Radiation Oncology Chulolongkorn University

Postoperative Irradiation with or without Chemothe


[Previous Page] [Next Page] [Up] [Home Page]


ต่อไปนี้จะขอกล่าวถึง randomized trials ใหญ่ ๆ ที่สำคัญโดยจะสรุปถึงผลการรักษาทางด้าน
patterns of failure (local, distant) และอัตราการรอดชีวิต (disease-free, overall survival)
A) การศึกษาของ The National Surgical Adjuvant Breast and Bowel Program (NSABP)15
ได้แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่ทำผ่าตัดอย่างเดียว (surgery alone)
2. กลุ่มที่ทำผ่าตัดแล้วตามด้วยการฉายรังสีที่อุ้งเชิงกราน (postoperative pelvic irradiation)
ปริมาณรังสี 46 - 47 Gy ใน 25-27 fractions และ
3. กลุ่มที่ทำผ่าตัดและตามด้วยการให้ยาเคมีบำบัด (adjuvant chemotherapy) คือ 5FU,
Me CCNU และ vincristine
จากผลการศึกษานี้ พบว่ากลุ่มที่ได้ adjuvant chemotherapy มี disease-free survival ที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ทำผ่าตัดอย่างเดียว (P=.006) แต่ไม่ได้ประโยชน์ต่อการควบคุมโรคเฉพาะที่หรือลดอุบัติการของการแพร่กระจายของโรคอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนผลทางด้านอัตราการรอดชีวิต (overall survival) นั้นดูเหมือนว่าจะดีขึ้น (marginal benefit P=.05) ส่วนกลุ่มที่ได้ postoperative pelvic irradiation นั้นพบว่าอัตราการกำเริบของโรคเฉพาะที่ลดลงจาก 25% เหลือ 16% (P=.o6) แต่ไม่มีประโยชน์ต่อการเพิ่มอัตรา
การรอดชีวิต
B) การศึกษาของ GITSG trial 717516,17 ได้แบ่งผู้ป่วยมะเร็งของลำไส้ใหญ่ส่วน rectum ที่เป็น
resectable high risk patients (Dukes’B2, C) ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
1. Surgery alone
2. Surgery plus postoperative irradiation (40-48 Gy)
3. Surgery plus adjuvant chemotherapy (5FU + Me CCNU) และ
4. Surgery plus postoperative irradiation (40-44 Gy)
and chemotherapy (5FU 500 mg/m2 x 3d in week
l + 5 of radiation and followed by 5FU + Me CCNU)
จากการศึกษานี้ พบว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยการฉายรังสี, การให้ยาเคมีบำบัด หรือได้รับทั้ง 2 อย่าง ทุกกลุ่มจะมี disease-free survival ดีกว่ากลุ่มที่ทำผ่าตัดอย่างเดียว แต่มีเพียงกลุ่มที่ได้รับทั้งการฉายรังสีและเคมีบำบัดเท่านั้นที่ได้ ประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ทำผ่าตัดอย่างเดียว คือมีประโยชน์ทั้ง disease-free และ overall survival (P=.009 และ .005) เช่นเดียวกันกับการศึกษาของ NSABP อุบัติการการกำเริบของโรคเฉพาะที่ลดลงในกลุ่มที่ได้รับการฉายรังสี การกำเริบของโรคเฉพาะที่เกิดขึ้นน้อยที่สุดเพียง 11% ในกลุ่มที่ได้ combined postoperative chemotherapy และ radiation ส่วนในกลุ่มที่ได้ adjuvant chemotherapy อย่างเดียว โดยไม่ได้ฉายรังสีมีการกำเริบของโรค
เฉพาะที่สูงที่สุดถึง 27% สำหรับอุบัติการของ Distan failures พบว่าลดลงในกลุ่มที่ได้รับ chemotherapy ฑ radiation เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ chemotherapy
C) การศึกษาของ The Mayo / NCCTG randomized trial (79-47-51)18 การศึกษานี้แบ่งผู้ป่วยที่เป็น resected high-risk patients เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่ใช้ postoperative irradiation โดยให้ปริมาณรังสี 50.4 Gy/28 Fx ในระยะเวลา
5 1/2 สัปดาห์ (1.8 Gy/Fx)
2. กลุ่มที่ให้ adjuvant chemotherapy (5FU + Me CCNU) และตามด้วยการฉายรังสี (เช่นเดียวกับกลุ่มที่ 1) พร้อมกับการให้ 5FU 500 mg/m2 x 3d wk l + 5 ของการฉายรังสี และให้ 5 FU + Me CCNU ต่อหลังจากฉายรังสีครบแล้ว
จากการศึกษานี้ พบว่ากลุ่มที่ได้รับทั้ง chemotherapy และ radiation จะมีการกำเริบของโรคเฉพาะที่และการแพร่กระจายของโรคลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยอัตราการกำเริบของโรคเฉพาะที่เกิดขึ้นเพียง 13.5% และ 25% ในกลุ่มที่ฉายรังสีอย่างเดียว (P=.04) ส่วน distant failures ก็ลดลงจาก 46% เหลือ 29% (P=.0l) สำหรับ disease free และ overall survival ก็เพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ให้ทั้ง chemotherapy/ radiation เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ให้การฉายรังสีอย่างเดียว (59% VS 37%, P=.002; 58% VS 48%, P=.025)
การศึกษาในระยะถัดมาของ GITSG 7180 และ NCCTG 86-47-5l19 แสดงให้เห็นว่า Methyl CCNU ไม่ได้มีประโยชน์เพิ่มเติมเมื่อใช้ร่วมกับ irradiation plus 5FU20 นอกจากนี้ยังพบว่า Methyl CCNU จะเพิ่มอุบัติการการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) ด้วย
แม้ว่าจากการศึกษาต่างๆ เหล่านี้ พบว่าการให้ adjuvant treatment ด้วย radiation และ
chemotherapy สามารถลดอุบัติการกำเริบของโรคเฉพาะที่ ลงได้ประมาณครึ่งหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ
การทำผ่าตัดอย่างเดียวก็ตาม การกำเริบของโรคเฉพาะที่ ก็ยังเกิดขึ้น l0-20%12-14 สิ่งที่เราคาดหวังคือพยายามลดอัตราการกำเริบของโรคเฉพาะที่ ให้เกิดขึ้นไม่เกิน 5% โดยการศึกษาในระยะต่อไป เป็นการเปรียบเทียบวิธีการให้ยา 5FU แบบ Bolus VS continuous infusion, bolus 5FU alone or bolus 5FU plus low dose leucovorin ร่วมกับการฉายรังสี เป็นต้น


[Previous] Adjuvant Postoperative Irradiation
[Next] Complications and Therapeutic Ratio
[Up] Postoperative Adjuvant Irradiation for Rectal
[Home] Home Page

Last modified on 25 October 1996