ระบบปฏิบัติการแบบต่างๆของไมโครคอมพิวเตอร์

CP/M

เป็นระบบปฏิบัติการของไมโครคอมพิวเตอร์ยุคแรกๆ หน้าตาคล้ายๆ DOS (CP/M ย่อมาจาก
Control Program/Microcomputer) ปัจจุบันเลิกใช้กันไปหมดแล้ว
ระบบนี้เป็นระบบตัวอักษร หรือระบบคำสั่ง (command line interface) เนื่องจากการใช้งาน
นั้นผู้ใช้ต้องจดจำคำสั่งต่างๆที่ใช้ในโปรแกรม และสั่งไปเป็นรหัสตัวอักษร

PC-DOS กับ MS-DOS

ระบบนี้เป็นระบบที่เคยใช้แพร่หลายกันมากที่สุด เรียกได้ว่าพัฒนามาจาก CP/M เนื่องจากการติดต่อ
กับผู้ใช้ตลอดจนลักษณะของคำสั่งต่างๆคล้ายคลึงกัน ระบบนี้จึงเป็นแบบระบบคำสั่งเช่นเดียวกัน
ชื่อ PC-DOS กับ MS-DOS นี้ใช้เรียกโปรแกรมที่ผลิตโดยบริษัท IBM
และ Microsoft ตามลำดับ
โดย PC-DOS ใช้กับเครื่องของ IBM และ MS-DOS ใช้กับเครื่องที่บริษัทอื่นๆผลิตแต่สามารถ
ใช้งานโปรแกรมแบบเดียวกับเครื่องของ IBM ได้ด้วย เครื่องเหล่านี้จึงได้ชื่อว่า "เข้าได้กับ IBM"
(IBM-compatible) แต่จริงๆแล้วโปรแกรมทั้่งสองนี้แทบจะเรียกได้ว่าเหมือนกันทุกประการ ส่วน
ที่สำคัญที่สุดก็คือว่าเครื่องเหล่านี้ใช้ชิป CPU ของบริษัท Intel ซึ่งเริ่มจากชิปหมายเลข 8088 กับ
8086 สำหรับเครื่องรุ่นแรกสุดในสายนี้ที่บริษัท IBM ผลิต จนกระทั่งในปัจจุบันใช้ชิป Pentium กับ
MMX ที่บริษัท Intel ผลิตอีกเช่นกัน

เนื่องจากเครื่องที่เข้าได้กับ IBM สามารถใช้โปรแกรมของ IBM ได้ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงย่อม
เข้ากันได้ และเนื่องจากเครื่องที่บริษัทอื่นๆผลิตมีมากกว่าของบริษัท IBM ระบบ MS-DOS จึงเป็น
ที่แพร่หลายมาก และทำให้บริษัท Microsoft ผู้ผลิตเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการคอมพิวเตอร์มาจน
ถึงปัจจุบัน

MacOS logo

MacOS

ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง Macintosh ของบริษัท Apple ระบบนี้แตกต่างจากระบบสองระบบ
แรกตรงที่ระบบนี้เป็นแบบติดต่อกับผู้ใช้ด้วยรูปภาพ (Graphical User Interface หรือ GUI)
หมายความว่าการใช้งานระบบแบบนี้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำคำสั่งใดๆไว้ก่อน แต่ผู้ใช้จะเลือกเอาจาก
รายการคำสั่งหรือเมนู เพื่อให้ระบบปฏิบัติการตามคำสั่งนั้น จะเห็นได้ว่าระบบนี้ทำให้การใช้งาน
เครื่องคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้นมาก อย่างไรก็ตามเนื่องจากเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการนี้ได้ในระยะแรก
มีแต่เพียงเครื่องของ Apple เท่านั้น ระบบนี้จึงไม่แพร่หลายเท่า MS-DOS การที่ระบบนี้ใช้ได้
แต่บนเครื่องของ Apple เท่านั้นทำให้ระบบนี้เป็นระบบปิด ซึ่งต่างจาก DOS ที่เป็นระบบเปิด
ซึ่งทำให้ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆสามารถเรียนรู้แนวทางของ DOS เพื่อผลิตเครื่องให้สามารถ
ใช้โปรแกรมนี้ได้ เครื่องแมคอินทอชนี้เคยใช้ชิป CPU ของบริษัท Motorola โดยมีชิปหมายเลข 68000
เป็นชิปรุ่นแรกที่มาพร้อมกับการเปิดตัวของเครื่องแมคอินทอช ชิปรุ่นนี้ก็พัฒนามาอย่างต่อเนื่องและในปัจจุบัน
บริษัท Motorola ได้ร่วมมือกับ Apple และ IBM ผลิตชิปยุคใหม่ขึ้นมาที่มีประสิทธิภาพสูงมากเรียกว่า
PowerPC และในระยะหลังนี้บริษัท Apple ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการนี้ให้เป็น
ระบบเปิด และก็มีบริษัทผลิตเครื่องหันมาผลิตเครื่องที่ใช้ระบบนี้ได้มากขึ้น เช่น Motorola,
Power Computing เป็นต้น

เครื่องแมคอินทอชและระบบ MacOS นิยมใช้ในงานที่ต้องการความละเอียดของรูปภาพสูง
เนื่องจากเครื่องแบบนี้มีความสามารถในการแสดงรูปภาพได้ดีกว่าเครื่องที่ใช้ชิปของ Intel งานที่อาศัย
ความละเอียดสูงมากๆนี้ก็ได้แก่งานตามโรงพิมพ์หรืองานผลิตสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ เช่นงานโฆษณา นอกจากนี้
ก็มีงานที่ต้องอาศัยการคำนวณชั้นสูงและการออกแบบ เช่นออกแบบเครื่องจักร เครื่องยนต์ ออกแบบสิ่ง
ปลูกสร้าง ฯลฯ งานระดับนี้ผู้ใช้มักไว้ใจเครื่องแมคอินทอชทั้งสิ้น

ในปัจจุบัน MacOS รุ่นล่าสุดเรียกว่า MacOS 8 มีประสิทธิภาพต่างๆมากมาย ใครที่อยากเห็นว่าหน้าตาจอภาพของแมคเป็นอย่างไรก็ ดูได้ที่นี่

Windows Logo

Windows 3.1

เป็นระบบแบบ GUI อีกระบบหนึ่งซึ่งมีผู้นิยมใช้กันมาก ระบบนี้ผลิตโดยบริษัท Microsoft ซึ่งผลิตระบบ
DOS นั่นเอง แต่เนื่องจากเห็นว่าระบบ DOS ไม่มีอนาคตจึงผลิต Windows ขึ้นมา อย่างไรก็ตาม
ระบบปฏิบัติการ Windows 3.1 นี้ได้หมดอายุไปแล้ว เนื่องจากถูกแทนที่โดย Windows 95 ซึ่ง
อยู่ในหัวข้อถ้ดไป สาเหตุก็เพราะว่าระบบนี้ยังผูกพันอยู่กับ DOS ค่อนข้างมากและใช้งานไม่ง่าย
เท่าที่ควร อย่างไรก็ตามเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจำนวนมากมายก็ยังใช้ระบบ Windows 3.1
นี้อยู่ ทั้งนี้ก็เพราะว่าการใช้ Windows 95 นั้่นต้องใช้เครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งเครื่องจำนวน
มากที่ใช้งานกันโดยทั่วไปไม่มีประสิทธิภาพเช่นนี้ แต่เครื่องที่ขายกันอยู่ในเวลานี้ ถ้าเป็นเครื่องแบบ
ที่ใช้ชิปของ Intel จะขายควบคู่กับ Windows 95 เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง
ประเภทนี้รุ่นล่าสุด
Windows Logo

Windows 95

เป็นวิวัฒนาการขั้นต่อมาของ Windows 3.1 มีประสิทธิภาพเกือบเท่าระบบ MacOS 8 ของเครื่อง
แมคอินทอช ระบบนี้เป็นระบบล่าสุดหรือระบบปัจจุบันของเครื่องที่ใช้ชิปของ Intel มีลักษณะ
เป็น GUI ที่สมบูรณ์ คือผู้ใช้ไม่ต้องกลับไปหาโปรแกรม DOS อีกเลยในการใช้ระบบปฏิบัติการนี้ ซึ่ง
ทำให้การใช้งานง่ายขึ้นมาก เครื่องที่นิสิตใช้อยู่ในศูนย์คอมพิวเตอร์ก็ใช้ระบบปฏิบัติการนี้เป็นส่วนใหญ่

ระบบปฏิบัติการนี้มีลักษณะพิเศษคือ เป็นระบบ GUI ที่สมบูรณ์มากกว่า Windows 3.1 กล่าวคือ
ไม่ได้วางอยู่บนระบบ DOS อีกทอดหนึ่ง แต่เป็นระบบปฏิบัติการเต็มรูปในตัวมันเอง อย่างไรก็ตาม
ผู้ใช้ยังสามารถใช้โปรแกรมสำหรับ DOS และ Windows 3.1 บน Windows 95 ได้อยู่เนื่องจาก
มีการใส่ชุดคำสั่งพิเศษให้ทำเช่นนี้ได้ ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือว่า Windows 95 มีคุณสมบัติที่
เรียกว่า Plug and Play หมายความว่าโปรแกรมจะรู้เองโดยอัตโนมัติว่า เครื่องคอมพิวเตอร์มี
ส่วนประกอบอะไรบ้าง และจัดการระบบทั้งหมดให้เป็นไปตามนั้น ซึ่งลักษณะเช่นนี้ระบบ MacOS มี
มานานแล้ว คุณสมบัติเช่นนี้ทำให้การทำงานกับเครื่องง่ายขึ้นมาก

OS/2

บริษัท IBM พัฒนาระบบนี้ขึ้นมาสำหรับเครื่องรุ่น PS/2 ในปีค.ศ. 1987 แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก
เพราะต้องแข่งขันกับระบบของ Microsoft โดยเฉพาะ Windows ล่าสุดนี้บริษัท IBM ได้ออก
OS/2 รุ่นล่าสุดเรียกว่า OS/2 Warp 4 ซึ่งอ้างว่ามีประสิทธิภาพมากกว่า Windows 95 มาก ดังนั้น
จึงเห็นได้ว่าสำหรับเครื่องที่ใช้ชิปของ Intel แล้วมีระบบปฏิบัติการที่แข่งขันกันและให้ผู้ใช้ตัดสินใจ
เลือกอยู่สองระบบนี้เอง

[กลับไปหน้าก่อนนี้] [กลับไปหน้าเริ่มต้น] [ไปหน้าต่อไป]