<< พระเบ็ญจภาคี ยอดปรารถนาของผู้นิยมในพระเครื่อง>>
HOME |
 

 

สมเด็จบางขุนพรหม

 

 
 
 
พิมพ์ใหญ่
พิมพ์ทรงเจดีย์
พิมพ์ฐานแซม
 

 

 

พระสมเด็จบางขุนพรหม เป็นพระเนื้อปูนขาวเรียกชื่อตาม ตำบล ที่ตั้งของวัดคือ วัดบางขุนพรหม ในทำเนียบวัดโบราณ กล่าวว่ามีการตั้งมาตั้งแต่ ครั้งกรุงธนบุรี ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดวราตาราม ( แปลว่าวัด ที่เจริญยิ่งมิรู้เสื่อม ) ปัจจุบันคือ วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม กรุงเทพฯ ในปลายสมัยรัชการที่ ๔ เสมียนตราด้วงผู้เป็นต้นสกุลของ " ธนโกเศศ " ได้มาบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.๒๔๑๑ และได้สร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม ลงกรุไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ ด้วยจำนวนถึง ๘๔,๐๐๐ องค์

" เสมียนตราช้าง" ผู้เป็นต้นตระกูล "ธนโกเศศ" โดยได้นิมนต์สมเด็จพระพุฒาจารย์  ( โต พรหมรังสี) จากวัดระฆัง เป็น ประธานฝ่ายสงฆ์   ร่วมปลุกเสกโดยได้บรรจุลงกรุไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ ณ วัดใหม่อมตรส   เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ เป็น ศิลปสกุลช่างสิบหมู่ ช่างหลวง ยุครัตนโกสินทร์ ควบคุมการสร้างโดย หลวงวิจารเจียรนัย สร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๔๑๓ ก่อนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มรณภาพ ๒ ปี


พุทธลักษณะ

เป็นพระปางสมาธินั่งประทับบนฐานสามชั้นภายในเส้นซุ้มครอบแก้ว ลักษณะโดยรวมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ ๒.๒ ซม X ๓.๕ ซม. จำแนกพิมพ์ พระสมเด็จบางขุนพรหม มีพิมพ์ที่นิยมในวงการพระเครื่อง ด้วยกันทั้งหมด ๑๐ พิมพ์ คือ

๑. พิมพ์ใหญ่
๒. พิมพ์ทรงเจดีย์
๓. พิมพ์ฐานแซม
๔. พิมพ์เกศบัวตูม
๕. พิมพ์เส้นด้าย
๖. พิมพ์สังฆาฏิ
๗. พิมพ์สังฆาฏิ ( หูช้าง )
๘. พิมพ์อกครุฑ
๙. พิมพ์ฐานคู่
๑๐. พิมพ์ปรกโพธิ์

ไม่นับรวมพิมพ์พิเศษ อื่น ๆ ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก เช่น พิมพ์ปางไสยาสน์