<< พระเบ็ญจภาคี ยอดปรารถนาของผู้นิยมในพระเครื่อง>>
HOME |
 
 
พระรอดมหาวัน

สร้างประมาณ พ.ศ. ๑๒๐๐ ผู้สร้างคือ พระนางจามเทวี ราชธิดาของพระจ้ากรุงละโว้(ลพบุรี)ผู้ซึ่งครองทศพิธราชธรรมอย่างเคร่งครัด เช่นนี้ จึงเป็นที่โสมนัสของ ๒ ฤาษี คือ สุกกทันต์ฤาษี และวาสุเทพฤาษี เพื่อเป็นการเสริมสร้างพระเกียรติให้กับพระนาง จึงใช้วิชาอาคมของท่านสร้างพระรอด จนเป็นที่กล่าวขานมาถึงทกวันนี้ (กว่า ๑ ,๓๐๐ ปีมาแล้ว) พระรอด เป็นชื่อที่เรียกผิดเพี้ยนมาจาก พระนารอท หรือ พระนารทะ ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นพระนามสำคัญอันปรากฏให้เห็นในตำนานพุทธศาสนา หลายครั้งหลายครา เช่น เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ใน บทอาฎาฎิปริต เป็นพระนามของพระโพธิสัตว์ ใน พรหมนารทชาดก และนามของบุตรพระโพธิสัตว์ ใน นิบาตชาดก เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังปรากฎในคัมภีร์ของพรามณ์

พระรอด นับได้ว่าเป็นเพชรน้ำเอกของนครหริภุญชัย เป็นพระเครื่องคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดลำพูนที่มีอายุการสร้างกว่า ๑๐๐๐ ปี " วัดมหาวัน" เป็นหนึ่งในสี่พระอารามหลวงที่สำคัญยิ่ง โดย "พระนางจามเทวี" ผู้ครองนครหริภุญชัยได้โปรดให้สร้างขึ้นไว้เมื่อ พ.ศ.๑๒๒๓ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองลำพูน นับเป็นพระอารามแห่งเดียวที่มีการขุดพบปฏิมากรรม

ของขลังขนาดเล็กที่เต็มไปด้วยความอลังการจากฝีมือช่างยุคนั้นพุทธลักษณะของพระรอด เป็นศิลปแบบลพบุรียุคต้น เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผามีสีแดง สีเหลือง สีขาวนวล และสีเขียวคราบแดง

พระรอด วัดมหาวัน มีพระพุทธศิลป์เป็นยุคสมัยทวาราวดี ประทับนั่งปางมารวิชัยและขัดเพชรบนฐานบัว ๒ ชั้น ด้านหลังขององค์พระเป็นปรกโพธิ์เรียงตั้งแต่หัวเข่าขององค์พระขึ้นเป็นซุ้มครอบองค์พระ จำนวนใบโพธิ์และเอกลักษณ์ของ ก้านโพธิ์ที่ชัดเจนในแต่ละพิมพ์จะมีจำนวนไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระรอดในแต่ละพิมพ์