Radiation Oncology Chulolongkorn University

High Dose Preoperative Irradiation


[Previous Page] [Next Page] [Up] [Home Page]


คือการฉายรังสีในขนาดที่ > 4,000 cGy ขึ้นไป ซึ่งขนาดของรังสีที่ให้แต่ละครั้งจะอยู่ระหว่าง
180-200 cGy ในทางทฤษฏีแล้ว ปริมาณรังสีขนาดนี้จะสามารถทำให้ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดเล็กลง และกำจัด microscopic cancer cell ที่อยู่ในต่อมน้ำเหลือง ตลอดจนเซลล์มะเร็งขนาดเล็ก ๆ ที่อยู่ลึกในอุ้งเชิงกรานที่การทำผ่าตัดเข้าไม่ถึง อันเป็นความหวังใหม่ว่าจะทำให้มีการควบคุมโรคเฉพาะที่และอัตรา
การรอดชีวิต ที่ดีขึ้นกว่าการใช้ low dose หรือ moderate dose preoperative irradiation
มีรายงานการศึกษาทั้งที่เป็น nonrandomized and randomized studies (ตารางที่ 5) ที่แสดงถึงประโยชน์ของการใช้ high dose preoperative radiation โดยเฉพาะในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วน rectum
ที่เป็น "unfavorable" cancers คือกลุ่มที่มีการลุกลามของมะเร็งออกนอกผนังของลำไส้ มะเร็งเกาะติดกับ
อวัยวะข้างเคียงและ/หรือมีการแพร่กระจายของมะเร็งเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง (ตารางที่ 6) เช่น การศึกษาของ Stevens และ Colleagues11 ที่ The University of Oregon ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วน rectum ที่เป็นกลุ่ม unfavorable โดยการฉายรังสีขนาด 5,000-6,000 cGy ในระยะเวลา 5-8 สัปดาห์ แล้วตามด้วยการทำผ่าตัดหลังจากฉายรังสีแล้ว 4-7 สัปดาห์ พบว่าอัตราการรอดชีวิตหลังการรักษาที่ 5 ปี เท่ากับ 53% เมื่อเทียบกับ 38% ในกลุ่มที่ทำผ่าตัดอย่างเดียว หรือจากการรายงานของ Mendenhall12 et al ที่ The University of Florida โดยการใช้ preoperative irradiation ด้วยปริมาณรังสีขนาด 4,500 cGy ในระยะเวลา 5 สัปดาห์ (l80 cGy/fraction) พบว่าไม่มีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่เลยในเนื้อเยื่อที่ทำผ่าตัดออกมาถึง 11% และอุบัติการของการลุกลามของมะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลือง (positive pelvic lymph node) ก็ลดลงครึ่งหนึ่ง (l9% VS 38%) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ทำผ่าตัดอย่างเดียว นอกจากนี้ อุบัติการของการกำเริบของโรคเฉพาะที่และอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี เท่ากับ 8% VS 29% (P=0.0l5) และ 71% VS 41% (P=0.008) เมื่อเทียบกับการทำผ่าตัดอย่างเดียวตามลำดับ และที่สำคัญไม่พบว่ามีภาวะแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลัน ในผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีก่อนการทำผ่าตัด
จากการศึกษาต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นที่ปรากฏแน่ชัดแล้วว่าประโยชน์ของการใช้ High dose preoperative radiation ก็คือการลดอุบัติการของการกำเริบของโรคในอุ้งเ ชิงกราน และอาจจะมีผลต่อการเพิ่มอัตราการมีชีวิตรอดของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็น fixed rectal cancer และ distal rectal cancer


ตารางที่ 5 Results of High-Dose Preoperative Radiation in Rectal cancer


Study Dose(Gy) Local recur, RT(%) Local recur, Surgery(%) 5-yr survival, RT(%) 5-yr survival, Surgery(%)
Mendenhall(12) 45 8 29 71 41
Fortier(14) 45 16 40 52 48
Stevens et al(11) 50-60 0 18 53 38
Kodner et al(15) 45 2 24 86 -
Mohiuddin et al(16) 45-60 15 36 72 -
Kligerman(13) 45 - - 41 25


ตารางที่ 6 Clinical Evaluation of Cancer of the Rectum


  Favorable Unfavorable
Tumor size <4cm >= 4cm
Stage >= B2
Fixation Mobile Fixed
Ulceration Absent Present
Lymph nodes Absent Present
Histology Differentiated Undifferentiated


Randomized study ที่รายงานโดย Kligerman et al13 ซึ่งเปรียบเทียบการให้การฉายรังสี ขนาด 4,500 cGy ในระยะเวลา 5 สัปดาห์ ก่อนการทำผ่าตัด กับกลุ่มที่ทำผ่าตัดอย่างเดียว พบว่ากลุ่มที่ได้รับการฉายรังสี จะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี 41% เทียบกับ 25% ในกลุ่มที่ทำผ่าตัดอย่างเดียว


[Previous] Moderate Dose Preoperative Irradiation
[Next] High-Dose Radiation and Sphincter Preservation
[Up] Preoperative Radiotherapy in Rectal Adenocarcinoma
[Home] Home Page

Last modified on 25 October 1996