Department of English

Faculty of Arts, Chulalongkorn University


2202124  Introduction to Translation

 

Informative Text (English-Thai) Discussion

The translations given on this page are neither comprehensive nor definitive.  They are here to give you an idea of the range of possibilities and to spark discussion.  Suggestions and comments are welcome.

 

จง แปลสารคดีต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษ

ประวัติ ศาสตร์สวนส้มในอำเภอฝาง


การปลูกส้มในอำเภอฝางเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ แต่ขยายตัวอย่างจริงจังราวปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เมื่อเจ้าของสวนส้มแห่งหนึ่งได้พัฒนาพันธุ์ส้มสายน้ำผึ้งจำหน่าย และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง  ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่หันมาทำสวนส้มกันบ้างเพราะทำกำไรได้มากและใช้เวลาปลูกเพียง ๒ ปีก็เริ่มเก็บผลผลิตได้  จากนั้นเป็นต้นมา ทั้งนายทุนท้องถิ่นและต่างถิ่นก็ได้เข้ามากว้านซื้อพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านอย่าง ต่อเนื่องเพื่อใช้ทำสวนส้ม  นอกจากนี้ ยังมีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนและป่าชุมชนนับแสนไร่

ธุรกิจเกี่่ยวเนื่องกับส้มเกิดขึ้นตามมามากมาย เช่น โรงแว๊กซ์ส้มที่ทำหน้าที่เคลือบสารเคมีบนผิวส้มให้มันเงาและไม่เน่าเสียง่าย  ใครเลยจะรู้ว่าเบื้องหลังรสชาติเปรี้ยวหวานอร่อยของส้มเหล่านี้ ในอำเภอฝางมีชาวบ้านป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ ๑๓๓,๐๐๐ คน และนอกจากวิตามินซีที่อุดมอยู่ในส้มแล้ว เราได้รับสารพิษหลายสิบชนิดผ่านเข้าไปในกระแสเลือดพร้อม ๆ กับการบริโภคส้มเหล่านั้นด้วย

 

 

 

Translation 1

The History of Orange Orchards in Fang District

Orange growing in Fang District began in 1957 but expanded tremendously when the owner of one orchard developed the honey tangerines which became wildly popular in 1994–1995, prompting local farmers to start their own groves, lured by the huge profits and short two-year first yield time. Since this boom, businessmen from both inside and outside the region have continuously bought up local land and turning it into orange groves, encroaching over 16,000 hectares of National Forest Reserves and community forests in the process.

Many orange-related industries followed, such as waxing factories where oranges are chemically coated to make them shiny and maintain a longer shelf life. Who would know that behind each kilogram of sweet and tangy, 133,000 Fang residents have acquired respiratory problems or that, along with the vitamin C goodness of the fruit, consumers are also ingesting dozens of harmful toxins which enter their bloodstream?
 


 

Translation 2

Text

 

Reference

 


 

Discussion

 

 


 

Vocabulary

 

 


 

Links

Other fruit history information and stories:

 

 


 

Longer Version


ประวัติ ศาสตร์สวนส้มในอำเภอฝาง


การปลูกส้มในอำเภอฝางเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 แต่ขยายตัวอย่างจริงจังเมื่อเจ้าของสวนส้มแห่งหนึ่งได้พัฒนาพันธุ์ส้มสายน้ำผึ้ง (honey tangerines) จำหน่ายจนได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางราวปี พ.ศ. 2537–2538 ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่หันมาทำสวนส้มกันบ้างเพราะทำกำไรได้มากและใช้เวลาปลูกเพียง สองปีก็เริ่มเก็บผลผลิตได้  จากนั้นเป็นต้นมา พื้นที่การเกษตรของชาวบ้านถูกนายทุนทั้งในและต่างถิ่นกว้านซื้ออย่างต่อเนื่องเพื่อ ปรับใช้ทำสวนส้ม  มีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนและป่าชุมชนเป็นแสนไร่

ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับส้มเกิดขึ้นตามมาอย่างมากมาย เช่น โรงแว๊กซ์ส้มที่ทำหน้าที่เคลือบสารเคมีบนผิวส้มให้มันวาวสวยและทน  ใครเลยจะรับทราบหรือใส่ใจเบื้องหลังรสชาติเปรี้ยวหวานกิโลละสิบบาทที่เรียงรายริมถนน หลายสายในจังหวัดเชียงใหม่ เช่น ในอำเภอฝางมีชาวบ้านเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ 133,000 คน และนอกจากคุณค่าของวิตามินซีที่อุดมอยู่ในผลส้มแล้วสารพิษหลายสิบชนิดก็ถูกส่งผ่าน เข้าไปในกระแสเลือดพร้อมๆ กับการบริโภคส้มเหล่านั้นด้วยเช่นกัน

 

 

 

Translation 1

The History of Orange Orchards in Fang District

Orange growing in Fang District began in 1957 but expanded tremendously when the owner of one orchard developed the honey tangerines which become wildly popular in 1994–95, prompting local farmers to start their own groves, lured by the huge profits and short two-year first yield time. Since this boom, businessmen from both inside and outside the region have continuously bought up local land and turning it into orange groves, encroaching over 16,000 hectares of National Forest Reserves and community forests in the process.

Many orange-related industries followed, such as waxing factories where oranges are chemically coated to make them shiny and maintain a longer shelf life. Who would know or care about what is behind each kilogram of sweet and tangy lined up along Chiang Mai roads, like the fact that 133,000 Fang residents have respiratory problems or that, along with the vitamin C goodness of the fruit, consumers are also ingesting dozens of harmful toxins which enter their bloodstream?
 

 



 

Source


ประวัติ ศาสตร์สวนส้มในอำเภอฝาง


ารปลูกส้มเขียวหวานในอำเภอฝางเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 แต่การขยายตัวอย่างจริงจังเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของสวนส้มแห่งหนึ่งได้พัฒนาพันธุ์ส้มสาย น้ำผึ้งจำหน่ายจนได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางราวปี พ.ศ.2537-2538 ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่เกิดความตื่นตัวและหันมาทำสวนส้มกันบ้างเพราะเห็นว่าทำกำไร ได้มาก และใช้เวลาปลูกเพียงสองปีก็สามารถเริ่มเก็บผลผลิตได้ ต่างจากการปลูกลิ้นจี่หรือลำไยซึ่งเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่ปลูกกันก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดเดาปริมาณผลผลิตและราคาตลาดแต่ละปีได้ยาก

จาก นั้นเป็นต้นมา พื้นที่การเกษตรของชาวบ้านในเขตลุ่มน้ำฝางซึ่งเป็นไร่นาและสวนไม้ผลขนาดย่อมถูกนาย ทุนทั้งในและต่างถิ่นกว้านซื้ออย่างกว้างขวางเพื่อปรับใช้ทำสวนส้ม และมีการเช่าป่าสงวนบางแห่งจากรัฐ ในหลายกรณีมีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน ป่าชุมชน และพื้นที่สาธารณะของชาวบ้าน

ธุรกิจ เกี่ยวเนื่องกับส้มเกิดขึ้นตามมาอย่างมากมาย เช่น โรงแว๊กซ์ส้มที่ทำหน้าที่เคลือบสารเคมีบนผิวส้มให้มันวาวสวยและทน และธุรกิจขนส่งผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น มีการจ้างแรงงานทั้งแรงงานในท้องถิ่นและแรงงานต่างด้าวมาทำงานทั้งในสวนส้มและโรงงาน เกี่ยวเนื่องเหล่านี้ ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่นมีความภาคภูมิใจว่าภาวะเศรษฐกิจในพื้นที่เฟื่องฟูขึ้น และทำให้คนในท้องถิ่นมีงานทำ จนมองข้ามข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งว่าธุรกิจสวนส้มนั้นได้ส่งผลให้เกิดหายนะต่อสภาพ แวดล้อม สุขภาพ และวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ด้วยเช่นกัน

การ ปลูกส้มในพื้นที่ลุ่มน้ำฝางขยายตัวอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการเพิ่มความนิยมบริโภคผลส้มสด และน้ำส้มของคนไทย และการขยายตัวของการส่งออกส้ม รายงานการศึกษาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน1 ระบุว่าในช่วงประมาณ 6 ปี คือระหว่างปี พ.ศ.2538-2544 พื้นที่ปลูกส้มในสามอำเภอลุ่มน้ำฝางเพิ่มขึ้นถึง 30,346 ไร่ โดยขยายในอำเภอฝางมากที่สุด ซึ่งในปี พ.ศ.2544 นั้นมีพื้นที่ปลูกส้มในลุ่มน้ำฝางทั้งหมด 33,936 ไร่ แต่รายงานดังกล่าวคาดว่าพื้นที่จริงที่ไม่ได้มีการบันทึกไว้นั้นน่าจะมีสูงถึงหนึ่ง แสนไร่

ขณะที่พระอเนก จฺนทปฺญ เจ้าอาวาสวัดสันทรายคองน้อย ประมาณว่ามีสวนส้มในพื้นที่ลุ่มน้ำฝางเกือบ 300,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนหนึ่งแสนกว่าไร่2นอกจากในพื้นที่สามอำเภอของลุ่มน้ำฝาง ได้แก่ อำเภอฝาง แม่อาย และไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่แล้ว ยังปรากฏว่ามีการขยายพื้นที่การปลูกส้มเข้าไปในเขตอำเภออื่นๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ เช่น อำเภอเชียงดาว พร้าว แม่แตง จอมทอง และอมก๋อย ตลอดจนในจังหวัดอื่นๆ ใกล้เคียงซึ่งมักเป็นเขตพื้นที่สูงซึ่งมีสภาพอากาศเย็นเกือบตลอดปี


 

 


 

 


Home  |  Introduction to Translation  |  Translation Resources  |  


Last updated March 27, 2015