บทเรียน/กิจกรรม >> หน่วยที่ > 1 > 2 > 3 > 4 > 5 > 6 > 7 > 8 > 9 > 10 > 11 > 12
หน่วยที่ 2

 
 
   กิจกรรมที่ 2  
 
 

ให้นักเรียนศึกษาข้อมูลต่อไปนี้

 

ปัจจุบันมีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการใช้สารดูดกลิ่นที่สกัดจากสารเคมีและมีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาด  มาใช้สารสกัดจากพืชธรรมชาติแทน  เนื่องจากสารสกัดจากสารเคมีเหล่านั้นมีสาร 1, 4 Dichlorobenzene ผสมอยู่ ซึ่งมีอันตราย    แก่ชีวิต เมื่อสะสมมาก ๆ จะเกิดอาการคลื่นไส้  วิงเวียน  และความจำเสื่อมได้       พืชธรรมชาติที่น่าสนใจนำมาใช้ในการดูดกลิ่น คือใบพืชที่มีกลิ่น ได้แก่ ใบมะกรูด     ใบฝรั่ง ใบตะไคร้ และใบมะม่วง

 

 จากข้อมูลข้างต้น จงตอบคำถามต่อไปนี้  แล้วส่งคำตอบมาที่  Pornthep.Ch@Chula.ac.th
 

 1.      จากข้อมูลดังกล่าวนักเรียนมีประเด็นสงสัยอะไร และจะตั้งปัญหาจะตั้งปัญหาจาก
ประเด็นสงสัย ว่าอย่างไร
บ้าง

                  ปัญหาที่ 1............................................................................................................

                  ปัญหาที่ 2............................................................................................................

                  ปัญหาที่ 3............................................................................................................

 

 2.      จากปัญหาที่นักเรียนตั้งขึ้นในข้อ 1  ให้นักเรียนเลือกมา 1 ปัญหาที่นักเรียนเห็นว่า
มีความสำคัญและอยากนำไปทดลอง

                  ปัญหาที่เลือก คือ ................................................................................................

 

 3.      ให้นักเรียนตั้งสมมติฐานของปัญหาที่เลือกในข้อ 2 มา 3 ประการ

                  สมมติฐานที่ 1.....................................................................................................

                  สมมติฐานที่ 2.....................................................................................................

                  สมมติฐานที่ 3.....................................................................................................

 

 4.    จากสมมติฐานที่นักเรียนตั้งขึ้นให้นักเรียนเลือกสมมติฐานที่คิดว่าสัมพันธ์กับปัญหา และ
น่าสนใจที่จะตรวจสอบมากที่สุดมา 1 สมมติฐาน

                  สมมติฐานที่เลือก คือ ..........................................................................................

 5.  จากการทำกิจกรรมนักเรียนจะเห็นว่าเมื่อมีการสังเกตจะทำให้เกิดปัญหาได้หลายปัญหา  ดังนั้นจะต้องมีการระบุประเด็นปัญหาให้ชัดเจน และใ 1 ประเด็นปัญหาสามารถ ตั้งสมมติฐานได้
หลายแนวทางนักเรียนคิดว่าลักษณะของการตั้งสมมติฐานที่ดีควรเป็นอย่างไร

6.  ในการออกแบบการทดลองต้องมีการระบุตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ตามที่นักเรียนเคยเรียนมา  ตัวแปรที่เกี่ยวข้องในโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง ได้แก่อะไรบ้าง

        7.  ให้นักเรียนศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทการทดลองเรื่อง  "การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดส้มแขกด้วยน้ำในการลดการสร้างไขมันของไก่เนื้อ" โครงงานนี้มีขั้นตอนในการทำอย่างไร

          8.  ขั้นตอนที่เริ่มตั้งแต่การระบุปัญหาจนสามารถสรุปผลหาคำตอบ  เราเรียกขั้นตอนนี้ว่าอะไร

         9. นักเรียนคิดว่าการทำโครงงานประเภทสำรวจมีการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างจากโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง และประเภทสิ่งประดิษฐ์อย่างไร 

         10. การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์ที่ดีนอกจากสามารถใช้วิธีการทาง         วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการหาคำตอบของปัญหาแล้ว นักเรียนคิดว่าทักษะกระบวนการทาง   วิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์มีความสำคัญหรือไม่อย่างไร

   สรุป  
 

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  คือ  วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 
          1) วิธีการทางวิทยาศาสตร์     
          2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
          3) จิตวิทยาศาสตร์

 

   วิธีการทางวิทยาศาสตร์
          วิธีการทางวิทยาศาสตร์  เป็นขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
 
               1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา  คือการระบุปัญหา  หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา  และกำหนด      ขอบเขตของปัญหา
 
               2. ขั้นตั้งสมมติฐาน  คือการคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น  หรือการคาดเดาคำตอบ  ที่จะได้รับ
 
               3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล  คือการรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ  สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยัน อาจทำได้โดยการสังเกต หรือการทดลอง
 
               4. ขั้นสรุปผล  คือการสรุปว่าจะปฏิเสธ หรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล     เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา

   ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
          ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  หมายถึง  ความชำนาญและความสามารถในการใช้
การคิดและกระบวนการคิดเพื่อค้นหาความรู้ รวมทั้งการแก้ปัญหาต่าง ๆ

   จิตวิทยาศาสตร์
 

          หมายถึง  คุณลักษณะหรือลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหาความรู้โดยใช้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 

        จิตวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยคุณลักษณะต่าง ๆ ได้แก่  ความสนใจใฝ่รู้  ความมุ่งมั่น  อดทน  รอบคอบ  ความรับผิดชอบ  ความซื่อสัตย์  ประหยัด  การร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความมีเหตุผล  การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์

  

ศึกษาเพิ่มเติม
 

   กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีขั้นตอนอย่างไร

   กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ [pdf file]

 
 

|  หน้าแรก  |  ประมวลรายวิชา  |  บทเรียน/กิจกรรม  |  เว็บบอร์ด  |  ตรวจสอบการส่งงาน  |