<< พระเบ็ญจภาคี ยอดปรารถนาของผู้นิยมในพระเครื่อง>>
 

 

สมเด็จวัดเกศไชโย

 

 
 
 
พิมพ์ ๖ ชั้น อกตัน
พิมพ์ ๗ ชั้น
พิมพ์ ๖ ชั้น อกตลอด
 

 

 

ผู้สร้างมีความเชื่อกันว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้สร้างเพื่อบรรจุในพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ท่านสร้าง ณ   วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง เพื่อสืบทอดพระศาสนา ศิลปสกุลช่าง   เป็นช่างราษฎร์ ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยได้รับคำแนะนำ วิธีการสร้างให้พระออกมาสวยงามคงทน โดยขุนวิจารณ์เจียรนัย จากการสันนิษฐานทราบว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างพระพุทธพิมพ์สี่เหลี่ยมบนฐานต่างชั้นกัน ที่เรามาเรียกภายหลังว่า พระสมเด็จเกศไชโยนี้ ประมาณปี พ.ศ.๒๔๐๔ เพื่อบรรจุลงในพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ณ วัดไชโยวรวิหาร แต่พระพุทธรูปเกิดพังทลายขึ้นมาก่อนที่จะบรรจุพระเครื่อง   จึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาใหม่ แล้วบรรจุพระเครื่องลงไป เมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๔๐๖ - ๒๔๐๗ หากการบรรจุครั้งนั้น ไม่ครบจำนวนตามที่ตั้งความประสงค์ไว้ จึงมีการนำพระสมเด็จวัดระฆังมารวมบรรจุด้วย แต่มีจำนวนน้อยมาก องค์ประกอบพระ ตามบันทึกคำกล่าวของพระธรรมถาวร (ลูกศิษย์สมเด็จโต) กล่าวว่า " เนื้อที่ใช้สร้างพระสมเด็จนั้น แต่เดิมใช้ผงวิเศษ ๕ ประการ ผงเกสรดอกไม้   ปูนขาวและข้าวสุกเท่านั้น ซึ่งเมื่อถอดพิมพ์และตากแห้งแล้ว ปรากกฏว่าเนื้อพระจะร้าวและ แตกหักเป็นจำนวนมากเพราะความเปราะ ต่อมาเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ทดลองใช้ กล้วยหอมจันทน์ และกล้วยน้ำว้าทั้งเนื้อและเปลือกผสมโขลกลงไปด้วย เมื่อเนื้อพระแห้งแล้วก็มีสีเหลืองนวลขึ้น การแตกร้าวลดลงแต่ก็ยังไม่ได้ผลทีเดียว ต่อมา เจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ทดลองใช้น้ำมันตังอิ้ว ตามคำแนะนำของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองในราชสำนัก   สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ผลดีขึ้นจริง ลักษณะวรรณะพระสมเด็จวัดเกศ เป็นพระที่มีวรรณะหลายสี เช่น ขาวแป้ง ขาวนวล สีเทา และมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด พุทธลักษณะเป็นพระพุทธประทับนั่งสมาธิขัดราบ บนฐานต่าง ๆ กัน คือฐาน ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๖ ชั้น ๗ ชั้น และเป็นพระพุทธนั่งสมาธิภายใต้ใบโพธิ์ หรือที่เราเรียกว่า ปรกโพธิ์ จำแนกพิมพ์ออกได้เป็น ๒๐ พิมพ์ โดยประมาณดังนี้

๑. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์นิยม ๗ ชั้น
๒. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์เล็ก
๓. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์หูประบ่า
๔. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์แขนกลม
๕. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์เข่าโค้ง
๖. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์แข้งหนอน
๗. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์ไหล่ตรง
๘. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์แขนดิ่ง
๙. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์เศียรกลม
๑๐. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์อกตัน
๑๑. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์ต้อ
๑๒. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์ปรกโพธิ์
๑๓. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์ใหญ่ เอ
๑๔. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์ใหญ่ บี
๑๕. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์ล่ำ
๑๖. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์ไหล่ตรง
๑๗. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์อกตัน
๑๘. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์อกตอด
๑๙. พิมพ์ ๕ ชั้น
๒๐. พิมพ์ตลก
ด้านหลังองค์พระเป็นพระหลังเรียบ