Department of English

Faculty of Arts, Chulalongkorn University


2202124  Introduction to Translation

 

Informative Text (Thai-English) Discussion

The translations given on this page are neither comprehensive nor definitive.  They are here to give you an idea of the range of possibilities and to spark discussion.  Suggestions and comments are welcome.

 

Translate the following into English.


นกปรอดหัวโขนเป็นนกตัวเล็ก ๆ หน้าตาหน้ารักน่าเอ็นดู  มีจุกตั้งอยู่บนหัวสีดำเหมือนสวมหัวโขน  ส่งเสียงร้อง “วิด วิด ปิ๊ดจะลิว” สดใสไพเราะกังวาน อันเป็นที่มาของชื่อพื้นถิ่นล้านนาว่า “นกปิ๊ดจะลิว”

แต่วันนี้กระแสความนิยมเลี้ยงและแข่งขันเสียงร้อง “นกกรงหัวจุก” แพร่ระบาดอย่างหนักไปทั่วทุกภาค  ความต้องการของตลาดเร่งให้มีการดักจับนกในธรรมชาติและขนย้ายมาขาย จนประชากรนกปรอดหัวโขนในธรรมชาติเหลือเพียงเศษเสี้ยวของที่เคยมี

การอนุรักษ์นกปรอดหัวโขนในธรรมชาติมีความสำคัญยิ่ง เพราะมันมีบทบาทอย่างโดดเด่นในระบบนิเวศ โดยเป็นตัวกระจายพันธ์พืชและช่วยฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม

 

 

Translation 1: Sample for Discussion


The red-whiskered bulbul is a cute little bird with an adorable tuft on its head like it is wearing a headdress. Its clear melodious call, “kink-kink-a-joo,” led to its being named by Lanna locals the pidjaloo.

Today, however, a wave of enthusiasm to keep and train the “crested-head cagebird” for singing competitions has swept the country, encompassing all its regions. This demand has resulted in increased trapping of the wild birds and displacing them to be sold, bringing the natural red-whiskered bulbul population down to only a fraction of what it once was.

Preservation of this key ecological player is very important as these birds help disseminate plants and restore depleted forests.


 

 

Translation 2: Sample for Discussion




 

 

Reference


 


 

Discussion


red-whiskered bulbul
Red-whiskered bulbul, TrekNature 

 



 

Source

"กรง ไม่ใช่บ้าน," สารคดีพิเศษ ฉบับ ๓๒๐, นิตยสารสารคดี, 25 Oct. 2011.


กรงไม่ใช่บ้าน  A CAGE IS NO HOME

นกปรอดหัวโขน (Red Whiskered Bulbul) เป็นนกตัวเล็กๆ หน้าตาน่าเอ็นดู มีจุกตั้งบนหัวสีดำเหมือนสวมหัวโขน ส่งเสียงร้อง “วิด วิด ปิ๊ดจะลิว” สดใสไพเราะกังวาน อันเป็นที่มาของชื่อพื้นถิ่นล้านนาว่า “นกปิ๊ดจะลิว”

ในอดีตนกปรอดหัวโขนพบเห็นได้ทั่วไปแทบทุกภาค มันใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับวิถีชีวิตผู้คนตามแหล่งชุมชน เสียงร้องไพเราะของมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน จนหลายคนเคยชินและอาจมองข้าม

แต่วันนี้กระแสความนิยมเลี้ยงและแข่งขันเสียงร้อง “นกกรงหัวจุก” แพร่ระบาดอย่างหนักไปทั่วทุกภาค

ความต้องการของตลาดเร่งให้มีการดักจับนกในธรรมชาติและลักลอบขนย้ายมาขาย จนประชากรนกปรอดหัวโขนในธรรมชาติเหลือเพียงเศษเสี้ยวของที่เคยมี

การอนุรักษ์นกปรอดหัวโขนในธรรมชาติมีความสำคัญยิ่ง เพราะมันมีบทบาทอย่างโดดเด่นในระบบนิเวศ โดยเป็นตัวกระจายพันธุ์พืชและช่วยฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม

มาช่วยกันเปลี่ยนแปลงค่านิยมการเลี้ยงนกในกรง หันมารักนกโดยไม่ต้องกักขัง สร้างวัฒนธรรมใหม่ที่เคารพในสิทธิและสวัสดิภาพของชีวิตสัตว์ร่วมโลก  เพราะเราไม่ได้อาศัยอยู่และไม่อาจอยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างโดดเดี่ยวลำพัง





 

 


Home  |  Introduction to Translation  |


Last updated March 30, 2022