เสมาธรรมจักร

ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เสนอ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง
ตัวต้านทาน
โดย นาถวดี นันทาภินัย
4284918327
(โปรดดูรายละเอียด)
ลักษณะและชนิดของตัวต้านทาน

........ตัวต้านทานแบ่งออกเป็น 3 ชนิด......
Natwadee Photo กระแสไฟฟ้า (current)
กระแสไฟฟ้า (current) คือ การเคลื่อนตัวไปตามตัวนำไฟฟ้าของอนุภาคขนาดเล็กมากที่เราเรียกว่าอิเล็กตรอน (electron)สสารทุกชนิดประกอบไปด้วยอิเล็กตรอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอะตอม(atom) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของทุกสิ่งทุกอย่างในสสารบางชนิด เช่น อิเล็กตรอนจะเคลื่อนตัวไปได้ง่าย ถ้ามีแหล่งจ่ายไฟ โดยสสารที่ยอมให้อิเล็กตรอนเคลื่อนตัวไปได้ง่ายเราเรียกว่า ตัวนำไฟฟ้า (conductor)  


ความต้านทานไฟฟ้า (resistance) คือ การที่สสารบางชนิดสามารถจำกัดการไหลของอิเล็กตรอน
เราใช้ตัวต้านทานในการตัดทอนการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร ความต้านทานใช้หน่วยวัดเป็นโอห์ม (Ohm)
ตัวต้านทานแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่
2. ตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้
3. ตัวต้านทานชนิดพิเศษ
1. ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่ ตัวต้านทานแบบนี้ ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ ชนิดคาร์บอน มีค่าให้เลือกหลายค่ามาก หาซื้อได้ง่าย ราคาถูก (ราคาขึ้นอยู่กับค่าเปอร์เซนต์ความผิดพลาด)
2. ตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ ตัวต้านทานแบบนี้ สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานได้ ซึ่งจะทำมาจากคาร์บอน หรือสายที่ถูกต่อเข้ากับขั้ว 2 ขั้ว โดยมีขั้วที่สามถูกยึดติดกับแกนที่สามารถหมุนได้และสัมผัสกับคาร์บอนที่ต่ออยู่ระหว่าง 2 ขั้วที่แล้วได้ ดังนั้น การเปลี่ยนค่าความต้านทานให้มากขึ้นหรือน้อยลง ก็ทำได้โดยการปรับขาที่สามนี่เอง
ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ 1. แบบเปลี่ยนค่าได้เชิงเส้นกับมุมของการหมุน และ 2. แบบเปลี่ยนค่าได้เป็นลักษณะลอการิทึมกับมุมของการหมุน
3. ตัวต้านทานชนิดพิเศษ ตัวต้านทานแบบพิเศษ ใช้ในการควบคุมทรานซิสเตอร์ ตัวต้านทานแบบพิเศษทำงานเสมือนตัวต้านทานธรรมดา แต่ความต้านทานของมันสามารถเปลี่ยนไปตามแสงหรือความร้อน เช่น LDR ค่าของมันจะเปลี่ยนตามความเข้มของแสงที่มากระทบ LDR ใช้ในเครื่องวัดแสงของกล้องถ่ายรูป เพื่อตรวจสอบปริมาณของแสงในขณะถ่ายรูป
Loading.. Loading.. Loading..


Links to: |ลักษณะและชนิดของตัวต้านทาน |การอ่านค่าตัวต้านทาน |การวัดค่าตัวต้านทาน |สร้างวงจรไฟฟ้าทดสอบตัวต้านทาน |แบบทดสอบ

Please contact our Webmaster with questions or comments.
© Copyright 2000 Natwadee Nantapinai, Inc.  All rights reserved.