การติดต่อกับอินเทอร์เน็ต

เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้หลายวิธี
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการความเร็วมากน้อยเพียงใดในการติดต่อ รวม
ทั้งสถานที่ที่เราใช้เครื่องของเราด้วย ว่าห่างไกลจากศูนย์คอมพิวเตอร์
ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องที่แจกจ่ายข้อมูล และก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณของ
ผู้ใช้ว่าต้องการความเร็วหรือความสะดวกรวดเร็วมากน้อยเพียงใดด้วย

ในปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสถาบันการศึกษาจะ
ต้องเสียค่าบริการอินเทอร์เน็ตในอัตราที่ค่อนข้างสูง กล่าวกันว่าอัตราค่า
บริการอินเทอร์เน็ตของบุคคลทั่วไปในประเทศไทยนี้สูงที่สุดในโลก ทั้งนี้ก็
เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะถือว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นคนร่ำรวยและ
สามารถจ่ายค่าบริการจำนวนนี้ได้โดยไม่เดือดร้อน ทั้งนี้การเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ต
นี้ยังคงเป็นการผูกขาดของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ควบคุม
ดูแลการโทรคมนาคมระหว่างประเทศทั้งหมด การสื่อสารฯได้รายได้จากการผูก
ขาดนี้เป็นกอบเป็นกำ เหตุผลที่การสื่อสารมักจะอ้างก็คือว่า เนื่องจากผู้ใช้
อินเทอร์เน็ตมีฐานะดี ดังนั้นจึงควรเก็บค่าบริการแพงๆเหมือนกับการเก็บภาษี
กลายๆเพื่อเป็นทุนในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เหตุผลนี้ดูเหมือนจะมีน้ำหนัก
พอสมควร แต่ถ้าพิจารณาว่าการใช้จ่ายเงินของภาครัฐฯไม่มีความโปร่งใสใดๆ
ให้ตรวจสอบได้อย่างจริงจัง ก็ไม่น่าเชื่อว่าข้ออ้างดังกล่าวนี้เป็นความจริง นอก
จากนี้การอ้างว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นผู้ร่ำรวยเท่านั้นยังเป็นการแบ่งชนชั้น
วรรณะอย่างโจ่งแจ้ง และเท่ากับว่าคนอื่นๆที่ไม่ใช่คนรวยจะไม่มีวันสัมผัสกับ
อินเทอร์เน็ตได้ ความคิดเช่นนี้ไม่เอื้อต่อการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปข้าง
หน้าได้เป็นอย่างยิ่ง


ย้อนมาพูดถึงเรื่องการติดต่อกับอินเทอร์เน็ต ในขณะนี้เรามีวิธีติดต่ออยู่สี่วิธี

การติดต่อแบบถาวร หรือ Permanent Connection

การติดต่อโดยตรงเมื่อต้องการ หรือการติดต่อโดยตรงผ่านสายโทรศัพท์ (On Demand Permanent Connection)

การติดต่อแบบเทอร์มินัล (Dial-Up Terminal Connection)

การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection)

การติดต่อเหล่านี้สามารถแสดงเป็นรูปภาพได้ดังนี้

[กลับไปหน้าก่อนนี้] [ไปยังหน้าเริ่มต้น] [ไปหน้าต่อไป]