Radiation
Oncology Chulolongkorn University
Complications
and Therapeutic Ratio
ประโยชน์ที่ได้รับจากการรักษาเสริมนี้
จะต้องคำนึงถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาด้วย
การติดต่อปรึกษาและวางแผนร่วมกันระหว่างศัลยแพทย์
แพทย์เคมีบำบัด
และรังสีแพทย์เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น
นอกจากนี้การใช้เครื่องมือและเทคนิคที่เหมาะสมรัดกุมจะทำให้ภาวะแทรกซ้อน
เกิดขึ้นน้อยที่สุด21-22
จากการศึกษาของ Massachusetts General Hospital (MGH)
ในการให้
postoperative irradiation
ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วน rectum
โดยการใช้ลำรังสีหลาย ๆ ทิศทาง
ร่วมกับการใช้ตะกั่วปิดกั้นอวัยวะที่ไม่จำเป็นต้องถูกรังสี
(multiple field techniques with lead shield)
และให้คนไข้อยู่ในภาวะที่มีน้ำปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะ
(Full bladder) พบว่าอุบัติการของการเกิด
ลำไส้เล็กอุดตัน (small bowel obstruction)
ซึ่งต้องแก้ไขด้วยการทำผ่าตัดใกล้เคียงกันระหว่างการทำผ่าตัดอย่างเดียวกับกลุ่มที่ให้
postoperative irradiation คือ 5% และ 6%
ตามลำดับ12,13,18
แต่ถ้าเป็นกลุ่มที่ได้ทั้ง postoperative
irradiation และ Chemotherapy
อย่างเช่นในการศึกษาของ GITSG และ
Mayo/NCCTG trial18,19
จะพบว่ามีผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการรักษาสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ฉายรังสีอย่างเดียว เช่น
อาการท้องเดินอย่างรุนแรง (severediarrhea)
20% VS 5%, เม็ดเลือดขาวต่ำ (white blood cell
count) <2,000 18% VS 0% เป็นต้น
[Previous] |
Postoperative
Irradiation with or without Chemothe |
[Next] |
Conclusion |
[Up] |
Postoperative
Adjuvant Irradiation for Rectal |
[Home] |
Home Page |
Last
modified on 25 October 1996