Chula's Logo
เชิญร่วมบริจาคที่ ธ.กรุงเทพ เพชว่บุรี สาขาย่อยบิ้กซี เพชรบุรี หรือ ธ.ไทยพาณิชย์ เพชรบุรี สาขาย่อย สาขาย่อยบิ้กซี เพชรบุร
  แดน
  เขามรกต
แดนสุขาวดี
เจ้าแม่กวนอิมหยกขาว
  แดนพราหมณ์-ฮินดู
  แดนมหายานเต๋า
  แดนห้าแม่ผู้ยิ่งใหญ่
  แดนหุบเขาสี่อริยสงฆ์
  แดนพุทธเกษตร
  แดนมิตรต่างดาว
  แดนสิบสองนักษัตร
  ศาลาบูรพาอาจารย์
  อาคารบรมครู
  อาคาร 72 พรรษา
  ลานภาวนาสันติภาพ
  วิหาร ตี่ จ่าง อ๊วง
  ประชาสัมพันธ์
  แดนปฏิบัติ
  โรงเจ
  โรงบุญ
  หอสวดมนต์
  ครัววีไอพี
  วัดพูสวรรค์
  ก๊อด เอาส์
x
แดนหุบเขาสี่อริยสงฆ์

แดนอริยสงฆ์หรือหุบเขาสี่อริยสงฆ์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง และพระอริยสงฆ์ทั้งสี่ภาคของประเทศไทย คือ
ภาคเหนือ ครูบาศรีวิชัย
ภาคอีสาน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ภาคกลาง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
ภาคใต้ สมเด็จพระสังฆราชคูรูปาจารย์ (หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด)
และได้จำลองน้ำตกทั้งสี่ภาคที่พระอริยสงฆ์แต่ละองค์ได้บำเพ็ญสมาธิจิตในสมัยที่มีสังขาร

ครูบาศรีวิชัย
เกิดในตระกูลชาวนายากจนในจังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๑ เวลาพลบค่ำ ขณะที่มารดาท่านจะคลอดนั้นเกิดพายุลมแรง ฝนตกหนัก ฟ้าแลบฟ้าผ่า มีแสงกระจายทั่วกระท่อมปลายนาของท่าน ท่านจึงได้รับชื่อว่า “ ฟ้าฮ่อง “ หรือ เรียกภาษากลางว่า “ ฟ้าร้อง “เมื่ออายุ ๑๐ ขวบ ขณะที่ฟ้าฮ่องกำลังเลี้ยงวัวอยู่ มีพระธุดงค์ผ่านมา ท่านพูดกับพระธุดงค์ว่า “ โตขึ้นเจ้าจะบวชอย่างท่านนะ “ พระธุดงค์หันมามองเห็นเงากลดเหนือศรีษะฟ้าฮ่อง พระธุดงค์จึงไปพบกับบิดามารดาของ ฟ้าฮ่องและบอกว่า “ ถ้าให้ลูกโยมผู้นี้บรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้วเขาจะไม่สึก จะจำเริญพระศาสนาให้รุ่งเรืองทั่วถิ่นลานนาไทย “ บิดามารดาฟังแล้วรู้สึกไม่สบายใจ ไม่อยากให้ลูกชายบวชตลอดชีวิต จนกระทั่งฟ้าฮ่องอายุ ๑๘ ปี มีความคิดอยากบวช รุนแรงขึ้นอ้อนวอนบิดามารดาจนได้บวชเณร สองปีต่อมาท่านได้บวชพระ ท่านมีความเคร่งครัด ต่อพระธรรมวินัยมากขึ้น และฉันภัตตาหารมังสวิรัติ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้สร้างถนนขึ้นดอยสุเทพมีผู้ศรัทธาร่วมงานมากยิ่งขึ้น ท่านได้ริเผยแผ่ พระพุทธศาสนา และพัฒนาวัดเพื่อพัฒนาจิตใจของพุทธศาสนิกชน ทั่วลานนา ต่อมาในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ท่านบอกลูกศิษย์ว่า “ ภายในหนึ่งชั่วโมงเราจะจากท่านไปแล้ว เรารู้กาลเวลานี้มานานแล้ว อย่าเสียใจหากชีวิตเราสิ้นสุดลง “ หลังจากนั้นท่านสิ้นลมด้วยอาการสงบ

พระอาจารย์มั่น
เกิดในสกุลแก่นแก้ว เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ตำบลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร สองปีต่อมาท่านต้องสึกตามคำขอร้องของบิดา
พออายุได้ ๒๒ ปี ท่านขออนุญาติบิดามารดาบวช บิดามารดาเต็มใจให้บวชแล้ว พระอาจารย์มั่นเคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก ในขณะที่ท่านบำเพ็ญจิต มีพระอรหันตสาวกเสด็จมาร่วมอนุโมทนาในนิมิตด้วย
พระอาจารย์มั่น เผยแผ่พระพุทธศาสนาทั่วภาคอีสาน ทำให้มีศาสนิกชนเลื่อมใสศรัทธาในท่านมากมาย จนกระทั่งในวันมาฆบูชาปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ท่านได้เทศน์เป็นครั้งสุดท้ายก่อนเริ่มอาพาธมีพระธุดงค์จำนวนมากมายมารวมกันอยู่ ประหนึ่งโลกธาตุดับสนิทโดยไม่ได้นิมนต์หรือนัดแนะกัน หลังจากนั้น ท่านจึงขอให้บรรดาสานุศิษย์นำท่านไปทิ้งสังขารที่จังหวัดสกลนครบรรดาศิษย์และ ผู้มีศรัทธาได้นำอัฐิของท่านไปบูชา จนกาลล่วงมาได้สี่ปี อัฐิของท่านได้มีลักษณะ เปลี่ยนไปเป็นพระธาตุพระสุปฏิปันโนในภาคอีสานส่วนใหญ่เป็นศิษย์ผู้สืบทอดของ พระอาจารย์มั่น

หลวงปู่ทวด
เดิมชื่อปู เกิดที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๑๒๕ บิดาเป็นชาวอิสลาม มารดาเป็นชาวพุทธท่านชอบการบวชตั้งแต่ยังเป็นเด็ก หลักจากบวชได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อที่วัดพุทไธสวรรย์ เมืองอโยธยา ซึ่งเป็นเมืองหลวงในขณะนั้น ต่อมาพระเจ้าอู่ทองทรงแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทไธสวรรย์
ครั้งหนึ่งท่านได้เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านที่จังหวัดสงขลา การเดินทางในสมัยนั้นใช้เรือเป็นพาหนะ ระยะเวลาไปกลับใช้เวลาหนึ่งปี ขากลับพวกลูกเรือซึ่งเป็นชาวอิสลามเล่นการพนันกันจนลืมตักน้ำจืดใส่โองในเรือ เมื่อออกเรือไม่มีน้ำกิน ก็พากันกล่าวหาว่า เพราะมีภิกษุจัญไรอยู่ในเรือ จึงตกลงจะจับท่านปล่อยไว้ที่เกาะหนูเกาะแมว ท่านจึงอธิษฐานว่า
“ หากแม้ข้านี้สามารถจะสืบต่อพระพุทธศาสนา ทำให้ศาสนารุ่งเรืองได้ ก็ขอให้น้ำทะเลบริเวณที่เท้าเหยียบลงไปนี้จงกลายเป็นน้ำจืดเถิด “ น้ำก็จืดตามคำอธิษฐาน
ลูกเรือได้ตักไว้ใช้ ๑๓ โอ่ง มีใช้จนถึงอโยธยา ท่านจึงได้ฉายาว่า “ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด “ ปี พ.ศ. ๒๑๙๐ พระรามาธิบดีที่ ๒ อู่ทอง ได้สถาปนาให้ท่านเป็นสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงอโยธยา หลวงปู่ทวดไม่ติดยศถาบรรดาศักดิ์ จึงหนีไปบำเพ็ญที่น้ำตกทรายขาว จังหวัดปัตตานี จนสำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์ที่นั่น
วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๒๔ ท่านได้ทิ้งสังขารที่เมืองอีโป ประเทศมาเลเซีย

สมเด็จพระพุฒจารย์ ( โต ) พรหมรังษี
เกิดในสมัยรัชกาลที่หนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ เป็นบุตรโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่ออายุ ๗ ขวบ บวชเณรที่วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง ตาและมารดาพยายามให้สึก ท่านจึงหนีลงเรือเดินทางไปเมืองบางกอก ไปอยู่กับเจ้าอาวาสวัดอินทร์ บางขุนพรหม ท่านเจ้าอาวาสเห็นหน้าตาดีจึงส่งไปหาเจ้าอาวาสวัดระฆัง ก่อนที่สามเณรโตจะไปวัดระฆัง เจ้าอาวาสวัดระฆังฝันว่ามีช้างเผือกเชือกหนึ่งโผล่ขึ้นไปในกุฏิท่านแล้วรื้อพระไตรปฎกลงมา แล้วเคี้ยวพระไตรปิฎกกินจนหมด วันรุ่งขึ้นสามเณรโตจึงมาอยู่ที่วัดระฆัง ระยะต่อมาได้ไปศึกษาเพิ่มเติมที่วัดมหาธาตุต่อมาเสมียนตราด้วงพาไปเทศน์ที่วัดพระแก้ว เจ้าฟ้าผู้เป็นบิดาทรงจำรัดประคดได้จึงกราบทูลพระราชบิดาให้ทรงทราบว่าเณรนี้เป็น พระโอรสพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงรับเณรไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ สมัยรัชกาลที่สาม พระภิกษุโตได้เดินทางไปบำเพ็ญที่ดงพญาเย็นและที่อื่น ๆ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่สี่ มีประกาศหาตัวพระภิกษุโตเพื่อให้มาช่วยราชการด้านศาสนจักร พระภิกษุโตได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ตามลำดับและเป็นสมเด็จพระพุฒจารย์ องค์ที่ห้า แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นอกจากท่านจะเป็นนักเทศน์แล้ว ยังเป็นผู้มีพลังจิตสูง ท่านได้สร้างพระเครื่อง เรียกกันว่า “ สมเด็จวัดระฆังฯ “ มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่ต้องการของพุทธศาสนิกชนมาจนถึงทุกวันนี้ สมเด็จพระพุฒจารย์ ( โต ) พรหมรังษี ทิ้งสังขารในสมัยรัชกาลที่ห้า เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ สิริชามายุ ๘๔ ปี