จิตวิทยาในการใช้ส
แม้ว่าจะมีทฤษฎีเกี่ยวกับสีอย่างมากมาย แตกต่างกันไปตามลักษณะ แต่คุณค่าเฉพาะของแต่ละสีย่อมจะเป็นตัวแทนของอารมณ์ต่าง ๆ ในวัตถุที่มีสีปรากฏขึ้นในตัว เมื่อสายตาได้สัมผัสจะเห็นความแตกต่างหลากหลายและสีในวัตถุ ย่อมเกิดความรู้สึกต่าง ๆ ได้แก่ ตื่นเต้น อ่อนหวาน อบอุ่น ฯลฯ การมีความรู้ประสบการณ์ในการเลือกใช้สีของนักออกแบบจึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เอกสารเหล่านั้นบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ไม่ยากนัก การเรียนรู้ถึงอิทธิพลสีที่มีต่อความรู้สึกของการมองแต่ละสี จึงเป็นสิ่งที่น่าศึกษายิ่ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
สีแดง
เป็นสีของไฟ การปฎิวัติ วามรู้สึกทางกามรมณ์ ความปรารถนา สีของความอ่อนเยาว์ จึงเป็นที่ชอบมากสำหรับเด็กเล็ก ๆ ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นสีของฉากหลังเพราะจะมีอิทธิพลบดบังสีอื่น
สี น้ำเงิน
เป็นสีที่เก็บกด ช่างฝัน เปล่าเปลี่ยว ถึงแม้ว่าจะทำให้ใสขึ้นโดยการผสมสีขาวลงไปก็ตาม สีน้ำเงินเป็นสีที่ให้ความประทับใจเกี่ยวกับความสะอาดบริสุทธิ์ จึงมักใช้ในที่ ๆ ต้องการแสดงสุขอนามัย
สีเขียว
เป็นสีทางชีววิทยา ซึ่งใกล้เคียงกับธรรมชาติ และช่วยให้ความคิดพลุ่งพล่านสงบลง เป็นสีกลาง ๆ ไม่เย็นไม่ร้อน แต่ถ้าเข้มไปทางสีน้ำเงินจะดูเป็นน้ำ สีเขียวอมฟ้า สีฟ้าพลอยเป็นสัญลักษณ์ของน้ำและอาการเคลื่อนไหว
สีม่วง
แสดงถึงความรู้สึกใคร่ครวญ การทำสมาธิ ความลึกลับ ความเก่าแก่โบราณ สีม่วงครามซึ่งใกล้เคียงกับสีน้ำเงินมากจะดูเกี่ยวข้องกับโลกมากกว่าสีม่วงแดง
สีทอง
มีตำแหน่งใกล้เคียงกับสีส้ม นับว่าเป็นสีอุ่นอีกประเภทหนึ่ง ในขณะที่สีเงินจัดให้อยู่ในสีเย็น และมีความคล้ายคลึงกับสีเทากลาง การใช้สีเงินออกจะยากกว่า เนื่องจากต้องมีสีอุ่นเข้ามาใช้ด้วยหากว่าต้องการผลของความรู้สึกในทางบวก
สีดำ
สีดำซึ่งเรียกว่า "อรงค์" คือถือว่าไม่ใช่สีดำ เป็นสัญลักษณ์ของความมืด ความว่าง ในการตีพิมพ์สีดำมีค่าทางบวกมาก เนื่องจากเมื่อเราใช้สีอื่น ๆ ไม่ว่าภาพหรือตัวอักษรลงไปก็จะทำให้สีเหล่านั้นเจิดจ้า สะดุดตา