1.4.1  การเป็นคนช่างสังเกต

         การสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ปาก และกาย เข้าไปสำรวจวัตถุ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติหรือจากการทดลอง โดยไม่ใส่หรือเพิ่มความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป เช่น ในขณะจุดเทียนไข เด็กชายธาวิต บันทึกว่าผลการสังเกตคือ “มีแก๊สเกิดขึ้น” ข้อความนี้จัดเป็นการสังเกต แต่ถ้าเขาบันทึกว่า “มีแก๊สเกิดขึ้นและแก๊สนั้นเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์”  ข้อบันทึกนี้ไม่จัดเป็นการสังเกต  เพราะเด็กชายธาวิตเพิ่มเติมความรู้เรื่องแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นประสบการณ์เดิมหรือความคิดเห็นลงไป

 ภาพ ประสาทสัมผัสทั้ง 5  (ตา  หู  จมูก  ปาก  กายสัมผัส)

 

           กาลิเลโอ มีชื่อเต็มว่า กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี   มีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.. 2107–2185 ได้สังเกตการแกว่งไปมาของโคมไฟในโบสถ์และจับเวลาในการแกว่งแต่ละรอบ โดยเทียบกับการเต้นของชีพจรของเขา เขาพบว่าการแกว่งไปมาของโคมไฟแต่ละรอบใช้เวลาเท่ากัน แม้ว่าช่วงกว้างของการแกว่งจะต่างกัน ต่อมาจึงมีผู้นำหลักการนี้ไปประดิษฐ์นาฬิกาลูกตุ้มขึ้น

 

ภาพ  กาลิเลโอ กาลิเลอี

 

          อาร์คีมีดิส (Archemedes)  ค้นพบวิธีพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของมงกุฎทองคำ จากการสังเกตน้ำที่ล้นออกจากขณะที่เขากำลังอาบน้ำ ซึ่งนำไปสู่ความรู้เกี่ยวกับความหนาแน่น ความถ่วงจำเพาะ การจมการลอยการหาปริมาตรโดยการแทนที่น้ำ

ภาพ  อาร์คีมีดิส

 

| Home | ประมวลรายวิชา | บทเรียน | แบบฝึกหัด | แบบทดสอบ |