจากการรักษา ทางด้านอัตราการรอดชีวิต, ภาวะแทรกซ้อน, ความสะดวกความยากง่ายและค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาร่วมกันไปด้วย
ต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงการฉายรังสีก่อนการทำผ่าตัด (preoperative irradiation) ซึ่งเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้เสริมการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วน rectum
ในการให้ preoperative irradiation นั้นจะมีข้อดีและข้อเสีย เมื่อเปรียบเทียบกับข้อดีและข้อเสีย
ของการให้ postoperative irradiation ดังแสดงในตารางที่ 1 และ 2 คือ


ตารางที่ 1 Advantages and Disadvantages of Preoperative Irradiation


Advantages

Disadvantages

1. Reduction of tumor size and improved resectabiligy

1. Unnecessary for early tumors or tumors already spread to distant tissues

2. Decreased local-regional tumor recurrence

2. Delay in surgical resection

3. Control of tumor in the lymph nodes

3. May delay in wound healing

4. Decreased viability of tumor cells that may spread at the time of surgery

 

5. Fewer small bowel adhesions and less late small bowel injury

 


ตารางที่ 2 Advantages and Disadvantages of Postoperative Irradiation


Advantages

Disadvantages

1. Better selection of patients based on surgical pathologic findings

1. Radiosensitivity of the tumor may be less than the preoperative condition

2. Decreased local-regional tumor recurrence

2. No effect on cells that may spread at the time of surgery

3. Control of residual local-regional tumor

3. No improved resectability of locally unresectable tumors

4. Identification of high-risk areas

4. More small bowel problems because of adhesions and fixed bowel after surgery


มีการศึกษาวิจัยทางคลีนิคเกี่ยวกับการใช้ Preoperative irradiation ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วน rectum ทั้งที่เป็น non-randomized และ randomized trial อยู่มากพอสมควร ซึ่งจากการศึกษาส่วนใหญ่พบว่าการให้ preoperative irradiation สามารถจะลดอุบัติการแพร่กระจายของโรคไปที่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงให้น้อยลง มี pathologic complete response ของมะเร็งปฐมภูมิได้ประมาณ 5%-10%
ที่สำคัญคือลดการกำเริบของโรคเฉพาะที่ลงเหลือประมาณ 5%-20% และมีบางรายงานพบว่าสามารถ
เพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้ด้วย โดยจะแบ่งกล่าววิธีการของ preoperative irradiation ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วน rectum ดังนี้คือ

Low dose Preoperative Irradiation

Moderate Dose Preoperative Irradiation

High Dose Preoperative Irradiation

High-Dose Radiation and Sphincter Preservation

Toxicity

Preoperative radiation and chemotherapy

Combined Pre and Postoperative Radiation

Conclusion

References


[Previous]

Postoperative Adjuvant Irradiation for Rectal

[Up]

มะเร็งลำไส้ใหญ่

[Home]

Home Page

Last modified on 25 October 1996