ประวัติความเป็นมาของเครือข่าย

ทบวงมหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญของการพัฒนาอาจารย์ให้ได้คุณวุฒิปริญญาเอกเพื่อพัฒนาบัณฑิตศึกษาให้ได้ มาตราฐานสากล รวมทั้งเพื่อให้สามารถสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาประเทศและแข่งขันได้ ในระดับโลก จึงได้จัดให้มีโครงการพัฒนาอาจารย์ เพื่อให้อาจารย์ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอก ที่มีคุณภาพ แต่การผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่จะดำเนินการตามลำพัง ความร่วมมือระหว่าง สถาบันมีน้อยมาก บัณฑิตศึกษาของบางมหาวิทยาลัยยังไม่เข้มแข็ง ในขณะที่บางมหาวิทยาลัยมี ความเข้มแข็งพอสมควร และโดยที่ในปี 2545 ทบวงมหาวิทยาลัยได้รับการจัดสรรทุนการศึกษา สำหรับพัฒนาอาจารย์ น้อยกว่าแผนมาก อ.ก.ม.วิสามัญเกี่ยวกับ การสรรหาและพัฒนาจึงได้กำหนด กลุ่มสาขาวิชาที่จำเป็นต้องสนับสนุนทุนพัฒนาอาจารย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของคณาจารย์โดยเร่งด่วน
บางกลุ่มก่อน และได้มีการสัมมนาแล้ว 1 ครั้ง โดยเชิญมหาวิทยาลัยแกนหลัก 10 สาขา เข้าประชุม เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2545 ปรากฏว่าสามารถจัดตั้งเครือข่ายของสาขาวิชาได้ 10 สาขา เป็นการนำศักยภาพท ี่กระจัดกระจายตามที่ต่างๆ มาร่วมกันผลิตและพัฒนาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไทย ให้มีมาตรฐาน เท่าเทียมกันทั้งมหาวิทยาลัยส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และในการสัมมนาครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2545
ณ โรงแรม โซลทวิน ทาวเวอร์ ได้มีการเพิ่มเครือข่ายของสาขาวิชาอีก 29 สาขา ซึ่งรวมถึงสาขา nanoscience และ nanotechnology ด้วย

แนวทางและขอบเขตของการดำเนินการของเครือข่ายการวิจัย (Cooperative Research Network-CRN)

แนวทางการดำเนินการเพื่อพัฒนาอาจารย์และบัณฑิตศึกษาควบคู่กับการพัฒนางานวิจัยด้วยการสร้างเครือข่ายการวิจัย โดยการรวมตัวกัน ของหน่วยวิจัยในมหาวิทยาลัยไทย อย่างน้อย 2 แห่ง โดยอาจจะมีหน่วยงานวิจัยภาครัฐ และบริษัท เอกชนเข้าร่วมเครือข่ายด้วย เพื่อสร้าง ความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกเพื่อให้ผลการวิจัยสนองตอบ ตามต้องการของอุตสาหกรรม และของประเทศ

เครือข่ายวิจัยไม่ใช่โครงสร้างถาวรแต่เป็นเครือข่ายเพื่อการประสานงานและการบริหารจัดการของเครือข่าย ที่ไม่ต้องลงทุนทางด้านกายภาพ หรือหากจะมีก็เฉพาะเท่าที่จำเป็น หากหมดความจำเป็นเครือข่ายนั้นก็ยุบตัวเองลงได้

หน้าที่หลักของเครือข่าย

เครือข่ายมีหน้าที่หลักคือ การประสานงานและบริหารจัดการกลุ่มคณาจารย์นักวิจัยจากหน่วยวิจัยต่างๆ เพื่อให้เกิดกิจกรรม ดังนี้